ภาพชีวิต 80 ปี ท่านพุทธทาส ** ( ภาพที่ท่านหาดูยาก )

 

เมื่อคิดถึง พ่อ ก็อดที่จะคิดถึงคำสอนของพ่อไม่ได้
 
คำสอนที่พ่อได้รับการสั่งสมมาจาก
 
อ้างอิงภาพและข้อมูลจากหนังสือของ

เจ้าของกระทู้


ภาพชีวิต 80 ปี

พุทธทาสภิกขุ

มิติใหม่ของพระพุทธศาสนา


หลวงปู่ท่านพุทธทาส
 
...
 
หลวงปู่ท่านได้เคยให้หนังสือมาหลายเล่มทีเดียว
 
หนึ่งในหนังสือ เล่มหนึ่งคือ ..
 
..
 
..
 
 
ภาพชีวิต 80 ปี
พุทธทาสภิกขุ
 
..
 
ขออนุญาต นำมาเผื่อแผ่กัน ณ พื้นที่นี้ นะคะ
 
คิดว่าคงมีประโยชน์แก่ท่านไม่มากก็น้อยนะคะ







ภาพด้านล่างเหล่านี้ เป็นภาพที่ท่านอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน
เพราะว่าหนังสือเล่มนี้ ได้พิมพ์ เมื่อปี 2529
เมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้ว



ภาพด้านบน เป็นภาพเมื่อครั้งยังเยาว์
ซึ่งตอนนั้นหลวงปู่ท่านพุทธทาส อายุเพียง 4 ขวบเองค่ะ



ภาพที่สองนี้
เป็นภาพ โยมบิดา มารดา ของหลวงปู่ท่านพุทธทาสค่ะ
ท่านได้กล่าวถึงโยมทั้งสองของท่าน ในหนังสือไว้ว่า
 
..
โยมชายมีหัวทางช่างไม้ ซึ่งผมก็ชอบ ถ้าได้รับการอบรมคงจะดีมาก
คือว่าชอบ ทำมาก หลายๆอย่าง ในสวนโมกข์นี่เราทำกันเอง
ด้วยมือ ที่ติดมาอีกอย่างหนึ่งคือ แต่งกลอน แต่งโคลง
มีวิญญาณกวี ทำให้เราชอบมีหัวทางนี้
 
...
และท่านได้กล่าวถึง
 
โยมมารดา ของ่านไว้ว่า
 
..
 
" ถ้าจะให้บอกว่า มีอะไรมาจากโยมหญิงบ้าง เห็นจะจะเป็น
เรื่องประหยัด เรื่องละเอียดลออในการใช้จ่าย เวลาทำอะไร
 
โยมมักจะเตือนให้ทำในสิ่งที่ดีที่สุด ถ้าทำอะไรหยาบๆ
มักถูกทักท้วง โยมชายไม่ค่อยอยู่บ้าน โยมหญิง
อยู่ตลอดเวลา ผมจึงสนิทกับโยมหญิงมากกว่า "
 
...
 
..




ภาพที่สาม
ด้านบนสุดคือ เป็นภาพของครูคนแรกของหลวงปู่ท่านพุทธทาส
ชื่อ ครูปัติ ศรีสมัย
 
..
 
และภาพถัดมา คือภาพอาคารเรียนชั้นมัธยมศึกษา ของวัดเหนือในสมัยก่อน
ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการสุขาภิบาลตำบล เมื่อเด็กชายเงื่อม ( ท่านพุทธทาส)
จบชั้นประถมแล้ว ได้เข้าเรียนต่อมัธยมที่อาคารหลังนี้



ภาพที่สี่
.
 
เป็นภาพที่หลวงปู่ท่านพุทธทาส ได้บวชเรียนสมัยแรก เมื่อปี พ.ศ. 2469
 
.






..




ภาพที่ห้า
 
เป็นภาพที่หลวงปู่ท่านพุทธทาส ได้ถ่ายที่กรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2473
 
.
.



ภาพที่หก
 
เป็นภาพที่หลวงปู่ท่านพุทธทาส ได้ถ่ายภาพร่วมกับ
พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ ( วงค์ ลัดพลี)
ซึ่งเป็น พันธมิตรถาวรฝ่ายฆราวาส คนหนึ่งของสวนโมกข์
รู้จักสวนโมกข์ผ่านทางหนังสือพิมพ์ พุทธศาสนา
 
นอกจากจะสนับสนุนทุนในการจัดพิมพ์ เผยแพร่งานคิด
งานเขียนของท่านพุทธทาสแล้ว พระยาลัดพลี ฯ ยังเป็นเพื่อน
 
นักศึกษาของท่านพุทธทาสทางด้านฐูรพวิทยา ซึ่งเลยพ้นไปจาก
พุทธศาสนาในเมืองไทย อันได้แก่ เซน เต๋า กฤษณะมูรติ รวม
ทั้ง สวามีวิเวกนันทะ เป็นต้น
การที่ท่านพุทธทาส ประยุกต์คำสอนเซนเข้ามาในเถรวาทของไทย
จนถึงกับแปลคัมภีร์เว่ยหล่างออกมา ก็เพราะได้แรงกระตุ้น
จากสหายธรรมฆราวาสท่านนี้นี่เอง



ภาพที่ เจ็ด
เป็นภาพ พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ ( ปิ่น ปัทมสถาน )
เป็น ชนชั้นนำฝ่ายฆราวาสอีกท่านหนึ่ง ที่ติดตามและ
สนับสนุนท่านพุทธทาสมาตั้งแต่ต้น
ภาพนี้ถ่ายเมื่อ ต้นปี พ.ศ. 2496 พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์
(คือคนกลางที่ยืนข้างท่านพุทธทาส )
 
..
พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ เป็นข้าราชการชั้นสูงคนแรกที่ไปเยี่ยม
ท่านพุทธทาส เมื่อสวนโมกข์เพิ่งตั้งได้ปีสองปี ขณะนั้น
ท่านเป็นผู้พิพากษา หัวหน้าศาล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ท่านพุทธทาสได้กล่าวถึงท่านผู้นี้ ในภายหลังว่า
..
อาตมา ในฐานะเป็นมิตร เป็นสหาย เป็นเพื่อนกับ
คุณพระดุลยพากย์สุวมัณฑ์
ในฐานะ เป็นสหายเผยแพร่ธรรม นั้น อาตมากับคุณพระได้ร่มมือ
กันอยู่ตลอดเวลา จนถึงวาระสุดท้าย เมื่อคุณพระยังมีอำนาจอยู่
ในกระทรวงยุติธรรม ได้นิมนต์อาตมาแสดงธรรมพิเศษ แก่ข้าราชการ
ในกระทรวงยุติธรรม เรียกชื่อธรรมเทศนานั้นในครั้งนั้นว่า
ทุกขัปปนูทนกถา
มีผู้นำพิมพ์เผยแพร่ด่ๆไปเป็นอันมาก
ซึ่งเรียกว่า วิถีแห่งการบรรเทาทุกข์
 
คุณพระบอกว่า ที่ตรงนี้เป็นบัลลังก์ที่จัดขึ้น เพื่อกรณีสวรรคต
อาตมาก็ได้แสดงธรรมที่นั่น
ในฐานะ เป็นสหายนักศึกษา นี้เราแลกเปลี่ยนความรุ้กัน
ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง ก็คือว่า
เราเป็นลุกศิษย์ สมเด็จวัดเทพ ฯ ด้วยกัน
 
..
 



ภาพที่แปด
...ภาพนี้หลายคนคงจะไม่เคยเห็น
 
เป็นภาพของปู่ธรรมทาส( น้องแท้ๆของหลวงปู่ท่านพุทธทาส)
ภาพด้านบน คือภาพที่เป็นนายยี่เกย ในชุดนักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
 
เมื่อจบชั้นมัธยมแปดที่โรงเรียนนี้แล้ว ได้เข้าเรียนต่อในคณะอักษรศาสตร์
 
และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
( แผนกเตรียมแพทย์ศาสตร์ ปีที่ 1 )
เมื่อ พ.ศ. 2469 อันเป็นปีเดียวกับที่
พระเงื่อม (ท่านพุทธทาส) บวช เมื่อโรงเรียนปิดเทอม
ตอนสิ้นปีการศึกษา นายยี่เกยได้กลับมาเยี่ยมบ้าน และไม่กลับไปเรียนอีก
เพื่อจะได้ช่วยมารดาทำการค้าขาย เนื่องจากท่านพุทธทาสไม่ได้ลาสิกขาตาม
 
กำหนดเดิม นายยี่เกยได้เริ่มสนใจ การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาตั้งแต่
 
อยู่ในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะขบวนการของอนาคาริก
 
ธรรมปาละ เมื่อกลับมาอยู่บ้านนอกแล้ว ยังได้ติดต่อกับ
วารสารพุทธศาสนาภาษาอังกฤษจากต่างประเทศ
 
เช่น มหาโพธิ ของสมาคมมหาโพธิที่อินเดีย และวารสาร
ของพุทธสมาคมในอังกฤษ เป็นต้น



ภาพนี้ ท่านพุทธทาส ถ่ายเมื่อปี 2490
ที่สวนโมกข์แห่งใหม่


อ้างอิงภาพและข้อมูลจากหนังสือของ

เจ้าของกระทู้


ภาพชีวิต 80 ปี

พุทธทาสภิกขุ

มิติใหม่ของพระพุทธศาสนา

Credit: http://www.oknation.net/blog/roungkaw/2010/10/23/entry-4
18 มี.ค. 54 เวลา 23:14 5,802 4 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...