ย้อนอดีต "สึนามิ" ถล่มทั่วโลก

สึนามิ ภัยธรรมชาติที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

        หากย้อนไปเมื่อครั้งที่เกิด คลื่นสึนามิ ในทะเลอันดามันครั้งที่รุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 โดยมีผู้คนเสียชีวิตถึงประมาณ 220,000 คน นับเป็นภัยทางธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 3 ของโลกเท่าที่มีการบันทึกไว้ โดยภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 เกิดจากพายุไซโคลนพัดผ่านประเทศบังกลาเทศ เมื่อ พ.ศ. 2513 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 3000,000 คน และภัยทางธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 2 เกิดจากแผ่นดินไหวทาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน เมื่อ พ.ศ. 2519 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 255,000 คน

 


         ในกรณีของประเทศไทย พิบัติภัยจากคลื่นสึนามิได้ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชนทั่วทั้ง ประเทศ เพราะมีการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนเป็นจำนวนมากใน 6 จังหวัดภาคใต้ที่มีพื้นที่อยู่ติดกับชายฝั่งทะเลอันดามัน  คือ ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล โดยเฉพาะที่จังหวัด พังงา กระบี่ และภูเก็ต มีการสูญเสียมากที่สุด เป็นพิบัติภัยทางธรรมชาติที่ เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยไม่มีผู้ใดคาดคิดมาก่อน จึงไม่ได้มีการ ระมัดระวังและป้องกันไว้ล่วงหน้า


ย้อนอดีต "สึนามิ" ถล่มทั่วโลก


6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช  เป็นคลื่นสึนามิใต้น้ำที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ

เกาะซานโตรินี่ ในปี 1650 ก่อน ค.ศ. คลื่นสึนามิจากภูเขาไฟระเบิดในเกาะซานโตรินี่ ซึ่งภูเขาไฟในเกาะซานโตรินี่ของกรีซระเบิดขึ้น ทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำ "สึนามิ" ที่มีความสูงตั้งแต่ 100 เมตรถึง 150 เมตร ซึ่งถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งทางด้านเหนือของเกาะครีต



   


เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เกิดแผ่นดินไหวในปี พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) ชาวโปรตุเกสจำนวนหลายหมื่นคนรอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ ลิสบอนในปี พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) แต่กลับต้องเสียชีวิตไปทันที ด้วยคลื่นสึนามิที่โถมเข้าทำลายหลังเกิดแผ่นดินไหวได้เพียงไม่กี่นาที

เกาะกรากะตัว ในประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงเมื่อปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) หินเหลวละลายใต้ปล่องภูเขาไฟถูกพ่นออกมาจำนวนมาก เกิดโพรงขนาดใหญ่ขึ้นใต้ดิน ทำให้พื้นแผ่นดินที่อยู่เบื้องบนและพื้นทะเลยุบตัวลง ส่งผลให้เกิดระลอกคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ขึ้น

สึนามิแปซิฟิก แผ่นดินไหวในหมู่เกาะอลิวเตียน ในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่ถาโถมเข้าสู่ฮาวายและอะลาสก้า ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 165 คน มหันตภัยสึนามิที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นส่งผลให้เกิดการก่อสร้างระบบเตือนภัย

สึนามิชิลี แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ชิลี มีระดับความรุนแรง 9.5 ริกเตอร์ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่สร้างความวิบัติหายนะอย่างรุนแรงที่สุดในคริสต์ ศตวรรษที่ 20


 

สึนามิกู๊ดฟราย์เดย์ แผ่นดินไหวกู๊ดฟรายเดย์ขนาด 9.2 ริกเตอร์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) ก่อให้เกิดคลื่นสินามิถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งอะลาสก้า, บริติช โคลัมเบีย, แคลิฟอร์เนียและชายฝั่งเมืองแปซิฟิกนอร์ธเวสต์ในสหรัฐอเมริกา ทำให้ประชาชนเสียชีวิต 122 คน

สึนามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย

สึนามิในเอเชียใต้ พ.ศ. 2067 (ค.ศ. 1524) - ใกล้เมือง Dabhol รัฐมหารัชตะ ประเทศอินเดีย
2 เมษายน พ.ศ. 2305 (ค.ศ. 1762) - ชายฝั่งอาระคัน ประเทศพม่า
16 มิถุนายน พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819 - Rann of Kachchh รัฐกุจาราช ประเทศอินเดีย
31 ตุลาคม พ.ศ. 2390 (ค.ศ. 1847) - หมู่เกาะนิโคบาร์ใหญ่
31 ธันวาคม พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881) - หมู่เกาะคาร์นิโคบาร์
26 สิงหาคม พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) - ภูเขาไฟกรากะตัวระเบิด
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - ชายฝั่ง Mekran บาลูจิสถาน

สึนามิในอเมริกาและแคริบเบียน

11 ตุลาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - เปอร์โตริโก
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) - นิวฟาวนด์แลนด์
4 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - สาธารณรัฐโดมินิกัน
18 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - สาธารณรัฐโดมินิกัน
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) - เกรท สเวลล์ในแม่น้ำเดลาแวร์
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) - มลรัฐเมน
9 มกราคม พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) - มลรัฐเมนอิง
19 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964)

 


ต่อไปนี้เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ทั่วโลก นับจากแผ่นดินไหวรุนแรงในมหาสมุทรอินเดียเมื่อปลายเดือน ธ.ค. 2547 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 220,000 ศพ และถูกบันทึกลงในหน้าประวัติศาสตร์ เป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดของโลก

26 ธ.ค. 2547 : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – แผ่นดินไหววัดแรงสั่นสะเทือนได้ 9.3 ริคเตอร์ ใต้ทะเลนอกชายฝั่งเกาะสมุตราของอินโดนีเซีย ทำให้เกิดคลื่นสึนามิกระหน่ำชายฝั่ง รอบมหาสมุทรอินเดีย ตัวเลขผู้เสียชีวิตมากกว่า 220,000 ศพ โดย 168,000 ศพในจำนวนดังกล่าว อยู่ในอินโดนีเซีย

17 ก.ค. 2549 : อินโดนีเซีย – แผ่นดินไหววัดได้ 7.7 ริคเตอร์ ใต้ทะเลนอกชายฝั่งเกาะชวาของอินโดนีเซีย คลื่นสึมามิพัดกระหน่ำชายฝั่ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 654 ศพ

2 เม.ย. 2550 : หมู่เกาะโซโลมอน – แผ่นดินไหวขนาด 8.0 ริคเตอร์ ในหมู่เกาะโซโลมอนตะวันตก ทำให้เกิดสึนามิ คร่าชีวิตประชาชนอย่างน้อย 52 ศพ และไร้ที่อยู่อาศัยหลายพันคน

29 ก.ย. 2552 : ซามัว – คลื่นสึนามิจากแผฟ่นดินไหวขนาด 8.0 ริคเตอร์ ทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และที่ท่องเที่ยวพักตากอากาศ บนเกาะซามัวเป็นจำนวนมาก รวมทั้งหมู่เกาะอเมริกันซามัว และเกาะตองกา ที่อยู่ใกล้เคียง ตัวเลขผู้เสียชีวิตมากกว่า 190 ศพ

27 ก.พ. 2553 : ชิลี – แผ่นดินไหวรุนแรง 8.8 ริคเตอร์ เข่าประเทศชิลี มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 521 ศพ สูญหาย 56 ราย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่แนวชายฝั่งทะเลของเมืองมาอูเล ห่างจากเมืองหลวงกรุงซันติอาโกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 400 กม.

25-26 ต.ค. 2553 : อินโดนีเซีย – มีผุ้เสีบชีวิตอย่างน้อย 112 ศพ และสูญหายกว่า 500 ราย จากสึนามิพัดกระหน่ำ หลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 7.7 ริคเตอร์ ในทะเลนอกชายฝั่งเกาะสุมาตรา

22 ก.พ. 2554 : นิวซีแลนด์ – แผ่นดินไหวรุนแรง วัดได้ 6.3 ริคเตอร์ เขย่าเมืองไครสต์เชิร์ช สร้างความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 ศพ ในจำนวนนี้รวมถึงนักศึกษาพยาบาลสาวไทย 6 ศพด้วย

10 มี.ค. 2554 : จีน – แผ่นดินไหวขนาด 5.8 ริตเตอร์ เขย่าพื้นที่มณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ติดพรมแดนประเทศพม่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 ศพ และบาดเจ็บอีก 174 คน

11 มี.ค. 2554 : ญี่ปุ่น – แผ่นดินไหววัดได้ 8.9 ริคเตอร์ ทำให้เกิดคลื่นสึนามิทรงพลัง กระหน่ำพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทางเหนือของประเทศญี่ปุ่น บางจุดเช่นที่เมืองท่าเซนได รายงานระบุว่าสึนามิสูงถึง 10 เมตร (33 ฟุต).
                                                                                                                   

      

  หากดูสถิติการเกิด "สึนามิ" เห็นได้ว่า ภัยธรรมชาตินี้เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การเตรียมความพร้อม สถานที่ปลอดภัย สัญญาณเตือนภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญในเบื้องต้นที่ทุกหน่วยงานต้องให้การสนับ สนุน ด้วยเพราะยังไม่มีตัวชี้วัดที่แน่นอนว่า "สึนามิ ภัยร้าย" จะเกิดขึ้น ณ เวลาใด




ขอบคุณข้อมูลจาก....สหวิชาดอทคอม/นสพ.เดลินิวส์

Credit: http://www.teenee.com/
15 มี.ค. 54 เวลา 14:31 6,579 2 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...