โวถล่มลิเบียยับ! นาโตปัดเจ้าภาพ ไทยไม่ส่งทหาร ระทึกกลางดึก

เผยกองทัพอากาศลิเบียถูกทำลายย่อยยับ ฝรั่งเศสลั่นเดินหน้าบดขยี้กำลังทางบกต่อ อ้างข้อมติยูเอ็น

อนุมัติให้ใช้วิธีการคุ้มครองพลเรือน บิ๊กทหารสหรัฐประกาศจัดตั้งเขตห้ามบินสำเร็จ นาโตยังไม่รับเป็นเจ้า

ภาพยุทธการ ตุรกีจวกมหาอำนาจหวังฮุบน้ำมัน ไทยยันไม่มีนโยบายส่งทหารร่วมโจมตี

            เมื่อวันพฤหัสบดี เครื่องบินรบของชาติตะวันตกได้โจมตีลิเบียเป็นคืนที่ห้า แต่ยังไม่สามารถหยุดยั้ง

รถถังของกัดดาฟีที่กำลังระดมยิงใส่เมืองต่าง ๆ ที่พวกกบฏยึดครองอยู่ได้ กำลังทหารของผู้นำลิเบียได้กลับ

เข้าไปในมิสราตา เมืองใหญ่อันดับสาม โดยเปิดฉากยิงใส่ในบริเวณใกล้กับโรงพยาบาล และพลซุ่มยิงหรือ

สไนเปอร์ได้สังหารประชาชน 16 คน ขณะในกรุงตริโปลีมีเสียงระเบิดดังขึ้นในช่วงฟ้าสาง มีกลุ่มควันลอยขึ้นจากฐานทัพแห่งหนึ่ง

            เจ้าหน้าที่ของลิเบียได้พาผู้สื่อข่าวไปดูสภาพศพที่ไหม้เกรียม 18 ศพ ซึ่งถูกระบุว่า เป็นของทหาร

และพลเรือนที่ถูกโจมตีโดยเครื่องบิน และจรวดของชาติตะวันตกในช่วงคืนที่ผ่านมา ขณะที่ผู้บัญชาการ

ทหารของสหรัฐผู้หนึ่งเผยว่า สามารถจัดตั้งเขตห้ามบินในพื้นที่ชายฝั่งของลิเบียเรียบร้อยแล้ว และจะ

เปลี่ยนเป้าไปโจมตีพวกรถถังของกัดดาฟีต่อไป ซึ่งในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา พันธมิตรได้ส่งเครื่องบินขึ้น

บิน 175 เที่ยว ในจำนวนนี้เป็นการบินของสหรัฐ 113 เที่ยวบิน

            อังกฤษเผยว่า ได้ยิงจรวดนำวิถีโทมาฮอว์กจากเรือดำน้ำเข้าใส่ระบบป้องกันภัยทางอากาศของ

ลิเบีย ขณะพลอากาศโทเกร็ก แบ็กเวลล์ ของอังกฤษ บอกว่า กองทัพอากาศของลิเบียได้ถูกทำลายแทบ

ทั้งหมดแล้ว และไม่สามารถทำการสู้รบได้อีกต่อไป

            รัฐมนตรีกลาโหมของฝรั่งเศส เจอราร์ด ล็องเกต์ กล่าวว่า ฝรั่งเศสได้ทำลายรถหุ้มเกราะ

ของลิเบีย 10 คันในช่วง 3 วันที่ผ่านมา  และว่า ข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชา

ชาติระบุว่า ชาติพันธมิตรสามารถใช้ทุกวิธีการในการปกป้องพลเรือน

            ทางด้าน นาโต ยังคงตกลงกันไม่ได้ในเรื่องการรับโอนภารกิจการบัญชาการรบจาก สหรัฐ เนื่องจาก

ตุรกีคัดค้าน ซึ่งการรับโอนภารกิจนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์จากชาติสมาชิกนาโต ทั้ง 28

ประเทศ การเจรจาของนาโตจะมีขึ้นอีกครั้งที่กรุงบรัสเซลส์ในวันพฤหัสฯ  ตุรกีไม่ต้องการให้นาโตเข้ารับผิด

ชอบในยุทธการเชิงรุกซึ่งอาจทำให้พลเรือน เสียชีวิต หรือรับผิดชอบในการบังคับใช้เขตห้ามบิน ในขณะที่

เครื่องบินของพันธมิตรยังคง ทิ้งระเบิดใส่กองทัพของลิเบียอย่างต่อเนื่อง

            นายกรัฐมนตรีตุรกี เทย์ยิป เออร์โดกัน กล่าวในการแถลงข่าวที่กรุงอิสตันบุล โจมตีฝรั่งเศสว่า

ประเทศที่เคยลังเลที่จะรับตุรกีเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปได้พูดถึง "ครูเสด" ในลิเบีย "ผมหวังจะให้

ประเทศที่มองเห็นแต่น้ำมัน เหมืองทองคำ และขุมทรัพย์ใต้ดินได้มองภูมิภาคนั้นด้วยจิตสำนึก"

วันเดียวกัน ประธานาธิบดีตุรกี กล่าวขณะเยือนแอฟริกาตะวันตกว่า พันธมิตรบางประเทศมีเป้าหมายแอบ

แฝง ลิเบียจะถูก "ปล้นสะดม" เหมือนอิรัก

           เลขาธิการสหประชาชาติ บัน กีมูน ได้เรียกร้องอีกครั้งหนึ่ง ขอให้ทุกฝ่ายในลิเบียหยุดยิง

คณะมนตรีความมั่นคงมีกำหนดจะประชุมกันในวันพฤหัสฯ ทั้งนี้ กองกำลังชาติพันธมิตรอาศัยข้อ

มติที่ 1973 ซึ่งอนุมัติให้ใช้ "ทุกวิธีการที่จำเป็น" เพื่อคุ้มครองพลเรือนที่กำลังสู้รบเพื่อโค่นล้มกัด

ดาฟี รวมทั้งบังคับใช้เขตห้ามบิน

            ที่กรุงเบอร์ลิน โฆษกของชาติพันธมิตร เบเวอร์ลี ม็อก รายงานว่า การโจมตีทางอากาศในรอบ 24

ชั่วโมงที่ผ่านมาได้พุ่งเป้าไปที่รถถัง ชุดปืนต่อสู้อากาศยาน และศูนย์บัญชาการต่างๆ ส่วนที่กรุงปารีส ผู้

แทนของสภาชั่วคราวฝ่ายกบฏลิเบีย มันซูร์ ซาอิฟ อัลนัสเซอร์ บอกว่า พวกตนต้องการให้ลิเบียมีระบอบ

ปกครองที่เป็นประชาธิปไตยและเป็นแบบทางโลกย์ ซึ่งไม่นำศาสนามาเกี่ยวข้องกับการปกครอง และ

ทำนายว่า กัดดาฟีจะถูกโค่นอย่างรวดเร็ว สภาชั่วคราวนี้มีสมาชิก 31 คน

            ขณะที่นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงว่า ไทยมีพันธกรณีต้องปฏิบัติ

ให้สอดคล้องกับมติของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ตามกฎบัตรข้อที่ 25 ของยูเอ็น  โดยมติยูเอ็นเอสซีให้ออก

มาตรการคว่ำบาตรต่อผู้นำลิเบียและเครือญาติ ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบ และมอบให้หน่วย

งานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมายของไทย แต่ยืนยันว่า รัฐบาลไทยไม่

มีนโยบายจะส่งกองกำลังไปโจมตีประเทศอื่น






[24 มีนาคม] กัดดาฟี โผล่! กล่อมผู้สนับสนุนให้สู้ต่อ

          หลังจากที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC มีมติให้ชาติพันธมิตรใช้กำลังทหาร
เข้าหยุดยั้งกองกำลังของ พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย เนื่องจากฆ่าประชาชน ตั้งแต่คืนวันที่ 19 มีนาคม
 
ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ยังไม่มีทีท่าว่าสถานการณ์จะคลี่คลายแต่ประการใด หนำซ้ำดูเหมือนว่าจะทวีความ
 
รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ 
 
          และเมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา  พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี  ผู้นำลิเบีย ได้ออกมาให้กำลังใจกลุ่มผู้สนับ
 
สนุนของตนเอง ในการต่อสู้กับกองกำลังนานาชาติ เป็นครั้งแรกว่า นับตั้งแต่กองกำลังชาติพันธมิตรได้เข้า
 
โจมตีลิเบียเมื่อวันเสาร์ ที่19 มีนาคม จนถึงวันนี้ เราก็แสดงให้ชาติตะวันตกได้เห็นแล้วว่า ชาวลิเบียทุกคน
 
พร้อมที่จะลุกขึ้นมาจับอาวุธต่อสู้ เพื่อรักษาประเทศของเรา ไม่ปล่อยให้ใครมารุกรานได้ง่าย ๆ และเชื่อว่า
 
อีกไม่นานผู้ที่พ่ายแพ้ก็คือ พวกชาติตะวันตก ดังนั้น จึงอยากขอให้ประชาชนทุก ๆ คน อดทน และร่วมสู้ไป
 
ด้วยกันเพื่อประเทศลิเบียของเรา
 
นอกจากนี้ อยากเรียกร้องให้กลุ่มมุสลิมทั่วโลก ออกมาอยู่เคียงข้างกับลิเบีย ในการต่อสู้กับกองกำลังนานา
 
ชาติ ที่หมายจะเข้าครอบครองลิเบียเพื่อหาผลประโยชน์ โดยเชื่อว่า หากรัฐอิสลามทั้งหมดรวมตัวกัน ต่อสู้
 
ชนะชาติตะวันตกแน่นอน 
 
          ขณะที่สหรัฐฯ และยุโรป ได้เดินหน้าประกาศคว่ำบาตร 14 บริษัท ในเครือของบรรษัทน้ำมัน
 
แห่งชาติลิเบีย เพื่อตัดท่อน้ำเลี้ยงแก่รัฐบาลของกัดดาฟี เช่นเดียวกับสถาบันการเงินสวีเดนที่ได้
 
อายัดทรัพย์กัดดาฟีกว่า 1,000 ล้านยูโร




[23 มีนาคม] เครื่องบิน F-15 ของกองทัพเรือสหรัฐตกในลิเบีย

         เครื่องบิน F-15 ของกองทัพเรือสหรัฐตกในลิเบีย  ซึ่งทางการสหรัฐอ้างว่าเครื่องยนต์ขัดข้อง ส่วนจีน
รัสเซีย อินเดีย และบราซิล ไม่เห็นด้วยที่ชาติพันธมิตรเข้าโจมตีลิเบีย ทางด้านนักวิเคราะห์คาดว่าการสู้รบ
อาจไม่มีผู้แพ้หรือผู้ชนะโดยเด็ดขาด

       สถานการณ์ความรุนแรงในประเทศลิเบีย ดูเหมือนจะระอุและร้อนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากที่สหประชา
 
ชาติ หรือ ยูเอ็นไฟเขียวให้ชาติพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส แคนาดา เข้าโจมตีลิเบีย โดยมุ่งเป้า
 
ที่ระบบป้องกันภัยทางอากาศและกองทหารของ พ.อ.มุอัมมาร์ กัดดาฟี รวมทั้งฐานทัพเรือของลิเบีย ซึ่งอยู่
 
ห่างจากกรุงตริโปลีไปทางตะวันออก 10 กิโลเมตร  

         โดยเมื่อเวลา 19.04 น. ที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น หรือ ตรงกับประมาณเที่ยงคืนตามเวลาในประเทศ
ไทย เกิดเหตุระเบิดขึ้นดังสนั่นหวั่นไหว อย่างน้อย 2 ครั้ง บนท้องฟ้ายามค่ำคืนในกรุงทริโปลี ใกล้กับที่พัก
ของ พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี และโรงแรมที่พักของผู้สื่อข่าวต่างประเทศ แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดของแหล่งที่มา
ของเสียง ภายหลังรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศของลิเบีย ออกมากล่าวว่า เหตุระเบิดดังกล่าว
เป็นฝีมือของกองกำลังชาติตะวันตก ที่ร่วมมือกับกลุ่มกบฏ เพื่อหวังสังหารกัดดาฟี

         ทางด้าน โฆษกกองบัญชาการประจำภาคพื้นแอฟริกาของสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองสตุตการ์ตของ
เยอรมนี วินซี ครอว์ลีย์ แถลงว่า เครื่องบินรบของสหรัฐแบบเอฟ-15 อี ลำหนึ่งได้ตกในลิเบีย เมื่อวันอังคารที่
22 มีนาคม เพราะเครื่องยนต์ขัดข้อง ไม่ได้ถูกรัฐบาลกัดดาฟียิงตก ซึ่งนักบินปลอดภัย เพราะพวกกบฏชาว
ลิเบียได้ให้การช่วยเหลือ
 
         ขณะที่เสียงวิจารณ์ต่อปฏิบัติการของชาติตะวันตกเริ่มดังขึ้นเรื่อย ๆ และมีเสียงคัดค้านจากจีน รัสเซีย
อินเดีย และบราซิล ไม่เป็นด้วยที่สหประชาชาติ มีมติให้ชาติพันธมิตรเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของ
ลิเบีย เพราะจะทำให้ลิเบียอาจเกิดความหายนะทางมนุษยธรรม และวิตกกังวลว่า จะทำให้พลเรือนบาดเจ็บ
ล้มตาย  พร้อมเรียกร้องให้ยุติการสู้รบในลิเบีย

         ด้าน นายบัน กี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ หรือ UN ออกมาแก้ต่างต่อคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง
 
ในการปฏิบัติการทางทหารต่อลิเบีย โดยเฉพาะจากรัสเซียและจีน โดย นายบัน กี มูน ยกตัวอย่างความล้ม
 
เหลวในการยับยั้งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ใน รวันดา กัมพูชา และบอสเนีย ซึ่งเชื่อว่าทุกฝ่ายคงไม่อยากให้เกิด
 
ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเดิม พร้อมกล่าวว่า จีนและรัสเซียต้องทำตามมาตรการของคณะมนตรีความมั่นคงแห่ง
 
สหประชาชาติ หรือ UNSC ในครั้งนี้ ซึ่งแม้ว่าจะมีการงดออกเสียงในที่ประชุม แต่เมื่อมาตรการดังกล่าวถูก
 
นำมากำหนดใช้ ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็ต้องให้ความร่วมอย่างเต็มที่ เพื่อแก้ไข
 
ปัญหาให้ลุล่วง พร้อมวอนให้ประชาคมโลก สนับสนุนมาตรการห้ามบินเหนือน่านฟ้าลิเบีย เพื่อหยุดยั้งความ
 
รุนแรงต่อประชาชนชนของผู้นำลิเบีย
 
         ขณะที่ บรรดานักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงบอกว่า ยังไม่ชัดเจนว่าอะไรจะเกิดขึ้นหากผู้นำลิเบียยังคง
 
รักษาอำนาจไว้ต่อไปได้ ซึ่งชาติตะวันตกได้บอกชัดเจนแล้วว่า ไม่ต้องการเห็นลิเบียถูกแบ่งประเทศเป็น 2
 
ซีก ระหว่างภาคตะวันออกที่ฝ่ายกบฏยึดครองกับภาคตะวันตก ซึ่งอยู่ในความควบคุมของกัดดาฟี  โดย เจเร
 
มี บินนี นักวิเคราะห์ของไอเอชเอส เจน'ส์ ให้ความเห็น "มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะชะงักงันที่ยืดเยื้อ ซึ่งไม่มี
 
ฝ่ายไหนต้องการเจรจา ดังนั้นจึงยังไม่รู้ว่าผลลัพธ์ในขั้นสุดท้ายจะเป็นอย่างไร" 



[22 มีนาคม ]รัฐบาลลิเบียได้ออกมาปฏิเสธข่าวการเสียชีวิตของนายคามิส กัดดาฟี

          หลังจากที่มีสำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนัก ได้รายงานว่า นายคามิส กัดดาฟี หนึ่งในบุตรชาย
 
ของ พ.อ.โมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย ได้เสียชีวิตลงแล้ว หลังถูกเครื่องบินรบพุ่งชนบ้านพักในกรุงทริ
 
โปลี จนได้รับบาดเจ็บ ก่อนจะเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ซึ่งตามรายงานระบุว่า นายคามิส เป็นผู้บัญชาการ
 
ทหารที่ได้ชื่อว่าเป็นกองทัพติดอาวุธยุทโธปกรณ์ชั้นเยี่ยมที่สุดและทันสมัยที่สุด ทางด้าน เจ้าหน้าที่ของ
 
หน่วยข่าวกรองกองทัพพันธมิตร กำลังตรวจสอบรายงานข่าวว่า นายคามิส กัดดาฟี ได้เสียชีวิตจาก
 
เหตุการณ์โจมตีของพันธมิตร ในกรุงทริโปลีเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคมเป็นความจริงหรือไม่นั้น 

          ล่าสุด ทางรัฐบาลลิเบีย ได้ออกมาปฏิเสธข่าวลือดังกล่าวแล้ว ทั้งยืนยันว่า ข่าวลือที่ระบุว่า
 
นายคามิส กัดดาฟี บุตรชายคนที่ 6 ของผู้นำลิเบีย ได้เสียชีวิตแล้วนั้น เป็นเพียงเรื่องเหลวไหล ที่
 
ต้องการปล่อยข่าวให้ผู้สนับสนุนเสียขวัญเท่านั้น

          ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า พ.อ.โมอัมมาร์ กัดดาฟี หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังการโจมตี
 
ทางอากาศของกองกำลังสหรัฐฯ ที่ทำลายอาคารที่พักของผู้นำลิเบีย แต่อย่างไรก็ตาม ทางสหรัฐฯ
จะไม่เพิ่มความพยายามในการค้นหา กัดดาฟี แต่จะมุ่งมั่นยิงจรวดถล่มเป้าหมายเพื่อบังคับใช้เขตห้ามบิน
เหนือน่านฟ้าลิเบียต่อไป

          ทั้งนี้ นายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้เผยในระหว่างการเยือนชิลี ว่า หลังจากที่กอง
 
กำลังของพันธมิตร สามารถทำลายฐานทัพอากาศส่วนใหญ่ของลิเบีย ได้สำเร็จ ทำให้ในตอนนี้ สหรัฐฯ มี
 
แผนการที่จะถ่ายโอนอำนาจสั่งการการบัญชาการกองทัพให้กับชาติอื่น ๆ หรือองค์กรใด ๆ ในระยะเวลาไม่กี่
 
วันนับจากนี้

          ขณะที่ นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้เผยว่า มีความเป็นไปได้ที่ สหรัฐฯ จะมอบ
อำนาจสั่งการบังคับบัญชาให้กับทางนาโต แต่อาจมีเสียงคัดค้านจากชาติอาหรับ ที่ไม่ต้องการให้ปฏิบัติ
การทางการทหารครั้งนี้เกิดขึ้นกับองค์กรที่มีสหรัฐฯ เป็นผู้นำ

          นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า กองทัพพันธมิตร ยังคงระดมกำลังโจมตีฐานที่มั่นทางภาคใต้ และฐานทัพ
 
เรือลิเบีย รวมทั้งฐานที่มั่นของผู้นำลิเบีย ในกรุงตริโปลี ซึ่งมีการเปิดเผยว่า ได้มีเสียงระเบิดดังต่อเนื่อง รวม
 
ทั้งมีเสียงปืนต่อสู้อากาศยานยิงขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อตอบโต้เครื่องบินของกองทัพพันธมิตร

          ด้าน โฆษกรัฐบาลลิเบีย แถลงว่า กองทัพพันธมิตร ได้โจมตีกองทัพเรือลิเบีย ซึ่งอยู่ห่างออกไปทาง
ตะวันออกของกรุงตริโปลี ประมาณ 10 กิโลเมตร รวมทั้ง การโจมตีเป้าหมายใกล้เมืองเซบา ซึ่งเป็นเมือง
ของชนเผ่าเกเดดฟา ของ พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี 


ยูเอ็นประชุมด่วนหลังถูกกล่าวหารุกรานลิเบีย


          ยูเอ็น (UN) ประชุมด่วน หลังถูกกล่าวหารุกรานลิเบีย ขณะที่ รัสเซีย - จีน จวก สหรัฐ ชอบ
แทรกแซงเรื่องของประเทศอื่น ส่วนทางด้าน ม็อบหนุนกัดดาฟี ประท้วงไล่ เลขายูเอ็น ที่ไคโร

          
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เรียกประชุมฉุกเฉิน เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อกล่าวหา "การรุกราน
 
ทางทหาร" ต่อลิเบีย จากประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา

            คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC เรียกประชุมฉุกเฉินขึ้น ในวันจันทร์ (21
 
มีนาคม) เวลา 15.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐ เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อกล่าวหาว่า การรุกรานทางทหาร ต่อ
 
ประเทศลิเบีย โดยกองกำลังระหว่างประเทศ หลังจากนายมุสซา คุซซา รัฐมนตรีต่างประเทศลิเบียส่ง
 
หนังสือ ถึงประธานสภาฯ เพื่อขอให้จัดการประชุมฉุกเฉิน จากข้อกล่าวหาดังกล่าว

            โดยเนื้อความในหนังสือ มีการกล่าวหาว่าประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา ทำการวางระเบิดหลาย
 
ครั้งในพื้นที่อาศัย ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ และ พร้อมเรียกร้องให้ "จัดการประชุมฉุก
 
เฉินขึ้น เพื่อหยุดการรุกรานนี้"

           ขณะที่ นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ออกโรงกล่าวประณามสหรัฐ ผ่านสื่อในประเทศ โดยชี้ว่า พฤติการณ์ที่
 
กองทัพสหรัฐ เที่ยวแทรกแซงกิจการภายใน ของประเทศต่าง ๆ ไปทั่วโลก ขณะที่ รัฐบาลจีน ไม่เห็นด้วย
 
อย่างมาก ที่ตะวันตกโจมตีทางอากาศใส่ลิเบีย

           นายวลาดิมีร์ ปูติน นายกรัฐมนตรีของรัสเซีย ออกโรงกล่าวประณามถึงกรณีที่ ชาติตะวันตก ใช้กำลัง
 
เข้าแทรกแซงลิเบีย โดย นายกฯรัสเซีย ชี้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นอยู่ภายใต้เปลือกนอกกับคำว่า
 
ต้องการจะปกป้องชีวิตประชาชน โดย ปูติน ยังไม่เห็นด้วยกับพฤติการณ์ที่กองทัพสหรัฐ ที่ชอบ
 
แทรกแซงกิจการภายในของประเทศต่าง ๆ ไปทั่วโลก ซึ่ง รัฐบาลวอชิงตัน ทำอะไร ที่
 
ขาดมโนธรรมและเหตุผล

          
 
ส่วนทางด้านรัฐบาลจีน ไม่เห็นด้วยอย่างมากที่ตะวันตกโจมตีทางอากาศใส่ลิเบีย โดยประณามว่า การโจม
 
ตีดังกล่าวละเมิดหลักการสากลและเสี่ยงต่อการกระตุ้นให้เกิดความวุ่นวายในตะวันออกกลางอีก
 
ครั้ง ซึ่งการโจมตีดังกล่าวอาจกลายเป็นประเด็นขัดแย้งใหม่ ระหว่างปักกิ่งและวอชิงตัน ก็เป็นได้
 
ขณะที่มีรายงานว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มสหภาพยุโรป 27 ประเทศ ซึ่งประชุมกันที่ กรุงบรัสเซลส์
 
ประเทศเบลเยียม ยังขัดแย้งกันเองเรื่องการโจมตีลิเบีย และเรื่องการให้ นาโต เข้าไปรับบทบาทบัญชาการแทนสหรัฐ






            ทางฝั่ง กลุ่มสนับสนุน ผู้นำลิเบียขับไล่เลขาธิการ  ยูเอ็น ที่กรุงไคโร ของอียิปต์ ด้านโฆษกกลุ่มต่อ
 
ต้านรัฐบาลลิเบียเผยกองกำลังกัดดาฟี เสียชีวิตอย่างน้อย 40 ราย และได้รับบาดเจ็บ 300 ราย

            กลุ่มคนที่สนับสนุน พันเอก โมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย ราว 50 คน ประท้วงขับไล่ นาย บันกีมุน
 
เลขาธิการสหประชาชาติ ระหว่างที่จะเดินทางไปจัตุรัสทาฮีร์ ใจกลางกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ในฐานะ
 
สถานที่สำคัญในการปฏิวัติประชาธิปไตย




            โดยกลุ่มผู้ภักดีต่อกัดดาฟีราว 50 คนถือภาพของ พันเอก กัดดาฟี รุมเข้าไปตะโกนด่า นาย บันกีมุน
 
อย่างย่อยยับ ด้านเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ต้องรีบกันตัวเลขาธิการยูเอ็นออกไปยังที่ประชุมสหพันธ์
 
ชาติอาหรับในทันที และหลังจากการประชุมแล้ว ขบวนรถของ นาย บันกีมุน  ยังเจอม็อบชาวอียิปต์ที่เดิน
 
ขบวนเรียกร้องรัฐบาลอีก





[21 มีนาคม] ลือ! ลูกชายกัดดาฟีถูกเครื่องบินรบถล่มเสียชีวิต

          ชาติพันธมิตร ถล่ม ศูนย์บัญชาการกัดดาฟีแล้ว  ทางด้านโฆษกรัฐบาลลิเบีย ติ ชาติพันธมิตร ทำป่า
 
เถื่อนเกินเหตุ เพราะจุดโจมตีใกล้บ้านเรือนประชาชน พร้อมพาสื่อมวลชน เดินทางไปดูเศษซากขีปนาวุธ
 
และอาคารที่โดนถล่ม ด้านสื่ออาหรับรายงานลูกชายกัดดาฟีเสียชีวิตแล้ว

           นายมุสซา ยังได้เปิดเผยว่า การกระทำของชาติพันธมิตร เป็นการกระทำที่ป่าเถื่อน เพราะ
 
การยิงขีปนาวุธครั้งนี้อาจจะไปถูกชาวบ้านพลเรือนหลายร้อยคน ซึ่งบ้านเรือนของประชาชนห่าง
 
จุดที่ถูกโจมตี ที่เป็นที่พัก มูอัมมาร์ กัดดาฟี เพียงแค่ 400 เมตร เท่านั้น แต่พวกเขากลับพูดว่า 
 
ต้องการปกป้องประชาชน แต่กลับโจมตีที่พักอาศัย ที่พวกเขารู้ดีว่ามีพลเรือนอยู่ภายใน

           พร้อมกันนี้ยังได้เปิดเผยว่า การโจมตีในคืนวันอาทิตย์ เกิดขึ้นบริเวณบ้านพักของ กัดดาฟี รวมทั้ง ค่าย
 
ทหารหลายแห่ง และมีการยิงตอบโต้จากปืนต่อต้านอากาศยานหลายนัด หลังจากที่ กองกำลังชาติ
 
พันธมิตร ใช้กำลังโจมตีลิเบีย ตามมติของ คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น ปี 1973

            ขณะที่ กองทัพลิเบียได้ขอเจรจาหยุดยิงแล้ว หลังโดนกองกำลังนานาชาติประกอบด้วย สหรัฐ
 
อังกฤษ อิตาลี และแคนาดา ถล่มอย่างหนัก ความเคลื่อนไหวสถานการณ์ในประเทศลิเบีย ภายหลังกอง
 
Credit: http://hilight.kapook.com/**
25 มี.ค. 54 เวลา 15:33 3,739 5 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...