มารู้จักกับโรค (แสนจะ) เพลีย
เจ้าโรคเพลียเรื้อรังนี่หลายคนอาจจะตกใจว่ามีด้วยเหรอ โรคที่ชื่อฮา
ขนาดนี้ แต่เจ้าโรคนี้มีจริงๆ ค่ะ ชื่อทางการแพทย์ก็คือ Chronic
Fatigue Syndrome หรือ CFS ไม่ใช่อาการเจ็บไข้ได้ป่วยทั่วไปอย่างไข้
หวัดหรือกล้ามเนื้ออักเสบ เพราะหากเป็นการเจ็บป่วยตามธรรมดาเหล่า
นี้ เราจะอธิบายได้และค้นหาสาเหตุได้ แต่อาการป่วยจาก CFS ยังหา
สาเหตุไม่พบและอธิบายไม่ได้
อาการของโรคนี้ค่อนข้างวินิจฉัยยากเพราะคล้ายกับหลายโรค โดย
เฉพาะไข้หวัดใหญ่ และบางทีก็เกิดจากสร่างไข้ใหม่ ๆ เลยทำให้ตัวคุณ
เองอาจไม่แน่ใจว่าเพราะยังไม่ฟื้นไข้ดีหรือเปล่า โรค CFS ทำให้ภูมิต้าน
ทานโรคตกลง และมีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง บางคนมีความจำเสื่อม
สมาธิสั้นลง ปวดตามข้อหรือกล้ามเนื้อ เจ็บต่อมน้ำเหลือง (เช่น ตรงรักแร้
ขาหนีบ ฯลฯ) และเจ็บคอ
ข้อมูลจาก Mayo Clinic เผยว่า พบภาวะเหนื่อยเรื้อรังนี้ในผู้หญิง
มากกว่าผู้ชาย 2-4 เท่า แต่ตัวเลขนี้เอาแน่ยังไม่ได้ อาจเป็นไปได้ว่า
เพราะผู้หญิงใส่ใจสุขภาพมากกว่า พอรู้สึกไม่สบายก็มักไปหาหมอ
มากกว่าผู้ชายเลยมีสถิติมากกว่าก็เป็นได้ อ.จูดี มิโควิทส์ และคณะ แห่ง
สถาบันวิทท์มอร์ พีเทอร์ซัน สถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐฯ และคลินิกคลี
ฟแลนด์ สหรัฐฯ พบไวรัสมีชื่อว่า 'XMRV' ในเลือดของคนไข้ CFS 68 ใน
101 คน = 67.3% เทียบกับคนที่มีสุขภาพดีพบไวรัสนี้ 8 ใน 128 = 6.25%
ยังไม่มีใครทราบว่าภาวะเพลียเรื้อรังเกิดจากอะไรกันแน่ ชื่อนี้ได้มาจาก
อาการที่แสดงให้เห็น เพราะไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกอ่อนเพลียมากๆ แม้จะ
พักผ่อนมากเท่าไรแล้วก็ตาม ทั้งเหนื่อยล้าเกินกว่าอยากจะหยิบจับทำ
อะไรๆ ทำให้เป็นอุปสรรค
ต่อการทำงานและการ
ดำเนินชีวิตประจำวัน
อย่างมาก
ระวัง! คุณอาจจะอยู่ใน
ภาวะเพลียเรื้อรัง
การสังเกตตัวเองอยู่เสมอ
จะทำให้คุณรู้ตัวได้เร็ว
กว่าว่าคุณกำลังเสี่ยงกับ
โรคนี้อยู่หรือเปล่า บ่อย
ครั้งที่ภาวะเหนื่อยเรื้อรัง
เกิดหลังจากป่วยเล็กๆ
น้อยๆ เช่นว่าเป็นไข้หวัด
หรือท้องเสีย บางครั้งก็
เกิดในช่วงที่เครียดจัด
แต่ก็มีเหมือนกันที่อยู่ดีๆ ก็เป็นขึ้นมาโดยไม่มีอาการเตือนหรือไม่สบาย
มาก่อน ปกติแล้วอาการจะเกิดแบบต่อเนื่อง หรือเป็นๆ หายๆ ติดต่อกัน
ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
เพราะอาการของโรคนี้จะคลุมเครือชี้ชัดได้ยากกว่าเป็นอะไรกันแน่ และ
แพทย์น้อยคนนักที่จะนึกถึง ซึ่งถ้าแพทย์ให้การรักษาตามอาการแล้ว
ยังไม่ดีขึ้น หรือมีหลายอาการประกอบกัน ก็เข้าข่ายว่าน่าจะเป็นภาวะ
เหนื่อยเรื้อรัง
รักษาได้ แต่ไม่หายขาด
เพราะไม่มียาเฉพาะที่จะรักษาโรคนี้ให้หายขาด การรักษาตามอาการ
และการดูแลสุขภาพกายและใจจึงเป็นหนทางเดียวในขณะนี้ที่จะช่วย
บรรเทาได้ พร้อมๆ ไปกับการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ทาน
อาหารให้สมดุล พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบาๆ เป็นประจำ
หลีกเลี่ยงความเครียด
ที่สำคัญพอรู้ตัวว่าเป็นหรือเพียงแค่สงสัยก็ควรรีบกำจัดสิ่งที่จะไปกระตุ้น
ให้เป็นหนักขึ้นนั้นซะ ที่สำคัญหากคิดว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค
นี้แล้ว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
เข้าใจว่าชื่อโรคอาจจะฟังดูไม่น่าเชื่อว่าจะมีเท่าไหร่ แถมฟังดูไม่น่า
อันตรายอะไร แต่หากทิ้งไว้เพราะคิดว่าเป็นโรคเล็กๆ น้อยๆ ไม่น่ากลัว
คงไม่ดีแน่ เพราะโรคนี้ก็เหมือนกับโรคอื่นๆ ทั่วไป ที่ยิ่งปล่อยทิ้งไว้ รังแต่
จะเป็นอันตรายร้ายแรงในอนาคต