เมืองที่ร้าง เพราะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ในยุคโซเวียต มีการสร้างเมืองใหม่ขึ้นมามากมาย หนึ่งในนั้นก็คือเมืองปรีเปียต

หลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย เมืองใหม่มากมายถูกทิ้งร้างอย่างน่าเสียดาย ด้วยเหตุผลหลายอย่าง

แต่กรณีดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นกับเมืองปรีเปียต เพราะเมืองนี้ถูกทิ้งร้างไปก่อนหน้านั้นแล้ว





ปรีเปียต ซึ่งในยุครุ่งเรือง มีประชากรมากถึง 50,000 คน ต้องร้างเพราะพิษของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

มัน ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อปี 1970 เพื่อให้เป็นที่พักของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานกับโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเชอร์โนบิล ที่อยู่ห่างออกไป 18 กิโลเมตร

ปรี เปียตซึ่งอยู่ในยูเครน ติดกับพรมแดนเบลารุส มีสถานะเป็นเมืองอย่างเป็นทางการเมื่อ 1979 ถ้าคิดจนถึงปัจจุบันมันก็จะมีอายุ 30 ต้นๆเท่านั้น แต่เนื่องจากถูกทิ้งร้างในปี 1986 หลังเหตุการณ์โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลระเบิด ทำให้ศิริอายุของมันนับได้แค่ไม่ถึง 10 ปี





ก่อน ถูกทิ้งร้าง เมืองนี้มีสมาชิกเกิดใหม่ปีละ 800 คน บวกกับอีกปีละ 500 ที่อพยพมาจากที่อื่น จึงมีการมองกันว่า ไม่ช้าไม่นาน เมืองนี้น่าจะมีประชากรมากถึง 78,000 คน

แต่ทุกอย่างก็กลายเป็นอดีตไปเมื่อปลายเดือนเมษายน 1986 นั่นเอง เมื่อคนทั้งเมืองถูกสั่งอพยพให้แล้วเสร็จภายใน 2 วัน

ตาม สูตรแล้ว เมืองนี้ถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางการทหาร เพราะอยู่ใกล้เป้าหมายทางยุทธ ศาสตร์อย่างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่ในยุครุ่งเรือง ทางการโซเวียตก็ใจดี ไม่ได้ประกาศปิดเมือง ห้ามไม่ให้คนภายนอกเข้าไปเหมือนเช่นเมืองอื่นในระดับเดียวกัน





ซึ่ง ก็น่าจะเป็นเพราะโซเวียตต้องการแสดงให้โลกเห็นว่าพวกเขานำเอานิวเคลียร์มา ใช้ในทางสันติ และอยากจะโชว์โลกถึงความสำเร็จของพวกเขาในเรื่องนี้ เพราะในยุคนั้น โซเวียตถือว่าโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลเจ๋ง ถึงขั้นที่แต่เดิมมีดำริห์ให้สร้างติดกับกรุงเคี๊ยฟเมืองหลวงของยูเครนกันเลยทีเดียว แต่บางคนคัดค้าน ก็เลยย้ายออกไปราว 100 กิโลเมตร

นอก จากจะให้ปรีเปียตเป็นที่พักของเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าแล้ว ทางการก็ยังวางแผนให้มันทำหน้าที่เป็นท่าเรือสินค้าและชุมสายรถไฟสำหรับ พื้นที่เขตทางเหนือของยูเครนด้วย จึงมีการทุ่มทุนสร้างเมืองไปไม่น้อย





แต่ โดยรวมแล้ว เมืองนี้ก็เป็นเมืองแบบโซเวียตยุคใหม่นั่นแหละครับ อาคารส่วนมากมีรูปร่างทรงกล่องแนวนอน หน้าตาคล้ายๆกัน ไม่สูงมากนัก ไม่เน้นความสวยงามน่าดู ขอให้อยู่ได้เป็นพอ สำหรับชื่อสถานที่ต่างๆ ก็เอาเป็นว่า ถ้าคุณไปเมืองอื่นๆในโซเวียตก็ จะหาชื่อแบบนี้ได้เกือบทุกเมือง เช่นถนนเลนิน ถนนมิตรภาพ ถนนนานาชาติ ถนนวีรบุรุษแห่งเลนินกราด ถนนกรรมกร อะไรเทือกนั้น ก็เป็นชื่อแบบคอมมิวนิสต์นิยมจะหาชื่อหรูหราแบบในเมืองไทยนั้นไม่มี

สำหรับ สิ่งอำนวยความสะดวก ก็มีตามสภาพของสังคมคอมมิวนิสต์เขาแหละครับ เช่นศาลาประชาคม ศูนย์สรรพสินค้า ศูนย์นันทนาการ โรงอาหาร ร้านอาหาร และโรงแรม





ก่อน จะร้าง อายุเฉลี่ยของประชากรที่นี่คือ 26 ปี มีอาคารอพาร์ตเม้นต์ 160 อาคาร รวมอพาร์ตเม้นต์ 13,414 ยูนิต มีหอพัก 18 หอ สำหรับคนโสด 7,621 คน และ 8 หอสำหรับสามีภรรยา มีโรงเรียนประถม 15 โรง มัธยม 5 โรง และโรงเรียนอาชีวะ 1 โรง มีโรงพยาบาล 1 โรง รองรับผู้ป่วยได้ 410 คน และคลินิกอีก 3 แห่ง ( คลินิกฝรั่งนะครับ ใหญ่โตมโหฬารทีเดียว ไม่ใช่คลินิกแบบไทย ) มีร้านค้า ห้างสรรพสินค้า และโรงอาหาร 25 แห่ง คาเฟ่ คาเฟทีเรีย และร้านอาหารที่นี่สามารถรองรับผู้มาใช้บริการได้พร้อมกัน 5,535 คน มีโกดัง 10 แห่งที่สามารถเก็บสินค้าได้ 4,430 ตัน มีศูนย์วัฒนธรรม โรงหนัง โรงเรียนศิลปะอย่างละ 1 แห่ง มีโรงยิม 10 แห่ง สระว่ายน้ำในร่ม 3 แห่ง สนามกีฬา 2 สนาม และสนามยิงปืน 10 แห่ง มีโรงงาน 4 แห่ง





ปัจจุบัน ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ถูกทิ้งให้ขี้ฝุ่นจับเขรอะ และบุบสลายไปตามกาล ไร้คนกล้ามาเหลียวแล

จะมีแวะเวียนมาบ้าง ก็พวกเข้ามาพ่นสี ระบายสีตามผนัง สร้างความมันในอารมณ์เป็นครั้งคราว

แม้ จะมีสถานะเป็นเมืองร้าง แต่ก็ใช่ว่ามันจะไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง เพราะเมื่อระดับกัมมันตรังสีลดลง คนหัวใสก็คิดหากินกับมันโดยการจัดทัวร์ พานักท่องเที่ยวใจกล้า มาชมอดีตที่เคยรุ่งโรจน์ และจุดจบที่รุ่งริ่งของมัน











Credit: http://www.oknation.net/blog/russky/2011/03/15/entry-1
#เมืองร้าง
f-hady
ช่างเทคนิค
17 มี.ค. 54 เวลา 13:36 7,813 30 320
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...