ย้อนรอย เชอร์โนบิล หายนะนิวเคลียร์ รุนแรงที่สุดในโลก

ย้อนรอย เชอร์โนบิล หายนะนิวเคลียร์ รุนแรงที่สุดในโลก

Mthai news: หลังจากที่เมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา  เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่กับชาวญี่ปุ่น โดยที่คนทั่วโลกไม่คาดคิด เมื่อเกิดแผ่นดินไหว มีความรุนแรงถึง 9 ริกเตอร์ จนทำให้เกิดคลื่นสึนามิซัดเข้าประเทศญี่ปุ่น ผลกระทบครั้งนี้ ทำให้หลายพื้นที่โดยเฉพาะเมืองมิยางิกลายเป็นเมืองร้าง มีผู้เสียชีวิตนับพันคน ซึ่งไม่เพียงเท่านั้น เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ยังเกิดระเบิดขึ้น จนลุกลามเป็นความตื่นตระหนกที่หวั่นกลัวกันว่า จะได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกมา

การระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทำให้ต้องนึกย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.2529 ที่เกิดโศกนาฏกรรมจากภัยพิบัติทางนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดของโลก วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2529 โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล ที่เมืองเชอร์โนบิล ประเทศยูเครน (สมัยนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) เกิดการระเบิด หลังจากที่ทีมวิศวกรตรวจสอบการทำงานของระบบทำความเย็น โดยปิดระบบรักษาความปลอดภัย เมื่อแรงดันไอน้ำภายในสูงขึ้นอย่างฉับพลัน แต่ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติกลับไม่ทำงาน ส่งผลให้ให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 ระเบิด ทำให้มีเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเสียชีวิตจำนวน 31 คน มีผู้บาดเจ็บทางกัมมันตรังสี 203 คน

ทั้งนี้สารกัมมันตรังสี ลอยออกไปปนเปื้อนทั้งในอากาศ แม่น้ำ ผืนดิน ทั่วทวีปยุโรปกว่า 3.9 ล้านตารางกิโลเมตร ทางการยูเครน เบลารุส และรัสเซียต้องอพยพประชาชนประมาณ 336,000 คนออกจากพื้นที่อันตรายโดยด่วน ความเสียหายในครั้งนั้นประเมินกันว่า มีความหายนะร้ายแรงกว่าการทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มนางาซากิและฮิโรชิมาในญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2488 ถึง 200 เท่า

ผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสีที่แผ่ออกมา


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเชอร์โนบิลจะปิดตัวลงแล้ว แต่ก็ยังคงมีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศ ทำให้ประชาชนอีก 5.5 ล้านคน ที่ยังคงอาศัยอยู่ในบริเวณนั้นได้รับผลกระทบจากภาวะกัมมันตภาพรังสี ที่แผ่ออกมาปนเปื้อนอยู่ จนหลายๆประเทศต่างหันมาทบทวนโยบานด้านนิวเคลียร์กันอย่างกว้างขวาง รวมทั้งมีการรวมกลุ่มจัดตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้านโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ด้วย

25ปีผ่านไป หลังจาก หายนะเชอร์โนบิลเกิดขึ้นซ้ำที่ญี่ปุ่นอีกครั้งในปีนี้ 11มี.ค.เกิดสึนามิครั้งใหญ่ จนวันต่อมา เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ เกิดระเบิดขึ้น ลามไปยังเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ซึ่งมียูเรเนียมอยู่จำนวนมาก  ได้เกิดระเบิดขึ้นอีกเนื่องจากระบบหล่อเย็นไม่ทำงาน จนทางการญี่ปุ่นต้องเร่งอพยพประชาชนนับแสนคนที่อาศัย อยู่ภายในรัศมี 20 กิโลเมตรออกไป ซึ่งรายงานเบื้องต้นมีผู้บาดเจ็บ 4 ราย เสียชีวิต 1 ราย และสูญหายอีกจำนวนหนึ่ง แต่การระเบิดในครั้งนี้ ไม่มีความรุนแรงเท่ากับครั้งที่เกิดในเชอร์โนบิล

‘เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์’ ญี่ปุ่น

ทางด้านประเทศไทยนั้น ก็มีความวิตกกังวลถึงภัยพิบัตินิวเคลียร์ โดยเมื่อวันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา เดือดร้อนไปถึงชาวบ้านกาฬสินธุ์ ที่หวาดวิตกกับความปลอดภัย จึงรวมตัวกันชุมนุมเรียกร้องให้หยุดการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังานนิวเคลียร์ในเขตพื้นที่ อำเภอยางตลาดรอยต่อกับอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ เนื่องจากประชาชนทั้ง 2 อำเภอมีความหวาดวิตกกับความปลอดภัย หากเกิดวิกฤติการณ์เหมือนที่ประเทศญี่ปุ่น ชาวบ้านจะทำเช่นไร

อย่างไรก็ตาม โครงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ โดยการไฟฟ้าฝ่ายฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันอยู่ใน ระหว่างการสำรวจที่ตั้งโรงงาน ตรวจสอบด้านธรณีวิทยา จัดหาแหล่งน้ำเพื่อใช้ในโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ พร้อมการให้ความรู้สัมมนา ภาคประชาชนในพื้นที่

อีกทั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ออกมาระบุว่า โครงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยคงต้องยืดเวลาออกไป จนกว่าจะมั่นและมีความพร้อม เพราะได้ศึกษา ข้อดี และข้อเสียของการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยนั้น พบว่า นอกจากปัญหาเรื่องต้นทุนที่ค่อนข้างจะสูงกว่าจากที่เคยประเมินมากแล้ว ยังมีเรื่องของระบบความปลอดภัยที่เรายังต้องศึกษากันอีกค่อนข้างมาก

โดย Mthai news

26 มี.ค. 54 เวลา 06:05 13,848 38 310
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...