'บึงกาฬ' จังหวัดที่ 77 ของไทย

 

 

 

ในที่สุดพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 ก็มีผลบังคับใช้ให้ 'บึงกาฬ' เป็นจังหวัดที่ 77

ของประเทศไทยตั้งแต่วันนี้ ( 23 มีนาคม 2554 )เป็นต้นไป โดยเมื่อเช้านี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

มหาดไทย นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ได้ร่วมกับชาวจังหวัดบึงกาฬ ทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 77 รูป

หน้าสำนักงานเทศบาลตำบลบึงกาฬ และจัดกิจกรรมร่วมฉลอวงกันอย่างคึกคักไปทั่วทั้งจังหวัด

และมีผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรกชื่อ นายสมพงษ์ อรุณโรจน์ปัญญา


ปัจจุบันจังหวัดบึงกาฬ มีพื้นที่รวม 4,305.746 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 399,043 คน ครอบ

คลุมพื้นที่ 8 อำเภอ คือ อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา

อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า มีอาณาเขตติดกับพื้นที่ต่่างๆ ดังนี้ คือ ทิศ

เหนือ ติดต่อกับแขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศตะวันออก ติดต่อกับ

แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอนาทม จังหวัด

นครพนม- อำเภออากาศอำนวยและอำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร และอำเภอเฝ้าไร่ จังหวัด

หนองคาย ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย และแขวงบอลิคำไซ

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ภูทอก อ. ศรีวิไล

นอกจากนี้ยังมี สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจและสวยงาม มากมาย อาทิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว

วัดอาฮงศิลาวาส ศาลเจ้าแม่สองนาง หลวงพ่อพระใหญ่ บ้านท่าใคร้ หนองกุดทิง หาดทรายขาวริม

ฝั่งแม่น้ำโขง บึงโขงหลง หาดคำสมบูรณ์ น้ำตกตาดกินรี ภูทอก น้ำตกเจ็ดสี น้ำตกถ้ำฝุ่น น้ำตกชะ

แนน ฯลฯ ที่สามารถเดินทางไปเที่ยวชมและพักผ่อนได้ทุกฤดูกาล

บึงโขงหลง อ. บึงโขงหลง

ความเป็นของการตั้งจังหวัดบึงกาฬ
 

ใน พ.ศ. 2537 สุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย เสนอ

ให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้น โดยกำหนดจะแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย

อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัด

หนองคาย รวมเป็นท้องที่ทั้งหมด 4,305 ตารางกิโลเมตร อย่างไรก็ดี กระทรวงมหาดไทย ได้แจ้ง

ผลการพิจารณาในตอนนั้นว่า ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัด

ตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐ ซึ่งจะขัดกับ

มติคณะรัฐมนตรี กระทั่งปี พ.ศ. 2553 กระทรวงมหาดไทย ได้นำเรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ

เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อยก "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ.

..."ผลการสำรวจความเห็นของประชาชนจังหวัดหนองคายในคราวเดียวกัน ปรากฏว่า ร้อยละ 98.83

เห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ต่อมาเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็น

ชอบให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ โดยให้เหตุผล ดังนี้คือ
 

1.เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในเรื่องอำเภอ จำนวนประชากร และลักษณะพิเศษของจังหวัด อีกทั้งยัง

เป็นผลดีต่อการให้บริการแก่ประชาชน
 

2.จังหวัดหนองคายเป็นพื้นที่แนวยาวทอดตามแม่น้ำโขง จึงมีผลต่อการรักษาความมั่นคงและความ

สงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน
 

3.จังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอำนาจเจริญที่เคยตั้งขึ้นใหม่ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าหลักเกณฑ์มติ

คณะรัฐมนตรีเช่นกัน
 

4.จังหวัดที่ตั้งขึ้นใหม่ไม่ให้บริการสาธารณะซ้ำซ้อนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 

5. บุคลากรจำนวน 439 อัตรา สามารถกระจายกันในส่วนราชการได้ ไม่มีผลกระทบมากนัก

ต่อมารัฐสภาได้มีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..." เมื่อวันที่ 7

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระ

บาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลงเมื่อวันที่ 11

มีนาคม 2554 นำประกาศเป็น "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" ในราชกิจจานุเบกษา

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 และใช้บังคับในวันที่ 23 มีนาคม 2554 โดยเหตุผลในการประกาศใช้

พระราชบัญญัติ มีว่า
 

"...เนื่องจากจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดน และมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแนว

ยาว ทําให้การติดต่อระหว่างอําเภอที่ห่างไกลและจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลําบาก และใช้ระยะ

เวลาในการเดินทางมากเกินควร ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครอง การรักษา

ความมั่นคง และการอํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ สมควรแยกอําเภอบึงกาฬ

อําเภอเซกา อําเภอโซ่พิสัย อําเภอบุ่งคล้า อําเภอบึงโขงหลง อําเภอปากคาด อําเภอพรเจริญ และ

อําเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัด

บึงกาฬ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้" นอกจากมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ให้

จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ โดยมีองค์ประกอบเป็นอำเภอทั้งแปดข้างต้นแล้ว มาตรา 4 ยังให้เปลี่ยนชื่อ

"อำเภอบึงกาฬ" เป็น "อำเภอเมืองบึงกาฬ" ด้วย

การเดินทางไปจังหวัดบึงกาฬ สามารถเดินทางหลายเส้นทาง ดังนี้
 

1.รถยนต์
 

- จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรีแล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่าน

จังหวัดนครราชสีมา-จังหวัดขอนแก่น- จังหวัดอุดรธานี-จนถึงจังหวัดหนองคายและจากหนองคายสู่

อำเภอบึงกาฬ โดยจะผ่านอำเภอโพนพิสัย กิ่งอำเภอรัตนวาปี อำเภอปากคาด รวมระยะทางทั้งสิ้น

ประมาณ 751 กิโลเมตร
 

2. รถโดยสารประจำทาง
 

มีรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและรถปรับอากาศ
 

- จากบริษัทขนส่งจำกัด http://www.transport.co.th โทรศัพท์: 0 2 936  2841 - 48, 0 2936 2852 -

66 ต่อ 442, 311
 

- บริษัท แอร์อุดร จำกัด http://airudon.comze.com สำรองที่นั่ง กรุงเทพฯ โทร 02 936 2735

อุดรธานี โทร 0 4224 5789 สถานที่จำหน่ายตั๋วอาคารหมอชิต 2 ชั้น 3 ช่องจำหน่ายตั๋ว 55 และ 118 (หลังประชาสัมพันธ์ ชั้น 3)
- บริษัท 407 พัฒนา ให้บริการด้วยรถปรับอากาศชั้น 1 และชั้น 2 ชนิด ม.1ข ,ม.4ข ,ม.1พ ,ม.2  ให้

บริการรถสาย กรุงเทพฯ หนองคาย บึงกาฬ บุ่งคล้า, กรุงเทพฯ กุมภวาปี บึงกาฬ ,ระยอง-ขอนแก่น-

พังโคน-บึงกาฬ
 

และยังมีรถบริษัทเอกชนหลายแห่ง จัดรถวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยเริ่มจากสถานีขนส่ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร
 

3. รถไฟ

- มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ-หนองคาย และขบวนรถด่วนดีเซลราง กรุงเทพ - อุดรฯ ทุกวัน ติดต่อ

สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020  www.railway.co.th  สถานี

รถไฟหนองคาย โทร. 0 4241 1592
 

4. เครื่องบิน
 

สามารถไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี รายละเอียดสอบถามได้ที่บริษัทการบินไทย

จำกัด http://www.thaiairways.co.th/  ศูนย์สำรองที่นั่ง 0 2356 1111
 

สายการบิน ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 http://www.airasia.com/th/th/home.html
 

สายการบินนกแอร์   www.nokair.com Call us Nok Air at 1318 or +662- 900-9955

Credit: sanook.com
24 มี.ค. 54 เวลา 19:35 3,616 6 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...