1.ไม่สนใจเงินทองของตัวเอง การซื้อและถือครองไว้เฉยๆ และอาจลืมไปเลย ทำให้เจ้าของ
สินทรัพย์เสียต้นทุนที่ไม่ควรเสีย ต้องมองทุกอย่างให้ใหม่และทันต่อเหตุการณ์เสมอ การลงทุน
ในตราสารหนี้และหลักทรัพย์ ควรเหมาะสมกับแผนลงทุนของตัวเอง
2.ซื้อบ้านหลายหลัง การซื้อบ้านใหม่หลายหลัง ต้องใช้เงินก่อหนี้มากมาย หลักการป้องกันและ
ระวัง ไม่ให้ตัดสินใจผิดพลาดต้องไม่ใช้จ่ายไปกับบ้านเกินกว่า 2.5 เท่าของรายได้ ค่าใช้จ่าย
เกี่ยวกับบ้านทั้งหมดไม่ควรเกิน 28% ของรายได้รวม และภาระหนี้บ้านไม่ควรเกิน 36% ของหนี้
โดยรวม
3.มีรถขับหลายคัน เพราะการขับรถหลายคัน สร้างภาระเสียค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนไม่น้อย ให้ใช้
กฎไม่ทำ ไม่ใช้จ่ายเรื่องรถเกิน 8% ของรายได้รวม และต้องใช้ให้น้อยกว่า 8% หากเจ้าของรถ
มีภาระหนี้บัตรเครดิตด้วย ให้นึกเสมอว่า การใช้จ่ายไปกับรถมีทั้งเงินประกันภัย ค่าน้ำมัน ค่า
บำรุงและซ่อมแซม
4.ซื้อทุกสิ่งที่ต้องการ ใช้ชีวิตฟุ่มเฟือยเกินความสามารถทางการเงิน จะทำให้เกิดปัญหาการเงิน
ตามมา อย่าซื้อทุกสิ่งที่ตัวเองต้องการ พฤติกรรมเช่นนี้ทำให้คุณติดอยู่กับปัญหาการเงินได้
5.ปล่อยสินทรัพย์อู้งานไม่ทำเงิน สินทรัพย์ทุกประเภทให้ผลตอบแทนไม่เท่ากัน ควรโยก
สินทรัพย์ส่วนที่ให้ผลตอบแทนน้อยที่สุด ไปยังสินทรัพย์ส่วนอื่นๆ ที่สามารถทำกำไรหรือผล
ตอบแทนได้มากกว่า เป็นการกระตุ้นให้เงินทำงานสร้างผลตอบแทนมากขึ้น
6.มีหนี้ไม่รีบชำระคืน ควรชำระหนี้คืนในจำนวนที่มากกว่าวงเงินขั้นต่ำต้องชำระ หรืออาจลดหนี้ที่
มีอยู่ ด้วยการเสาะหาบัตรเครดิตคิดดอกเบี้ยน้อยกว่า ช่วยผู้ถือบัตรมีความสามารถชำระคืนหนี้
ได้มากขึ้น หรือกรณีมีสินเชื่อบ้านให้โยกสินเชื่อเดิมไปหาสินเชื่ออื่นที่คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่
และน้อยกว่า กรณีหนี้บัตรเครดิตสามารถโยกหนี้ไปไว้กับบริษัทใหม่ที่คิดดอกเบี้ยต่ำกว่า
ที่มา: ซีเอ็นเอ็นมันนี่