1. อย่าให้ยุงเกิด หมายถึงการลดและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นยุงพาหะ
ของโรคไข้เลือดออก ทำได้โดยการกำจัดและดูแลพื้นที่น้ำนิ่งขังในบ้านหรือ
บริเวณบ้านพักอาศัย เช่น แจกันดอกไม้ ภาชนะใส่ไม้ประดับ ภาชนะรองขาตู้กับ
ข้าว อ่างปลูกบัว ยางรถยนตร์เก่า เป็นต้น
2. อย่าให้ยุงกัด เป็นการป้องกันไม่ให้ยุงพาหะกัดโดยการป้องกันที่ตัวบุคคล เช่น
การทาผิวด้วยครีมหรือน้ำมันหอมระเหยกันยุง การนอนกางมุ้งหรือในห้องที่มีมุ้ง
ลวด การกำจัดแหล่งเกาะพักของยุง เช่น เสื้อผ้าที่แขวนในบริเวณที่อับและมืด
เป็นต้น ใช้ยาฉีดไล่ยุงชนิดกระป๋อง อนึ่งยุทธวิธีอย่าให้ยุงกัดเป็นวิธีป้องกันโรคไข้
เลือดออกที่ปลายเหตุของปัญหาซึ่งอาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร และมีค่าใช้จ่ายสูง
กว่ายุทธวิธีอย่าให้ยุงเกิดที่มุ่งเน้นทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
3. ป้องกันอย่าให้ป่วย โรคไข้เลือกออกเป็นโรคจากเชื้อไวรัสติดต่อจากคนสู่คน
โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค การป้องกันการติดต่อของโรคชนิดนี้คือการป้องกัน
การถูกยุงลายกัด สำหรับวัคซีนป้องกันปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการศึกษา
โดยมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นมีความก้าวหน้าของการศึกษาอยู่ในระยะที่ 3 คือการ
ทดลองในคนแล้ว และคาดการณ์ว่าประเทศไทยของเราจะมีวัคซีนป้องกันไข้
เลือดออกใช้เองในเวลาไม่เกิน 10 ปีนี้
4. รักษาอย่าให้ตาย อาการของผู้ที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจะแบ่งออกได้เป็น 3
ระยะคือ ระยะไข้สูง ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอยอยู่ระหว่าง 39-40 องศาเซลเซียส ระยะ
วิกฤติผู้ป่วยจะมีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นระยะอันตรายที่จำเป็นต้องได้รับการ
ดูแลเป็นพิเศษ และระยะสุดท้ายคือระยะฟื้นตัว ระยะนี้ผู้ป่วยจะกลับสู่ระยะปกติ
ภายใน 2-3 วัน การสังเกตอาการของตัวเองหรือผู้ป่วยที่ดูแลจะทำให้ผู้ป่วยมารับ
การรักษาได้อย่างทันท่วงที และไม่เกิดอันตรายร้ายแรง
ถึงแม้ว่าโรคไข้เลือดออกจะเป็นโรคที่มีอันตราย แต่โรคชนิดนี้ก็เป็นโรคที่ป้องกัน
ได้ โดยมุ่งเน้นที่การจัดการกับยุงพาหะ ดังนั้นยุทธวิธี อย่าให้ยุงเกิด เป็นยุทธวิธีที่
ทำได้ง่ายราคาประหยัดและได้ผลดี