ความต่างของ กัมมันตรังสี กับ กัมมันตภาพรังสี อันตรายและวิธีป้องกันตัวเอง

 

       จากรณีที่เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศ

ญี่ปุ่น หลายคนคงสงสัยว่า กัมมันตรังสี กับ กัมมันตภาพรังสี ต่างกันอย่างไร เนื่อง

จากที่ผ่านมามีผู้ประกาศข่าวหลายช่อง ใช้ทั้งคำว่า กัมมันตรังสี กับ กัมมันตภาพ

รังสี จนเกิดความสับสนกันว่าควรใช้คำว่าอะไร

 

       ทั้งนี้ ที่ถูกต้องใช้คำว่า สารกัมมันตรังสี  ซึ่งเป็น สสาร เป็นวัตถุจับต้องได้ที่สามารถปล่อย

       รังสีออกมาได้  แต่หากมีการแผ่รังสีออกมาจากสารนั้นอีกต่อจึงจะเรียกกว่า กัมมันตภาพรังสี

ส่วน สารกัมมันตภาพรังสี  คือ พลังงาน ที่จับต้องไม่ได้ เป็นปรากฏการณ์ที่สาร

กัมมันตรังสีปล่อยรังสีออกมา ดังนั้น หากเป็นเป็นสสาร จะไม่ต้องใช้คำว่า ภาพ

       สำหรับธาตุกัมมันตรังสี คือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี แล้วกลาย

เป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้

       1. รังสีเอกซ์ ถูกค้นพบโดย Conrad Röntgen อย่างบังเอิญเมื่อปี ค.ศ. 1895

       2. ยูเรเนียม ค้นพบโดย Becquerel เมื่อปี ค.ศ. 1896 โดยเมื่อเก็บยูเรเนียมไว้กับ

ฟิล์มถ่ายรูป ในที่มิดชิด ฟิล์มจะมีลักษณะ เหมือนถูกแสง จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีการแผ่รังสี

ออกมาจากธาตุยูเรเนียม เขาจึงตั้งชื่อว่า Becquerel Radiation

        3. พอโลเนียม ถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย มารี กูรี ตามชื่อบ้านเกิด (โปแลนด์) เมื่อปี

ค.ศ. 1898 หลังจากการสกัดเอายูเรเนียมออกจาก Pitchblende หมดแล้ว แต่ยังมีการแผ่

รังสี อยู่ สรุปได้ว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกแฝงอยู่ใน Pitchblende นอกจากนี้ กูรี ยังได้ตั้ง

ชื่อ  เรียกธาตุที่แผ่รังสีได้ว่า  ธาตุกัมมันตรังสี และ เรียกรังสีนี้ว่า กัมมันตภาพรังสี
       

       4. เรเดียม ถูกตั้งชื่อไว้เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากสกัดเอาพอโลเนียมออกจาก

พิตช์เบลนด์หมดแล้ว พบว่ายังคงมีการแผ่รังสี จึงสรุปว่า มีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกใน

Pitchblende ในที่สุดกูรีก็สามารถสกัดเรเดียมออกมาได้จริง ๆ จำนวน 0.1 กรัม ในปี ค.ศ. 1902

        ประโยชน์จากรังสี ปัจจุบัน ได้มีการนำรังสีและสารกัมมันตรังสีมาใช้งานต่างๆ กันเช่น ใน

ทางการแพทย์มีการใช้ในการตรวจวินิจฉัย และบำบัดอาการโรคของผู้เจ็บป่วยจากโรคร้าย

ต่างๆ เช่น การฉายรังสีเอกซ์ การตรวจสมอง การตรวจกระดูก และการบำบัดโรคมะเร็ง

เป็นต้น นอกจากนี้ ก็มีการใช้งานทางรังสีในกิจการอุตสาหกรรม การเกษตร และการศึกษา

วิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาทิเช่น การใช้รังสีตรวจสอบรอยเชื่อม รอยร้าวในชิ้นส่วนโลหะ

ต่างๆ การใช้ป้ายเรืองแสงในที่มืด การตรวจอายุวัตถุโบราณ การถนอมอาหารด้วยรังสี และ

การฆ่าเชื้อโรคในเครื่องมือแพทย์

ขณะเดียวกัน ก็ยังมีการนำมาเป็นพลังงานเชื้อเพลิงในรูปแบบโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่

ที่ไม่เปิดเผยก็คือ มีบางประเทศกำลังวิจัยเพื่อใช้เป็นอาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงพัฒนาเป็น

อาวุธทางชีวภาพ

 

       อันตรายจากรังสี

แม้รังสีจะมีอยู่ล้อมรอบตัวเรา และมนุษย์ทุกคนก็สามารถใช้ประโยชน์จากรังสีได้ แต่รังสีก็

นับได้ว่ามีความเป็นพิษภัยในตัวเองเช่นกัน รังสีมีความสามารถก่อให้เกิดความเสียหาย

ของเซลล์สิ่งมีชีวิต และถ้าได้รับรังสีสูงมากอาจทำให้มีอาการป่วยทางรังสีได้ ดังนั้นผู้ที่

ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสีจะต้องกระทำด้วยความรอบคอบ เพื่อป้องกันตัวเองและ

สาธารณชนไม่ให้ได้รับอันตรายจากรังสีเลย

 

กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) คือ คุณสมบัติของธาตุและไอโซโทปบางส่วน ที่

สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นธาตุหรือไอโซโทปอื่น โดยการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีการ

ปลดปล่อยหรือส่งรังสีออกมาด้วย ปรากฏการณ์นี้ได้พบครั้งแรกโดย เบคเคอเรล เมื่อปี

พ.ศ. 2439 ต่อ มาได้มีการพิสูจน์ทราบว่า รังสีที่แผ่ออกมาในขบวนการสลายตัวของธาตุ

หรือไอโซโทปนั้นประกอบด้วย รังสีแอลฟา, รังสีเบต้า และรังสีแกมมา

       ในปี ค.ศ. 1896 นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ อองตวน อองรี แบ็กเกอแรล (Antoine

Henri Becquerel, 1852-1908) ได้ค้นพบการแผ่รังสีของนิวเคลียสขึ้น จากการศึกษา

เกี่ยวกับการแผ่รังสีฟิสิกส์นิวเคลียร์ต่อมาทำให้ทราบถึง ธรรมชาติของธาตุ และสามารถ

นำเอาไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้มาก อาทิ นำไปใช้เพื่อการบำบัดรักษามะเร็ง การทำ CT

SCANNERS เป็นต้น

      

       ชนิดและอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี

 

      1.  รังสีแกมมา มีอำนาจการทะลุทะลวงมากและสามารถทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายได้

 

       2.  รังสีแอลฟาและรังสีเบต้า เป็นรังสีที่มีอนุภาคสามารถทำลายเนื้อเยื่อได้ดี ถึงแม้

จะมีอำนาจการทะลุทะลวงเท่ากับรังสีแกมมา แต่ถ้าหากรังสีชนิดนี้ไปฝังบริเวณเนื้อเยื่อ

ของร่างกายแล้ว ก็มีอำนาจการทำลายไม่แพ้รังสีแกมมา

       3.  รังสีเอ็กซ์ สามารถปล่อยประจุไฟฟ้าแรงสูงในที่สุญญากาศ อันตรายอาจจะเกิด

ขึ้น ถ้าหากรังสีเอ็กซ์รั่วไหลออกจากเครื่องมือและออกสู่บรรยากาศ สัมผัสกับรังสีเอ็กซ์

มากเกินไป เช่น จากหลอดเอ็กซ์เรย์ก็จะเกิดโรคผิวหนังที่มือ มีลักษณะหยาบ ผิวหนังแห้ง

มีลักษณะคล้ายหูด แห้งและเล็บหักง่าย ถ้าสัมผัสไปนาน ๆ เข้า กระดูกก็จะถูกทำลาย

       4.  รังสีที่สามารถมองเห็นและรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสีเหนือม่วง รังสีชนิดนี้จะไม่

ทะลุ ทะลวงผ่านชั้นใต้ผิวหนัง รังสีอัลตราไวโอเลตจะมีอันตรายรุนแรงกว่ารังสีอินฟราเรด

และจะทำให้ผิวหนังไหม้เกรียม และทำอันตรายต่อเลนซ์ตา คนทั่ว ๆ ไปจะได้รับรังสี

อัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์ ฉะนั้นคนที่ทำงานกลางแสงอาทิตย์แผดกล้าติดต่อกัน

เป็นระยะเวลานาน โอกาสที่จะเป็นเนื้องอกตามบริเวณผิวหนังที่ถูกแสงแดดในที่สุดก็จะ

กลายเป็น เนื้อร้ายหรือมะเร็งได้ รังสีอัลตราไวโอเลตจะมีอันตรายต่อผิวหนังมากขึ้น ถ้า

หากผิวหนังของเราไปสัมผัสกับสารเคมีบางอย่าง เช่น ครีโซล ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีความไว

ต่อแสงอาทิตย์มาก

       อันตรายจากกัมตภาพรังสีเทียบปริมาณรังสี มอลลีซีเวิร์ต

       1,000 มีอาการคลื่นเหียนและอ่อนเพลีย

       3,000  อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องเสีย เม็ดเลือดขาวลดลง ผมร่วง เบื่ออาหาร ตัว  

                  ซีด     คอแห้ง มีไข้ อายุสั้น อาจเสียชีวิตใน 3-6 สัปดาห์

       6,000  อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องร่วงภายใน 1-2 ชั่วโมง เม็ดเลือดลดลงอย่างรวด

                  เร็ว  ผมร่วง มีไข้ อักเสบบริเวณปาก และลำคออย่างรุนแรง มีเลือดออก มี

                 โอกาสเสียชีวิต 50% 4kp.o 2-6 สัปดาห์

       10,000 มีอาการเหมือนข้างต้น ผิวหนังพองบวม เสียชีวิต เสียชีวิตใน 2-3 สัปดาห์

   อนึ่ง  การป้องกันตัวจากสารกัมมันตภาพรังสี คือ การใส่ชุดป้องกันกัมมันตภาพรังสีหาก

ต้องอยู่ในพื้นที่ที่มการแพร่สารดังกล่าว ผู้ใดไม่มีชุดใส่ไม่ควรเข้าไปในบริเวณมี

กัมมันตภาพรังสี เพราะจะได้รับอันตรายถึงชีวิต

อย่างไรก็ตาม การกินไอโอดีนใน เวลามีเหตุรังสีรั่วไหลก็เพื่อป้องกันมะเร็งไทรอยด์เท่านั้น

โดยการกินไอโอดีนเข้าไปจะไปทำให้ร่างกายจับไอโอดีนไว้เต็มที่ เมื่อไอโอดีนรังสีเข้า

ร่างกายมา ร่างกายก็จะบอกว่าพอแล้ว ก็จะขับออกไป

ทว่า ไอโอดีนไม่สามารถต้านสารกัมมันตรังสีซีเซียมที่รั่วไหลออกมาจากโรงไฟฟ้า

นิวเคลียร์ได้ โดยประชาชนก็สามารถป้องกันสารกัมมันตรังสีได้ด้วยตัวเอง ด้วยการปิด

ประตูหน้าต่างให้สนิททั่วบ้าน ไม่เปิดแอร์ บริโภคอาหารและดื่มน้ำจากภาชนะที่ปิดแน่น

ห้ามอย่าออกนอกอาคารเด็ดขาด ถ้าจำเป็นต้องออกนอกอาคารก็ควรใช้ผ้าปิดจมูกหรือ

สวมหน้ากากป้องกันให้เรียบร้อย หลี่กเลี่ยงการถูกนํ้าฝนหากในพื้นที่นั้นมีการเผยแพร่ของ

สารกัมมันตรังสี

Credit: http://news.mthai.com
19 มี.ค. 54 เวลา 05:26 3,732 2 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...