1.วัยหมดประจำเดือน คืออะไร
ผู้หญิงเมื่อเลยวัย 40 ขึ้นไป การทำงานของรังไข่จะชะลอลง บางคนประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อาจจะมาถี่ขึ้นในช่วงแรก และค่อยๆ ห่างออกมาจนหมดไปในที่สุด เมื่อรังไข่หยุดผลิตฮอร์โมนอย่างถาวร จะทำให้ประจำเดือนหมดไป ซึ่งมักจะเกิดในช่วงอายุ 47-50 ปี
2.ทำไมเรียกวัย 40+ ว่า “วัยทอง”
เมื่อเริ่มวัย 40 ปีขึ้นไป ผู้หญิงส่วนใหญ่มีหน้าที่การงานมั่นคง มีครอบครัวและสังคมลงตัว ถือเป็นวัยแห่งความสำเร็จของชีวิต จึงมักเรียกวัยนี้ว่า “วัยทอง”
3.อาการวัยทอง เป็นอย่างไร
ช่วงแรก ประจำเดือนไม่ปกติ อาจร่วมกับมีอาการที่ทำให้ชีวิตประจำวันผิดปกติไป เช่นนอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน ปวดเมื่อยตามตัวตามข้อ อ่อนเพลีย เบื่อหน่ายทุกเรื่อง บางคนอาจมีโรคกระดูกพรุน และไขมันในเลือดสูง
4.เป็นไปได้ไหมที่จะเข้าวัยทอง ตั้งแต่อายุยังน้อย
ผู้หญิงที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกทั้งหมด และผู้หญิงที่ได้รับการฉายแสง หรือได้รับเคมีบำบัดจากการรักษาโรค มักจะหมดฮอร์โมนเพศก่อนกำหนดด้วย และมักมีอาการแบบเดียวกับผู้หญิงวัยทองแต่ความรุนแรงของอาการจะมากกว่า เนื่องจากเป็นการขาดฮอร์โมนแบบเฉียบพลันและอายุยังน้อย
5.แต่ละคนจะมีอาการวัยทองคล้ายกันไหม
เป็นเรื่องของ พันธุกรรมและพฤติกรรม สุขภาพที่ถูกตัดรังไข่ออกทั้งสองข้างตั้งแต่อายุยังน้อยย่อมมีอาการเสื่อม ถอยเร็วกว่าคนที่หมดประจำเดือนตามธรรมชาติ แต่ในคนอ้วนมักมีอาการน้อย เพราะมีฮอร์โมนสะสมตามร่างกายสำรองไว้มากกว่าคนผอม
6.เมื่อเข้าวัยทองยังสามารถมีลูกได้ไหม
สาวน้อยสาว ใหญ่ที่กำลังย่างเข้าวัยทอง โดยส่วนใหญ่มักเริ่มหลังอายุ 40 ปี จะมีลูกยาก เนื่องจากรังไข่เริ่มรวนเร ทำงานไม่ปกติ การสร้างฮอร์โมนเพศ ขึ้นๆ ลงๆ นานๆ จะมีไข่ตกสักครั้ง ประจำเดือนจะแปรปรวนไม่ปกติ ทำให้โอกาสที่จะมีลูกยากขึ้น
7.ฮอร์โมนเพศมากจากไหน
เมื่ออยู่ในวัยสาว รังไข่จะผลิตฮอร์โมนเพศ หรือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้มีการพัฒนาการของร่างกายให้มีลักษณะเพศหญิงและยังมีผล ต่อ อวัยวะต่างๆ เช่น กระดูก ไขมันในเลือด สมอง อารมณ์ จิตใจ และอวัยวะสืบพันธุ์ นอกจากนี้รังไข่ยังผลิตฮอร์โมนโปรเจสโตโรน ซึ่งให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปด้วยดี แต่ในช่วงที่ไม่มีการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนนี้จะปรับเยื่อบุโพรงมดลูกให้หลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน
8.ร้อนวูบวาบในวัยทองเป็นอย่างไร
เป็นความรู้สึก ร้อนขึ้นทันทีที่ผิวบริเวณศรีษะหรือหน้าอก มักตามด้วยเหงื่ออกมาก หนาว อ่อนเพลีย และวิงเวียน บางคนเป็นตอนกลางคืน อาการนี้มักเกิดใน 2-3 ปีแรกของการหมดประจำเดือน
9.มีอาการแสบ เวลามีเพศสัมพันธ์
เมื่อเข้าสู่วัยหมด ประจำเดือน ระดับเอสโตรเจนในร่างกายจะต่ำมาก อาจมีอาการแสบร้อน สาเหตุเนื่องจากผนังและเยื่อบุผิวช่องคลอดแห้ง สูบเสียความยืดหยุ่น ช่องคลอดแคบและสั้นลงสร้างน้ำหล่อเลี้ยงได้น้อย ทั้งในเวลาปกติและในเวลามีเพศสัมพันธ์จึงทำให้เกิดอาการเจ็บ
10.ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่ได้
การขาดเอสโตรเจน ทำให้เนื้อเยื่อ และเส้นเลือดรอบกระเพาะปัสสาวะฝ่อเหี่ยว ทำให้กลั้นปัสสาวะลำบาก เวลาไอ จาม หรือหัวเราะแรงๆ อาจเกิดปัสสาวะเล็ด การขาดเอสโตรเจนทำให้เยื่อบุผิวทางเดินปัสสาวะบางลง ติดเชื้อได้ง่ายบางรายเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ จึงมีอาการปัสสาวะบ่อย และเสียวแสบขัดตอนปัสสวะใกล้ ๆ จะสุด