เรื่อง เล่า ดี ๆ ของ สื่อ ญี่ ปุ่น

 

"ก็ถ้านำเสนอภาพคนตายน่ากลัว หรือมามัวคร่ำครวญ

แบบนั้นแล้วมันได้ประโยชน์อะไรขึ้นมาบ้างล่ะ หดหู่ น่า

กลัว เห็นคนตาย หรือซากศพ เกิดภาพติดตานำไปฝัน

ร้าย ไม่ให้เกียรติผู้ตาย ทำลายจิตใจผู้สูญเสียซ้ำลงไป

อีก พอเห็นภาพคนตายบ่อยๆ ก็ชิน ทำให้จิตใจหยาบ

กระด้าง ไม่เห็นมีอะไรสร้างสรรค์สักอย่าง นอกจาก

อารมณ์ปลงสังเวช "

 

เป็นคำตอบที่ นภารวี (สืบสุข) นาคากาวะ คนไทยที่อยู่ใน

ญี่ปุ่นได้รับจากคนญี่ปุ่นใกล้ตัว เกี่ยวกับการนำเสนอข่าวและ

ภาพข่าวโทรทัศน์เหตุการณ์แผ่นดินไหว ตามด้วยสึนามิ และ

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดซ้ำล่าสุด ว่าเพราะอะไรจึงไม่ปรากฎ

ภาพผู้คนร้องไห้ฟูมฟาย ภาพการขุดคุ้ยหาศพของเจ้าหน้าที่

หน่วยกู้ภัย หรือภาพศพหรือคนตายทางสื่อเลยแม้แต่น้อย

นภารวี เป็นบัณฑิตปริญญาตรีและโทจากคณะนิเทศศาสตร์ 

จุฬาลงกรณ์ สาขาโฆษณา เคยผ่านงานด้านอินเตอร์เน็ตและ

กราฟฟิกดีไซน์ และงานนิตยสาร เป็นบรรณาธิการนิตยสาร 

HealthToday กว่า 8 ปี ปัจจุบันเธอลาออกจากงานประจำ ใช้

ชีวิตอยู่ในเมืองโอซากา ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ชีวิตอยู่ที่ญี่ปุ่น

เกือบปีแล้ว

ช่วงที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 11 

มีนาคมที่ผ่านมา สถานการณ์ภัยพิบัติครั้งใหญ่นี้ทำให้ต้อง

ติดตามข่าวสารและรายการทางโทรทัศน์ของญี่ปุ่นอย่างใกล้

ชิด และเนื่องจากศึกษาด้านสื่อสารมวลชนในไทยมา จึง

เปรียบเทียบและสังเกตเห็นอะไรหลายๆอย่าง

 

การนำเสนอข่าวของสื่อโทรทัศน์ญี่ปุ่น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ

จริยธรรมอย่างเคร่งครัด เป็นสิ่งที่เธอพบและอยากแลก

เปลี่ยนกับคนไทย คือ ภาพข่าวโทรทัศน์ของญี่ปุ่นทุกช่องจะ

ไม่เคยถ่ายให้เห็นภาพคนตาย คนบาดเจ็บ อาวุธ หรือภาพที่

น่าหวาดเสียวใดๆ แตกต่างจากการนำเสนอข่าวของไทย

อย่างเหตุการณ์ภัยพิบัติล่าสุดนี้ นภารวี บอกว่า ในช่วง 2 วัน

แรก ฟรีทีวีทุกช่อง รวมทั้งช่องโทรทัศน์แห่งชาติอย่าง NHK 

พร้อมใจกันนำเสนอภาพข่าวเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ

อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ภาพที่ผู้ชมได้เห็นซ้ำไปซ้ำ

มาสลับกับการรายงานข่าวในสถานี จะเป็นภาพเหตุการณ์ขณะ

ที่เกิดแผ่นดินไหว คลื่นซัดน้ำเข้าฝั่งทำลายบ้านเรือนพัง

ทลาย ซากกองไม้ที่ปรักหักพังต่างๆ และคนที่หนีพ้นมายืนอยู่

บนที่สูง หลังจากนั้นก็เป็นสภาพในศูนย์อพยพและช่วยเหลือผู้

ประสบภัย การแบ่งปันที่นอน การแบ่งปันอาหารน้ำดื่ม และ

สัมภาษณ์ผู้ประสบภัยที่สูญเสียบ้านและทรัพย์สิน

 

"โดยข่าวจะตัดมาเพียงประโยคสั้นๆ ที่แม้ผู้พูดจะเศร้าน้ำตา

นองหน้า แต่ก็กล่าวอย่างสุภาพ ไม่แสดงอารมณ์ฟูมฟาย

โวยวาย และที่สำคัญที่สุด มีเพียงแต่คำบรรยายจากผู้ประกาศ

ข่าวว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยกำลังค้นหาผู้รอดชีวิตอย่าง

เร่งด่วนที่นั่นที่นี่ มียอดผู้เสียชีวิตจำนวนเท่าใดบ้าง เพียงแค่

นั้นก็สื่อสารได้ใจความครบถ้วนที่จำเป็นแล้ว เหตุการณ์นี้

อดทำให้ฉันหวนนึกไปถึงช่วงที่เกิดเหตุสึนามิใน

ประเทศไทย ตลอดสัปดาห์อันเลวร้ายนั้น ต้องดูภาพศพ

ผู้เสียชีวิตที่นอนเกลื่อนชายหาด ศพที่ซ้อนทับๆ กันเป็น

ภูเขาเป็นซากเน่า แบบไม่ให้เกียรติกับผู้ตายเลยแม้แต่

น้อย แม้จะมีการเบลอบ้างแต่ก็ยังเห็นภาพอุจาดตาน่า

สังเวชใจ พร้อมกับเสียงคนร้องไห้คร่ำครวญ"

 

ส่วนในวันที่ 2 และวันที่ 3 ของเหตุการณ์ มีข่าวใหญ่เป็นผล

ต่อเนื่องจากเหตุสึนามิ นั่นคือ ความร้อนและการระเบิดของ

อาคารเตาปฏิกรณ์ปรมาณูในโรงไฟฟ้าพลังปรมาณูที่ฟูคุชิมะ 

เธอบอกว่า โทรทัศน์เกือบทุกช่องนำเสนอรายการเพื่อ

อธิบายการทำงานของโรงไฟฟ้าเพื่อให้ประชาชนเข้าใจได้ง่าย

ที่สุด โดยการทำเป็นภาพวาดประกอบ เชิญผู้เชี่ยวชาญมา

วิเคราะห์สลับกับการแถลงข่าวจากผู้แทนรัฐบาล แล้วก็

วิเคราะห์ข่าวที่แถลงนั้นอีกที

 

มีการประกาศแผนที่ประชาชนต้องพึงปฏิบัติในสถานการณ์

ฉุกเฉินต่างๆ รวมทั้งการแถลงแนวทางแก้ไขปัญหาในทุกๆ 

ด้านที่เกี่ยวข้อง มาตรการประหยัดไฟฟ้าและพลังงานต่างๆ 

สลับกับการเสนอภาพความร่วมมือด้วยดีของประชาชนที่พา

กันเข้าคิวอย่างเป็นระเบียบเพื่อซื้ออาหาร ตุนน้ำดื่ม หรือรอ

โทรศัพท์ เป็นต้น

 

และจนล่วงเข้าวันที่ 4 ที่หลายคนเริ่มปรับสภาพใจให้ชิน 

ยอมรับกับเหตุการณ์ได้บ้างแล้วนั่นแหละ ภาพข่าวจึงค่อย

เปลี่ยนโทนมาเสนอเป็นภาพจากคลิปวิดีโอที่ถ่ายด้วย

โทรศัพท์มือถือของผู้ประสบภัยบ้าง ได้ยินเสียงผู้คนตื่นเต้น

ตกใจกับคลื่นที่พัดผ่านหมู่บ้าน เสียงสะอื้นไห้ของคน ทั้งที่

พลัดพรากจากญาติมิตรและที่ดีใจที่ได้เจอกัน


"สื่อมวลชนญี่ปุ่นเคร่งครัดในจริยธรรมการนำเสนอข่าว

และเข้าใจหน้าที่ของสื่อมวลชนอย่างดี น่านับถือมาก 

การเลือกนำเสนอภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยผ่านการ

ไตร่ตรอง ไม่ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง แต่เลือกเน้นหนักในข้อ

เท็จจริง ทำให้ประชาชนที่ตระหนกตกใจกับเหตุการณ์

ฉุกเฉินสามารถเรียกสติกลับคืนมาได้อย่างรวดเร็ว และหันมา

มองการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และแก้ปัญหาระยะยาวเพื่อ

ดำเนินชีวิตต่อไป"


"ข่าวสารที่นำเสนอของญี่ปุ่นจะเน้นว่า ไม่มัวเสียเวลานั่ง

ฟูมฟายร้องไห้กับความสูญเสียที่เรียกคืนไม่ได้ แต่ลุก

ขึ้นสู้กับปัญหาด้วยปัญญา ทั้งยังปลูกฝังแนวคิดให้

ความร่วมมือกับส่วนรวมมากที่สุดเท่าที่แต่ละคนจะทำได้ 

ไม่ทำตัวเองให้เป็นปัญหากับคนอื่น และเคารพให้เกียรติ

ซึ่งกันและกันแม้ในยามวิกฤตสุดยอด เป็นสิ่งที่ฉันรู้สึก

ชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง"

 

และในช่วงเวลาลำบากของคนญี่ปุ่นแบบนี้ เธอบอกด้วยว่า 

แม้ว่าสถานีโทรทัศน์ต่างๆ จะนำรายการต่างๆ กลับมาฉายตาม

ปกติสลับกับการรายงานข่าว ไม่ได้มีแต่ข่าวทั้งวันทัังคืนทุก

ช่องแล้ว รายการแต่ละรายการจะถูกดูแลไม่ให้มีเนื้อหาที่

ขัดกับมารยาทสังคม รายการไร้สาระหรือเพลิดเพลิน

เกินเหตุจะถูกพิจารณาเลื่อนไปก่อน หากเป็นรายการ

ตลกก็จะมีการออกมาแสดงความเสียใจและขออนุญาต

ให้ความบันเทิงกับประชาชน


"ถึงนาทีนี้แล้วคงสะท้อนให้เห็นชัดเจนล่ะว่า สื่อมวลชนที่

มีคุณภาพสามารถชี้นำสังคมให้ดำเนินไปในทางที่ดีได้

จริงๆ" นภารวีย้ำ

ด้านสุรชา บุญเปี่ยม อดีตผู้สื่อข่าวช่อง 9 อสมท เจ้าของ

รางวัลผู้รายงานข่าวดีเด่นโทรทัศน์ทองคำ ปี2548 จากข่าว 

"คลื่นยักษ์สึนามิถล่มชายฝั่งอันดามัน" กล่าวว่า การนำเสนอ

ภาพข่าวเหตุการณ์สึนามิที่พังงาขณะนั้น เสนอภาพกว้างเป็น

หลัก แต่จำเป็นต้องมีภาพผู้เสียชีวิตจำนวนมากในช่วงวันสอง

วันแรก เพราะประเทศไทยไม่เคยเกิด สึนามิ ไม่มีใครทราบ

ว่าส่งผลกระทบรุนแรงแค่ไหน ขณะที่ญี่ปุ่นนั้นเคยเกิดสึนามิ

มาแล้ว

 

"ยังไม่มีใครรู้ว่า สึนามิ คืออะไร ถ้าไม่มีภาพแบบแรงๆ

หนักๆเลย ก็สื่อความหมายไม่ชัดเจน จำเป็นต้องเข้าไป

เก็บภาพความเสียหายหลังเหตุการณ์ ทำให้ต้องมีภาพ

คนตายมากๆในวันสองวันแรก แล้วก็เลิก เพราะรู้ว่ามัน

อุจาด"

 

สุรชา บอกด้วยว่า โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับสื่อโทรทัศน์ญี่ปุ่นที่

เคร่งครัดเรื่องจริยธรรมในการนำเสนอข่าวและภาพข่าว แต่

ต้องยอมรับว่าวัฒนธรรมการรายงานข่าว และผู้ชมแต่ละ

ประเทศแตกต่างกัน โดยเฉพาะผู้ชมข่าวในไทยส่วนใหญ่คุ้น

ชินและนิยมการนำเสนอข่าวแบบลงถึงพื้นที่ ต้องเห็นภาพ

ความเสียหายและผู้ประสบภัยจริงๆ

 

"สื่อโทรทัศน์ไทยรายงานข่าว-ภาพให้เห็นกันจะจะ ไม่มีใครวิ

พากษณ์วิจารณ์ก็คงทึกทักเอาเองว่ารายงานดีแล้ว เป็นเรื่อง

ยากอยู่เหมือนกัน เพราะคนไทยคุ้นเคยกับการดูทีวีไทยแบบ

ไทยๆที่เคยเห็น คุณภาพของนักข่าววัดกันตรงจริยธรรมอย่าง

เดียวก็คงไม่ได้เหมือนกัน จริยธรรมในสังคมหนึ่งกับอีกสังคม

หนึ่งก็มีมาตรฐานต่างกัน"

เขาเห็นว่า องค์กรสื่อมวลชนโทรทัศน์ไทยน่าจะนำประเด็นนี้

มาเสวนาร่วมกับ นักกฎหมาย นักสิทธิมนุษยชน รวมทั้งผู้

เกี่ยวข้อง โดยเชื่อว่า จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานข่าว

และสื่อมวลชนผู้ปฏิบัติงานในประเทศ

ทั้งนภารวี และ สุรชา หวังว่า สิ่งที่ได้ตั้งข้อสังเกตและแลก

เปลี่ยนถึงการนำเสนอข่าวเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งนี้ของสื่อ

โทรทัศน์ญี่ปุ่น จะเป็นประโยชน์ไม่น้อย และอยากให้

สื่อมวลชนของไทยปัจจุบันหันกลับมาทบทวนตัวเองด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก บันทึกของนภารวี (สืบสุข) นาคากาวะ

Credit: http://campus.sanook.com..
22 มี.ค. 54 เวลา 15:29 2,798 5 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...