องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้จัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงแมลงที่กินได้ ขึ้นในนครเวียงจันทน์สัปดาห์นี้ รวมทั้งให้ความรู้ทางด้านโภชนาการ และการทำตลาด เพื่อช่วยให้เกษตรการลาวเพาะเลี้ยงอย่างถูกวิธี ได้ผลดี สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวและยังเป็นแหล่งอาหารโปรตีนชั้นดีอีกด้วย
การฝึกอบรมจัดขึ้นที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ (บ้านนาบง) มีเกษตรกรในนครเวียงจันทน์กว่า 20 คน จาก 9 เมือง (อำเภอ) เข้าร่วม ทุกคนได้รับชุดเพาะเลี้ยงกับพันธุ์แมลง ทำให้สามารถลงมือได้ทันทีหลังการอบรมหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่กล่าว การอบรมครั้งนี้เน้นไปที่การเพาะเลี้ยงแมลง 4 ชนิดเป็นหลักคือ จิ้งหรีด ตัวด้วงงวงมะพร้าว ด้วงทอง กับมดส้ม (มดแดง) ซึ่งชนิดหลังนี้เพาะเลี้ยงเพื่อเอาไข่ กับตัวนางพญา
การฝึกอบรวมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-30 มี.ค.2554 โดยนายแซก แว็กนิโอ (Serge Verniau) ผู้แทนเอฟเอโอประจำลาว กับ ดร.อุดมพอน คำเพ็ง คณะบดีคณะเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมด้วย หนังสือพิมพ์ของทางการนครเวียงจันทน์กล่าว สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงานในขณะเดียวกันว่า ปี 2554 นี้ เอฟเอโอจะมีการจัดฝึกอบอม 4 ครั้ง ทั้งในเมืองหลวงและในต่างแขวง (จังหวัด) จะเป็นการอบรมเกษตรกรอีก 1 ครั้ง และ อบรมครูผู้สอน 2 ครั้ง เพื่อให้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับแมลงกินได้และการเพาะเลี้ยงออกไปอย่างกว้างขวาง
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในประเทศไทยได้พบว่า มีแมลงในเขตร้อนหลายชนิดที่สามารถรับประทานเป็นอาหารได้ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก ประกอบด้วยสารโอเมก้าทรีกับโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกายชนิดต่างๆ จึงเป็นแหล่งอาหารคุณภาพดีและราคาถูก
ภาพ....
ตั๊กแตนปาทังก้าทอดกรอบเคยเป็นอาหารพื้นๆ ที่พบได้ทั่วไปในเอเชีย
อาคเนย์ แต่ในวันนี้เป็นอาหารที่เริ่มหายาก ตั๊กแตนดิบ ราคา 150-170 บาท
ต่อ กก. นอกจากนั้นยังมีโอกาสปนเปื้อนสูงจึงต้องหาวิธีเพาะเลี้ยง
ยังมีแมลงกินได้อีกหลายชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นธุรกิจ บางชนิด เช่น
ด้วงงวงมะพร้าวกับไข่มดแดงปัจจขุบันขายกันในตลาด 200-300 บาทต่อ กก. องค์การอาหารและการเกษตรฯ ช่วยส่งเสริมการเลี้ยงในอนุภูมิภาคนี้.
แต่แมลงหลายชนิดมีพิษต่อร่างกายกินไม่ได้ นอกจากนั้นแมลงที่กินได้ในธรรมชาติยังมีโอกาสปนเปื้อนสารเคมีหรือสารพิษต่างๆ อีกด้วย ทำให้เกิดมีการค้นคว้าวิจัยหาวิธีเลี้ยง เพื่อให้บริโภคได้อย่างปลอดภัย ตัวหนอนบางชนิดและไข่มดแดงราคากิโลกรัมละ 200-300 บาท ขณะตั๊กแตนปาทังก้าราคา กก.ละ 150-170 บาทหรือกว่านั้น แต่แมลงเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้เวลาเพาะเลี้ยงเพียงประมาณ 60 วัน จึงเป็นแหล่งสร้างรายได้แก่ครอบครัวอย่างงาม
ภาพ....
มดแดงช่วยกันดูแลไข่กับตัวอ่อนของพวกมันอย่างเอาใจใส่ ผลผลิตของแมลงชนิดนี้เป็นของมีค่า เพราะเป็นอาหารชั้นยอด ไข่ดิบขายกัน 200-300 บาท
ต่อกก.
หลายปีมานี้องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติได้จัดการฝึกอบรมคล้ายกันนี้ในหลายประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งในประเทศไทยด้วย เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงอย่างถูกวิถี รวมทั้งการหาช่องทางการตลาดในเวียดนาม กัมพูชาและพม่า ประชาชนทั่วไปนิยมรับประทานแมลงเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั๊กแตนปาทังก้าทอดกรอบ แมลงป่องช้างทอดกรอบกับตัวบึ้งทอดกรอบสำหรับชาวกัมพูชา
ภาพ....
นางพญามดแดงเฝ้าดูแลไข่อย่างใกล้ชิด มีมดแดงนักรบทั้งฝูงคอยปกป้อง
คุมกัน แต่ถึงกระนั้นไช่อันมีค่าของพวกมันก็ไม่เคยพ้นเงื้อมมือมนุษย์
ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงมดแดงอย่างกว้างขวางในอนุภูมิภาค
โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ.
ในประเทศไทยยังนิยมรับประทานดักแด้จากตัวไหม ตัวด้วงงวงมะพร้าว (ลูกโดด) และ หนอนไม้ไผ่ที่มีลักษณะตัวหยักและเรียวยาว (หนอนรถด่วน) ซึ่งให้รสมันอร่อย รวมทั้งแมลงมัน แมลงเม่า กับมดนางพญาหรือตัวมดเป้งด้วย ปัจจุบันมีการทำตั๊กแตนทอดกรอบบรรจุกระป๋อง เช่นเดียวกับไข่มดแดงแช่น้ำเกลือบรรจุทั้งในขวดแก้วและในประป๋อง ส่งจำหน่ายทั่วประเทศและส่งออกอีกด้วย.
4.
ไม่เฉพาะไข่ของมันเท่านั้นที่เป็นอาหารชั้นยอด ตัวนางพญาเองก็เป็นเป้าหมาย
การไล่ล่า "มดเป้ง" คั่วเกลือให้รสมันๆ เค็มๆ อร่อยมาก ปัจจุบันกำลังมี
การเพาะเลี้ยงมดแดงเพื่อการพาณิชย์อย่างกว้างขวาง และ FAO สนับสนุน.
ใครจะไปคิดว่าวันหนึ่งแมลงหรือผลผลิตของมัน จะกลายเป็นอาหารกระป๋อง
ที่มีราคาแพงมากๆ.
"Ant Egg" ทำให้ฝรั่งร้องจ๊าก ภาพนี้จาก Bizarre.com เว็บไซต์ที่ว่าด้วยเรื่องราวประเภทแปลกแต่จริงทั้งหลาย ไข่มดแดงแช่น้ำเกลือบรรจุขวดปิดสนิทก็ถูกจัด
เข้าข่ายด้วย.
แมงป่องช้างกับรถด่วนทอด แพงมากๆ หากเทียบกับไก่ย่างวิเชียรบุรี
ปัจจุบันกำลังมีการเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง มีไม้ไผ่นับสิบชนิดที่เพาะเลี้ยง
หนอนได้.
ลูกโดด.. แสดงให้เห็นการเติบโต 2 ระยะ และ ได้รับความนิยมจากตลาดทุกระยะ
นี่คือศัตรูของชาวสวนมะพร้าวซึ่งเมื่อก่อนนี้จะทุบหรือทิ่มให้ตายแล้วเขี่ยทิ้งไป
แต่ในวันนี้หนอนงวงมะพร้าว ราคาแพงกว่ามะพร้าวในสวนเสียอีก.
ตัวกุดจี่ซึ่งเป็นแมลงที่เติบโตในมูลควาย เมื่อคั่วเกลือสุกดีแล้วจะออกมา
มีกลิ่นหอมหวล แต่ FAO ไม่ (กล้า) สนับสนุนให้รับประทานกัน
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติจัดการฝึกอบรมขึ้น
ที่ จ.เชียงใหม่ในปี 2551 วันนี้การเลี้ยงและการทำตลาดแมลงกินได้
ได้กลายเป็นธุรกิจใหญ่โต ปีนี้ FAO เริ่มรณรงค์ส่งเสริมการเลี้ยงในลาว.
อาหารเลี้ยงชาวโลก...คุณลองกันหรือยัง ???
เมนูอาหารเหล่านี้เมื่อก่อนเราก็เห็นเป็นร้านเล็ก ๆ ขายริมทาง...
แต่ทุกวันนี้อย่างที่เห็นกำลังเป็นธุรกิจที่ส่งออกไปอย่างแพร่หลาย
ทั่วโลก...แถมได้รับความนิยมมากมาย .....วันนี้ว่าง ๆ ลองไป
หาชิมกันดูนะคะ เผื่ออนาคตจะแพงจนมนุษย์เงินเดือนแบบเรา ๆ
จะหาซื้อมาทานไม่ได้....
ขอบคุณที่มาของข้อมูลและภาพ...
http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9540000041780
http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/135/135/images/king/r.jpg
http://www.malaeng.com/blog/?cat=29
http://www.malaeng.com/blog/?cat=66
http://insect-isan.blogspot.com/