สิ่งมีชีวิตบนโลก และกลไกลทางชีววิทยาทั้ง
มวลบนโลก ล้วนขับเคลื่อนได้ด้วยพลังงาน
จากดวงอาทิตย์ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ดวง
อาทิตย์จึงเปรียบเสมือนมารดาของสรรพชีวิต
บนโลก หากจะมีดาวเคราะห์ดวงใดดวงหนึ่งใน
ระบบสุริยะอื่นจะมีสิ่งมีชีวิตบ้าง ก็จะต้องอยู่ใน
เงื่อนไขเดียวกับโลก นั่นคือจะต้องรับพลังงาน
จากดาวฤกษ์ที่ตนเป็นบริวารอยู่
แต่การศึกษาใหม่โดยนักเอกภพวิทยาจาก
มหาวิทยาลัยชิคาโกพบว่า ดาวเคราะห์คล้ายโลกก็
อาจมีอุณหภูมิสูงพอจะเอื้ออาศัยได้โดยไม่ต้องมี
ดาวฤกษ์ โดยมีแหล่งความร้อนจากการสลายของ
ธาตุกัมมันตรังสีภายในดาวเคราะห์เอง และมีชั้นน้ำ
แข็งห่อหุ้มเป็นฉนวน
ต้นกำเนิดของงานวิจัยนี้มาจากความขี้สงสัยของ
นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คนหนึ่งที่เกิดสงสัยว่า
โลกจะเป็นอย่างไรหากไม่มีดวงอาทิตย์ แนวคิดนี้
กระตุ้นให้สหาย เอริก สวิตเซอร์ ซึ่งเป็นนักเอกภพ
วิทยา เริ่มงานวิจัยเพื่อไขปัญหานี้
ผลการคำนวณของสวิตเซอร์เผยว่า หากไม่มี
พลังงานจากดาวฤกษ์แล้ว ดาวเคราะห์แบบโลกจะ
ต้องมีแผ่นน้ำแข็งหนา 15 กิโลเมตรปกคลุมอยู่เพื่อ
ทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนที่เกิดจากการ
สลายของ ธาตุกัมมันตรังสีภายในดาวเคราะห์ เช่น
โพแทสเซียม-40 ยูเรเนียม-238 และ ทอเรียม-232
รวมถึงพลังงานดั้งเดิมที่ตกค้างมาจากการสร้างดาว
เคราะห์ด้วย
หรือหากน้ำแข็งหนาไม่ถึง 15 กิโลเมตร ก็ยังปกป้อง
ความร้อนจากภายในได้ หากมีชั้นบรรยากาศเยือก
แข็งเช่นน้ำแข็งแห้ง ซึ่งก็คือคาร์บอนไดออกไซ
ค์เยือกแข็ง ปกคลุมอีกชั้นหนึ่ง
ดาวเคราะห์ที่มีลักษณะเช่นนี้ จะอุ่นพอที่จะให้มีสิ่ง
มีชีวิตวิวัฒน์และดำรงอยู่ได้
"โลกเราก็อาจมีลักษณะแบบนั้นได้หลังจากที่ดวง
อาทิตย์ดับไปแล้วประมาณ 10,000 ล้านปี ซึ่งเมื่อ
ถึงเวลานั้นน้ำในมหาสมุทรจะเย็นจนกลายเป็นน้ำ
แข็งทั้งหมด" โดเรียน แอบบอต นักวิทยาศาสตร์
จากมหาวิทยาลัยชิคาโกกล่าว
สวิตเซอร์ไม่ได้คาดไปถึงว่า สิ่งมีชีวิตในดาว
เคราะห์ที่ไม่มีดาวฤกษ์จะมีลักษณะเช่นใด แต่ดวง
จันทร์ของดาวพฤหัสบดีกับดาวเสาร์ที่เต็มไปด้วย
น้ำแข็งปกคลุมอาจให้แนว คำตอบนี้ได้ นักวิทยา
ศาสตร์เชื่อว่าดวงจันทร์ยูโรปาและคัลลิสโตของ
ดาวพฤหัสบดีและเอนเซลา ดัสของดาวเสาร์มีชั้น
ของมหาสมุทรใต้พิภพที่เป็นของเหลวอยู่ มีแหล่ง
พลังงาน มีน้ำ และมีสภาพเคมีอย่างที่ชีวิตต้องการ
ความคิดว่าอาจมีดาวเคราะห์บางดวงที่พเนจรอย่าง
อิสระไม่โคจรรอบดาวฤกษ์ไม่ ใช่ความคิดที่
เพ้อเจ้อเสียทีเดียว นักดาราศาสตร์ได้คำนวณว่า
การรบกวนกันเองระหว่างดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
หรือการรบกวนจากดาวฤกษ์ที่ผ่านเข้ามาใกล้ อาจ
ทำเกิดแรงเหวี่ยงให้ดาวเคราะห์หลุดกระเด็นออก
จากระบบสุริยะได้
จากแบบจำลองการกำเนิดระบบดาวเคราะห์แสดง
ว่ามีโอกาสเกิดดาวเคราะห์ประเภทนี้อยู่มากมาย
โดยเฉลี่ยแล้วอาจมี 1-2 ดวงต่อระบบสุริยะ
แม้แต่ระบบสุริยะของเราเอง ก็อาจเคยเกิด
เหตุการณ์นี้มาก่อน โลกเราอาจเคยมีดาวเคราะห์พี่
น้องร่วมครอบครัวที่ลักษณะใกล้เคียงกันแต่ได้
หลุดออกจากระบบไปนานแล้ว เพียงแต่ทฤษฎีนี้ยัง
ขาดหลักฐานยืนยันเท่านั้นเอง