อาการเคี้ยวหยับ ๆ แบบนี้มักพบในคนฟันหลอมาก ๆ เกือบทุกคน แม้ใน
บางโอกาส (ซึ่งน้อยมาก) อาการเคี้ยวหยับ ๆ จะเป็นผลมาจากการกิน
ยากล่อมประสาทหรือยาต้านอาการเศร้าซึมบางชนิดซึ่งมีผลข้างเคียง
ทำให้ระบบประสาทผิดปรกติไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของจมูก
ปาก หรือขากรรไกรได้
ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมโรคชราเชื่อว่า อาการเคี้ยวเป็นการตอบ
สนองของกล้ามเนื้อประสาทต่อสภาพไม่มีฟัน เรียกได้ว่าช่องปาก
พยายามหาสมดุลยภาพในตัวเอง ปรกติแล้วฟันจะทำหน้าที่บังคับขา
กรรไกรให้อยู่ในที่ของมัน แต่คนที่ไม่มีฟันจะหาตำแหน่งวางขากรรไกร
บนและล่างไม่ได้
บางคนอาจใส่ฟันปลอมเพื่อขจัดปัญหา แต่คนสูงอายุส่วนใหญ่ฟันหลุด
ร่วงมากเกินกว่าจะใส่ฟันปลอมได้ และเวลาไม่มีฟัน พวกเขาจะหุบปาก
ได้สนิทกว่ามีฟัน ปรกติแล้วขณะหุบปากฟันบนและล่างของคนเราจะ
ห่างกันประมาณ ๒-๓ มิลลิเมตรเมื่อคนไม่มีฟันพยายามหุบปากให้
เหมือนปรกติแต่ทำไม่ได้สักทีจึงกลายเป็นอาการเคี้ยวย้ำอยู่ตลอดเวลา
ส่วนคนที่ใส่ฟันปลอมจะรู้สึกมีสิ่งแปลกปลอมในปาก ทำให้กระวน
กระวายและนำไปสู่การเคี้ยวลม คล้าย ๆ กับเวลาเราถือปากกาอยู่ในมือ
แต่ไม่ได้ใช้เรามักจะเล่นปากกาหรือหมุนมันไปมา ฟันปลอมก็เป็นสิ่ง
แปลกปลอมที่ไม่ได้ใช้ พวกเขาจึงขยับมันโดยไม่รู้ตัว
ลิ้นเป็นตัวการสำคัญอีกอันหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาการนี้ คนแก่ที่ฟันล่างหลุด
หมดแล้ว ไม่มีฟันเป็นตัวจำกัดขอบเขตของลิ้น ลิ้นจึงโผล่ออกมาและ
ขยายขนาดขึ้น อาการเคี้ยวเกิดจากจิตใต้สำนึกในการพยายามหาที่
เก็บลิ้นของตัวเอง
ปัญหาการมีน้ำลายมากเกินไป หรือปัญหาปากแห้ง เป็นปัญหาต่อเนื่อง
ของผู้สูงอายุจำนวนมาก ผู้ที่พบปัญหานี้มักขยับปากและขากรรไกรเพื่อ
ตอบสนองอาการที่เกิดขึ้น จึงดูเหมือนเคี้ยวปากหยับ ๆ ตลอดเวลา