1. ไม่ดื่ม หรือไม่รับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนวัสดุกัมมันตรังสี
แนะนำให้ประชาชน ไม่ดื่ม หรือไม่รับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนวัสดุกัมมันตรังสีดังกล่าว
2.หลบอยู่ในที่พักอาศัย ถ้าวัดระดับรังสีในอากาศได้มากกว่า 1 ไมโครซีเวิร์ทต่อ
ชั่วโมง ขึ้นไป ให้ประชาชนหลบอยู่ในที่พักอาศัย โดยปิดประตู หน้าต่างอย่างแน่นหนา และปิดระบบระบายอากาศ เพื่อป้องกันไม่
ให้วัสดุกัมมันตรังสีที่อยู่ในอากาศเข้ามาในที่พักอาศัยได้
3. รอรับการแจ้งจากหน่วยงานระงับเหตุฉุกเฉิน
รอรับการแจ้งจากหน่วยงานระงับเหตุฉุกเฉิน (จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดที่เกี่ยว
ข้องและได้รับผลกระทบจากเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี และสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ) ว่าจะปฏิบัติตนอย่างไรต่อไป
4.เมื่อระดับรังสี เกิน1 มิลลิซีเวิร์ท แนะนำให้ประชาชนอพยพออกนอกบริเวณ
เมื่อระดับรังสีที่ประเมินได้ สูงจนเป็นอันตรายต่อประชาชน หรือ 1 มิลลิซีเวิร์ท แนะนำให้ประชาชนอพยพออกนอกบริเวณ และไปอยู่ในบริเวณที่มีระดับรังสีไม่ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย
5.เมื่อระดับรังสี อยู่ในระดับปกติ ต้องระมัดระวังในเรื่องของการเปรอะเปื้อนทางรังสี
เมื่อระดับรังสีที่ประเมินได้ อยู่ในระดับปกติ แจ้งเตือนให้ประชาชนมีระมัดระวังในเรื่องของการเปรอะเปื้อนทางรังสีที่พื้น ดิน อาคารบ้านเรือน
6.รับประทาน โปแตสเซียมไอโอได
การป้องกันเบื้องต้นสำหรับวัสดุกัมมันตรังสี I-131 เมื่อพบว่ามีการฟุ้งกระจายของวัสดุกัมมันตรังสี I-131 แจ้งให้ประชาชนรับประทาน โปแตสเซียมไอโอได ในทันที เพื่อลดการรับรังสีบีตา และแกมมาที่ต่อมไทรอยด์
7.สิ่งของที่ควรพกติดตัว
สิ่งของที่ควรพกติดตัวไปคือ หน้ากาก หมวก และเสื้อคลุมที่มีหมวก เพื่อลดการสัมผัสกับสาร หากมีฝนหรือหิมะตกให้สวมรองเท้าบู๊ตและถุงมือ ขณะเดียวกันก็ควรเตรียมผ้าขนหนูหรือผ้าเช็ดหน้าชุบน้ำปิดปากและจมูกเพื่อป้องกันการสูดดมสารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกาย นอกจากนั้นควรเตรียมกระเป๋าฉุกเฉิน ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ที่จำเป็น อย่างเช่น ไฟฉาย วิทยุพกพา เสื้อผ้า
8.ติดตามข่าวสารตลอดเวลา
ติดตามข่าวสารจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เพราะสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มีการตรวจวัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้ประชาชนคนไทยได้มั่นใจในความปลอดภัยทั้งจากนิวเคลียร์และรังสีที่มีผลต่อสุขภาพร่างกาย
9.หลบฝนรังสีอย่างมิดชิด
สารกัมมันตรังสี ที่ตกค้างหลังการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาจลอยอยู่ในอากาศ และตกลงมาพร้อมกับฝนได้ ดังนั้น การถูกฝนในบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งระเบิดจึงอาจได้รับปริมาณรังสีจากการระเบิดได้ แต่อย่างไรก็ดี จะเกิดเฉพาะรอบๆ แหล่งระเบิดเท่านั้น ขอให้คนไทยสบายใจได้ว่าฝนดังกล่าวจะไม่สามารถมาจากญี่ปุ่นถึงไทย
10.ระดับปริมาณรังสีและผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์
ระดับปริมาณรังสีและผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ ผลกระทบมากหรือน้อย ของ"ปริมาณรังสี" คือปริมาณการรับหรือดูดกลืนรังสี (absorbed dose) จากการได้รับรังสีปริมาณมากในครั้งเดียว (acute exposure) ขึ้นกับปริมาณของรังสี ดังนี้ 20 Svมีผลต่อประสาทรับรู้ และเกิดอาการสั่นอย่างรุนแรง จากนั้นจะเสียชีวิตภายไม่กี่ชั่วโมงหลังรับรังสี 10 Svทำลายอวัยวะภายใน เลือดออกภายใน ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในเวลาเป็นวันหรือประมาณ 2 สัปดาห์ 6 Svเจ้าหน้าที่ที่โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เชอร์โนบิลได้รับ และเสียชีวิตภายใน 1 เดือน 5 Svถ้าได้รับรังสีอย่างเฉียบพลันเพียงครั้งเดียว ส่งผลให้พิการไปครึ่งร่าง 1 Svเกิดการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากรังสี และมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในภายหลัง แต่ไม่ถึงขั้นเสียชีวิต 750 mSvผมร่วงภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับรังสี 700 mSvอาเจียนภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากได้รับรังสี 400 mSv เป็นอัตรารังสีต่อชั่วโมงที่มากที่สุดที่ตรวจวัดได้ ที่โรงไฟฟ้าฟิกูชิมะ เมื่อวันที่ 14 มี.ค.54 350 mSv อัตราที่ชาวเมืองเชอร์โนบิลได้รับ ก่อนอพยพออกจากเมือง 100 mSvอัตราจำกัดสำหรับคนทำงานด้านรังสีที่ให้สะสมไม่เกิน 5 ปี โดยถ้าได้รับเฉียบพลันมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในภายหลัง 10 mSvรังสีที่ได้รับจากการทำซีทีสแกน 1 ครั้ง 9 mSvรังสีที่ลูกเรือสายการบินที่บินผ่านขั้วโลกเหนือเส้นทางระหว่างนิวยอร์กซิตี้และโตเกียวได้รับในแต่ละปี 2 mSvรังสีธรรมชาติที่เราได้รับเฉลี่ยต่อปี 1.02 mSv อัตรารังสีต่อชั่วโมงที่ตรวจพบ บริเวณโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ เมื่อวันที่ 12 มี.ค.54 0.4 mSvรังสีที่ได้รับจากเอกซเรย์เต้านมแบบแมมโมแกรม 0.01 mSvรังสีที่ได้รับจากการเอ็กซเรย์ฟัน หมายเหตุ 1 Sv= 1,000 mSv 1 mSv = 1,000 ?Sv 1 ?Sv = 1,000 nSv Sv - ซีเวิร์ต (Sievert), mSv - มิลลิซีเวิร์ต (millisievert), ?Sv - ไมโครซีเวิร์ต (microsievert), nSv - นาโนซีเวิร์ต (nanosievert)