มารู้จักเพื่อนใหม่สองประชากรอนุภูมิภาค...โหดและหน้าตาประหลาดล้ำ

ยังคงมีการค้นพบประชากรใหม่อยู่เรื่อยๆ ในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง และ ชั่วเวลาข้ามเดือนมานี้นักวิทยาศาสตร์ได้ประกาศการพบประชากรใหม่อีก 2 ชนิด เป็นงูเขียวหางไหม้กับคางคกแคระ ที่มีรูปร่างหน้าตาหน้าตาประหลาดยิ่ง ทั้งหมดพบในป่าเขตเขาของเวียดนาม ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ออสเตรเลียนและเวียดนาม ได้ประกาศการค้นพบคางคกดังกล่าวในเขตป่าลางเบียน (Lang Bian) จ.เลิมโด่ง (Lam Dong) ในเขตที่ราบสูงภาคกลางของประเทศ ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,500-1,900 เมตร และพบจำนวนหนึ่งในเขตป่า จ.แค๊งฮวา (Khanh Hoa) ที่อยู่ติดกันด้วย
   
   
คางคกที่มีหน้าตาเหมือนมาจากดาวพระเคราะห์ดวงอื่น ยังมีเท้าเป็นพังผืด นิ้วเท้ายาวและมีนัยน์ตาขาวยาวรี แบบ "เอเชียนอายส์" (Asian eyes) มีลายปล้องตามขาทั้ง 4 ข้างและ มีสันตามแนวยาวบนหลังเจ้าตัวเล็กที่ได้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Leptobrachium leucops มีลำตัวยาวเพียง 4.5 ซม. เท่ากับแมงทับตัวโตๆ นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาวงจรชีวิตของสมาชิกใหม่ตัวนี้ ตลอดจนอาหารการกินและนิสัยใจคอของมัน ปัจจุบันทราบเพียงว่าเป็นสัตว์ที่ออกหากินเวลากลางคืน ซึ่งทำให้มันเล็ดรอดสายตาของเพื่อนร่วมอนุภูมิภาคมาตลอด

   
ไม่นานก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์กลุ่มเดียวกันนี้ได้ประกาศการค้นพบ "ปาดแดร็กคิวล่า" (Rhacophorus vampyrus or Vampire Tree Frogs) ที่ผสมพันธุ์และออกไข่ในโพรงที่มีน้ำขังบนต้นไม้สูง เจ้าตัวเล็กที่เกิดมาจะมีเขี้ยวงอกออกมาทั้งสองข้างแบบเดียวกับท่านเค้าท์ในตำนานแห่งทรานซิลเวเนีย ปาดพวกนี้ยังสามารถ "บิน" หรือร่อนไปมาระหว่างต้นไม้ใหญ่ได้อีกด้วยแต่นอกเหนือไปจากนี้แล้วนักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีรายละเอียดโดยสิ้นเชิง
   

สัปดาห์ปลายเดือน มี.ค.นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบานกอร์ (Bangor University) สหราชอาณาจักร ได้ประกาศการค้นพบงูเขียงหางไหม้ชนิดใหม่ที่อาศัยในป่าชายแดนเวียดนาม-กัมพูชา หลังจากถูกละเลยมานาน โดยทุกฝ่ายเข้าใจกันว่า มันเป็นชนิดเดียวกับเจ้าหางไหม้ตาโตนัยน์ตาเหลือง (Cryptelytrops macrops) อย่างไรก็ตามเจ้าตัวที่พบใหม่นี้มีนัยน์ตาสีแดงฉานเป็นสีเลือด (Cryptelytrops rubeus) และ มีนิสัยดุร้ายกว่าเครือญาติในย่านเดียวกัน การพิสูจน์ทางยีนส์วิทยาทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถแยกมันออกจากเจ้าตาโตได้
   

หลายปีมานี้นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกกับนักวิทยาศาสตร์ในอนุภูมิภาค ได้ร่วมกันศึกษาและค้นพบประชากรใหม่ๆ หลายชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาย สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์น้ำและสัตว์ปีก ซึ่งรวมทั้งตุ๊กแกชนิดใหม่ที่มีหน้าตาคล้ายมนุษย์ต่างดาวในภาพยนตร์ฮอลลีวูด และ กบอีกชนิดหนึ่งที่เคยพบเมื่อกว่า 100 ปีก่อนในภาคใต้เวียดนาม แต่กลับมาพบใหม่อีกครั้งในเขตที่ราบสูงภาคกลาง อนุภูมิภาคแม่น้ำโขงยังเป็นดินแดนที่มีความสมบูรณ์ทางชีวะนานาพันธุ์มากที่สุดอีกแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในโลก  มีระบบป่าเขตร้อนชื้นกับระบบแม่น้ำที่สลับซับซ้อน
   
   
ปีที่แล้วนักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งได้ค้นพบพืชจำพวกหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดใหม่ที่มีรูปร่างประหลาดคล้ายอวัยวะเพศชาย และยังเป็นพันธุ์ที่อดทนต่อสภาพอากาศแห้งแล้งได้ดีกว่า โดยฝังลำต้นเอาไว้ในดิน โผล่ออกมาเพียงส่วนที่เป็นหม้อรูปร่างประหลาด คอยล่อจับแมลง.

 


หน้าตาประหลาดล้ำแต่หล่อเหลาใช้ได้ นี่คือเจ้า Leptobrachium leucops ประชากรใหม่ล่าสุด ที่มีเอกลักษณ์ของเอกบุรุษอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนัยน์ตาแบบ Asian Eyes สันบนหลัง และนิ้วท้าวที่ยาวมากกว่าคางคกทุกตัวที่พบในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง

 



เจ้าปาดตัวโตนี้หมดทางสู้ หลังจากเจ้า Cryptelytrops rubeus ฝังเขี้ยวพิษลงบนหัวจนจมมิด ฆ่าชีวิตหนึ่งเพื่อให้อีกชีวิตหนึ่งอยู่รอดเป็นกฎแห่งป่า แสงไฟแฟลชทำให้นัยน์ตาของมันเปลี่ยนไปจากสีแดง นี่คือประชากรใหม่รายที่ 2 ในชั่วเวลาข้ามเดือน

 



นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสิ่งมีชีวิตใหม่ๆ ถึง 163 ชนิดในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง แห่งดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา แต่ทั้งหมดนั้นกลับตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงสภาวะโลกร้อน ทั้งนี้เป็นการรายงานของกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF)


ติดตามอ่านรายละเอียดที่นี่...

http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9520000113376


จากภาพตุ๊กแกลายเสือดาว หน้าตาราวกับว่า มาจากต่างจักรวาลอันไกลโพ้น พบในเขตป่าสงวนแห่งชาติเกาะก๊าตบ่า (Cat Ba) ติดเขตอ่าวฮาลอง ใน จ.กว๋างนีง (Quang Ninh)

 


ประหลาดซ้อนประหลาด กบมีเขี้ยว แถมยังนิยมเปิบพิสดารจับนกกินนกเป็นอาหาร WWF กล่าวว่า พบในป่าสงวนแห่งหนึ่งของไทย อนุภูมิภาคแม่น้ำโขงมีความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์ยิ่ง แต่ทั้งหมดกำลังถูกคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

 


กบจริงๆ ไม่ใช่พวกตัวปาด ผิวขุขระ อาศัยตามต้นไม้ พบในเขตเขาเจืองเซิน (Truong Son) ชายแดนเวียดนาม-จีน เมื่อปีที่แล้ว WWF เผยแพร่ภาพนี้ในวันศุกร์ (25 ก.ย.25552)

 


พระเอกจากแขวงคำม่วนของลาว.. นกปรอดหัวโล้น (Pycnonotidae Hualone) ซึ่งองค์การ Wildlife Conservation Society กล่าวว่าเป็นการพบในรอบกว่า 100 ปี ทำไมเกิดมาหัวโล้น? ยังไม่มีผู้ใดไขคำตอบได้อย่างชัดเจน



ตีนเป็นพังผืดว่ายน้ำได้ แต่หางเป็นพวงเหมือนกระรอก เคยเชื่อกันว่าสูญพันธุ์ไปจากโลกเมื่อสัก 11 ล้านปีก่อน เพราะพบซากดึกดำบรรพ์ของญาติๆ ในแถบตอนใต้ของจีน แต่จู่ๆ เมื่อปี 2550 "ตัวขะหยุ" หรือ "ข่าหนู" ก็โผล่ออกมาให้ชาวโลกได้เห็นอีกครั้งในเขตเขาหินปูน แขวงคำม่วนของลาว จำนวนไม่น้อยถูกจับไปทำหนูย่างในตลาดส

 


ภาพของ WWF ถ่ายในปี 2551 เป็นงูพิษลายเสือจากเกาะเหิ่นเซิน (Hon Son) เมืองแหร็ก-หยา (Rach Gia) จ.เกียน-ซยาง (Kien Giang) ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงของประเทศ

 


ภาพของ WWF ถ่ายในปี 2551 เป็นอสรพิษร้ายลายเสืออีกตัวหนึ่ง จากเกาะเหิ่นเซิน (Hon Son) เมืองแหร็ก-หยา (Rach Gia) จ.เกียน-ซยาง (Kien Giang) เช่นกัน

 


ตุ๊กแกลายเสืออีกตัวมาจากป่าสงวนแห่งชาติก๊าตบ่า เช่นเดียวกัน เมื่อเร็วๆ นี้ยังค้นพบตุ๊กแกหน้าตาประหลาดๆ อีกหลายชนิดในเขตเขา ทั้งในภาคใต้และภาคเหนือของประเทศ

 


นอกจากนี้ยังมีการค้นพบหม้อข้าวหม้อแกงลิงในเขมรที่มีรูปลักษณ์เร้าใจ พืชกินแมลงชนิดใหม่พบในป่าเขมร

ภาพโดย Jeremy Holden จากเว็บไซต์ ScienceDaily เจ้าหน้าที่กัมพูชากำลังมองดูพืชกินแมลงตระกูลหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดหนึ่งในบรรดาหลากหลายชนิด ที่ขึ้นในป่าเทือกเขากระวัญ (Phnom Kravanh) ทางตะวันตกเฉียงใต้กัมพูชา ซึ่งเป็นดินแดนที่ยังมีความสมบูรณ์ทางชีวะนานาพันธุ์สูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักวิทยาศาสตร์จากหลายองค์กรและหน่วยงานยังคงค้นพบชนิดใหม่อยู่เรื่อยๆ ทั้งพืชและสัตว์ป่า


ติดตามอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9530000162636


ภาพโดย Jeremy Holden จากเว็บไซต์ ScienceDaily มีการค้นพบใหม่ๆ มากมาย แต่ก็ยังไม่เคยมีหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดใดมีรูปลักษณ์น่าทึ่งเช่นนี้มาก่อน นักวิทยาศาสตร์ยังกล่าวอีกว่า เจ้า Nepenthes holdenii ที่พบใหม่นี้ ยังมีวิวัฒนาการไปมากกว่าญาติพี่น้องของมันในป่าเทือกเขากระวัญ (Phnom Kravanh) ทั้งหมด ที่นั่นเป็นดินแดนที่ยังมีความสมบูรณ์ทางชีวะนานาพันธุ์สูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 



ภาพจากวิกิพีเดีย เป็นตระกูลหม้อข้าวหม้อแกงลิงเหมือนกัน แต่ต่างชนิดกัน เจ้าตัวนี้ได้ชื่อใหม่เรียบร้อยแล้ว คือ Nephentes edwardsiana ในป่าพนมกระวัญยังมีให้ค้นหาอีกเยอะ นักวิทยาศาสตร์กล่าว

 


ภาพจากวิกิพีเดีย ต้นนี้เป็นตระกูลหม้อข้าวหม้อแกงลิงเหมือนกัน ถูกจัดเป็นเครือญาติใกล้ชิดกับ Nepenthes holdenii ที่ค้นพบใหม่ ดูสวยงามกว่า แต่ไม่มีอะไรประหลาด ในป่าพนมกระวัญยังมีให้ค้นหาอีกเยอะ นักวิทยาศาสตร์กล่าว


คลิกไปดูหม้อข้าวหม้อแกงลิงอีกมากมาย


 

 

 

 

 

 

 

Credit: http://atcloud.com/stories/94738
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...