"ดร.ศรัณย์" รองผอ.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่าปรากฎการณ์ดวง
จันทร์โคจรใกล้โลก เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามปกติและไม่มีผลทำให้เกิดแผ่นดินไหว
พายุถล่มและสึนามิ จึงขอให้ประชาชนอย่าได้หวาดวิตก
(19 มี.ค.) ปรากฏการณ์ดวงจันทร์โคจรใกล้โลก หรือ ซุปเปอร์มูน ที่จะเกิดขึ้นเวลา
ประมาณ 02.00 น.ในวันนี้ (20 มี.ค.) ทำให้เกิดความวิตกว่าอาจส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติ
เช่น แผ่นดินไหว พายุถล่ม สึนามิ หรือ ภูเขาไฟระเบิด ด้าน ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้
อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชี้แจงว่าดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นรูปวงรี
จึงมีจุดที่อยู่ไกลและใกล้ที่สุด ทำให้ปรากฏการณ์ดวงจันทร์ใกล้โลกเป็นปรากฎการณ์ปกติ โดยในวันดังกล่าวดวงจันทร์จะเต็มดวงและมีระยะห่างจากโลกเพียง 356,577
กิโลเมตร ทำให้สามารถมองเห็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ประมาณ 2-3 % ส่วน
คำว่าซุปเปอร์มูน เป็นคำเรียกกันเอง ในทางดาราศาสตร์ไม่มีคำนี้
สำหรับปรากฏการณ์ดวงจันทร์ใกล้โลกจะทำให้น้ำขึ้นสูงกว่าปกติ แต่แรงโน้มถ่วงของ
ดวงจันทร์ไม่มีอิทธิพล ทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนตัวผิดปกติ ดังนั้นการนำปรากฏการณ์
ดังกล่าวมาผูกกับเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น หรือ การทำนายว่าจะเกิดแผ่นดินไหว
ในอนาคต จึงเป็นเพียงการนำเรื่องมาผูกตามจินตนาการเท่านั้น ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก
จากบันทึกและคำบอกเล่าของนักดาราศาสตร์ที่ผ่านมา ดวงจันทร์โคจรเข้าใกล้โลกเมื่อ
28 ปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ปี 1983 ดวงจันทร์มีความสวยและคมชัด เพราะมีความ
ใกล้โลกเข้ามาประมาณ 50,000 กิโลเมตร จากระยะห่างที่สุด การที่ดวงจันทร์ใกล้โลก
เต็มดวง หรือ Perigee full Moon และมีความสว่างสุกใสเช่นนี้ ทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลงสูง
เป็นพิเศษ หรือ Extra-high perigean tides แต่เป็นสิ่งที่ไม่ต้องกังวลใจเพราะแรงโน้ม
ถ่วง ของดวงจันทร์ มีผลทำให้ขึ้นเพิ่มไม่กี่นิ้วกว่าปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์
ของแต่ละพื้นที่