เตือน5 ปี พัทยาหายจากแผนที่???

เตือน5ปีพัทยาหายจากแผนที่

 

เตือน5ปีพัทยาหายจากแผนที่


วันนี้ (23ม.ค.) ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศน์เชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว ในการประชุมชี้แจงโครงการวางแผนแม่บทและสำรวจออกแบบเพื่อส่งเสริมทรายชายหาด พัทยา ว่า ขณะนี้ ชายหาดพัทยามีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก โดยมีสาเหตุจากตะกอนทรายที่เคยเติมให้อ่าวพัทยาจากตอนบนของลำน้ำลดน้อยลง การนำพาตะกอนของคลื่นมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการใช้ประโยชน์หรือกิจกรรมชายหาดที่เปลี่ยนไปในพื้นที่อ่าวพัทยา ล้วนส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายหาดพัทยารุนแรงมากขึ้น จากการศึกษาการกัดเซาะชายหาดพัทยาด้วยเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(Gis) และข้อมูลระยะไกล(RS) พร้อมกับการเปรียบเทียบข้อมูลภาพถ่ายปัจจุบันและภาพถ่ายในอดีตของสภาพชายหาด พัทยาและการลงพื้นที่สอบถามความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชายหาดจากชาวบ้านที่ อยู่ในพื้นที่มานาน พบว่า ปัจจุบันพื้นที่ชายหาดลดลงจากในอดีตมาก มีความกว้างชายหาดเหลือเพียง 4-5 เมตร นับเป็นวิกฤติการณ์กัดเซาะหนัก หากไม่รีบแก้ไขจะกระทบภาพลักษณ์เมืองท่องเที่ยว ส่งผลต่อรายได้และการประกอบการด้านการท่องเที่ยวแน่นอน เสนอแนวทางการแก้ไข โดยใช้หลักวิชาการผสานสภาพภูมิอากาศธรรมชาติ คืนทรายให้ชายหาดให้พัทยาอีกครั้ง

“จากการเปรียบเทียบข้อมูลของ พ.ศ.2495,2510,2517,2539 และ 2545 พบว่า ชายหาดพัทยา มีการกัดเซาะที่รุนแรงในพื้นที่ตั้งแต่พัทยาเหนือถึงพัทยาใต้ระยะทางทั้ง สิ้น 2.7 กิโลเมตรจากชายหาดที่มีความสวยงามมากในปี พ.ศ.2495 มีพื้นที่หน้าหาดทั้งสิ้น 96,128.4 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 60 ไร่ ความกว้างเฉลี่ยของหน้าหาด 35.6 เมตร เทียบกับ พ.ศ.2545 เหลือพื้นที่หน้าหาด 50,500.7 ตารางเมตร หรือประมาณ 31 ไร่ ความกว้างหน้าหาด 18.7 เมตร กับข้อมูลจากการสำรวจล่าสุด พบว่าความกว้างหน้าหาดเหลือเพียง 4-5 เมตรเท่านั้น แม้ว่าเหตุการณ์กัดเซาะชายหาดจะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่หากไม่มีการช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางสภาวะแวดล้อมเชื่อว่าอีกไม่เกิน 5 ปี ชายหาดพัทยาจะหายไปทั้งหมด การสร้างโครงป้องกันชายหาด จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติการกัดเซาะได้” นักวิชาการ จุฬาฯ กล่าวและว่า
ขณะ นี้ ทางกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้ร่วมมือกับ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศน์เชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการวางแผนแม่บทและสำรวจออกแบบเพื่อเสริมทรายบูรณะชายหาดพัทยา จังหวัดชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ชายหาดพัทยาเหนือ ตั้งแต่โรงแรมดุสิตรีสอร์ท ถึงชายหาดพัทยากลาง ระยะทาง 1,300 เมตร ช่วงที่ 2 จากชายหาดพัทยากลางถึงชายหาดพัทยาใต้ ระยะทาง 1,400 เมตร และช่วงที่ 3 ตั้งแต่ชายหาดพัทยาใต้ถึงแหลมบาลีฮาย ระยะทาง 1,780 เมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 4.48 กิโลเมตร โดยการใช้โครงสร้างแบบอ่อน คือการนำทรายที่ถูกกัดเซาะออกไปอยู่นอกชายฝั่งให้กลับมาโดยการเติมทราย ประมาณ 2 แสนคิวบริเวณหัวหาดหรือท้ายหาด(แล้วแต่ว่าช่วงที่ดำเนินการเติมทรายลมมรสุม พัดไปในทิศทางใด) แล้วอาศัยคลื่นลมธรรมชาติให้พัดทรายเข้าสู่หาดพร้อมกับรักษาสมดุลของหาดทราย ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งวิธีนี้ จะสามารถทำให้มีพื้นที่ชายหาดเพิ่มเป็น 30 เมตร และจะถูกกัดเซาะไปในระยะเวลา 10-15 ปี แล้วเติมทรายอีกครั้ง วิธีนี้จะทำให้คงสภาพความสวยงามของชายหาดตามธรรมชาติหรืออีกวิธีหนึ่งคือการ สร้างโครงสร้างยื่นเข้าลงทะเลในพื้นที่หัวหาดและท้ายหาดพร้อมกับการเติมทราย และอาศัยธรรมชาติดังเช่นแบบแรก จะสามารถเพิ่มพื้นที่ชายหาด และรักษาพื้นที่ชายหาดไว้ในระยะเวลา 20-25 ปี แล้วจึงเติมทรายเข้าไปอีกครั้ง ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้หลายประเทศใช้และได้ผลเป็นที่น่าพอใจทั้งในญี่ปุ่น สเปน หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์
“ปัจจุบันการเติมทรายเป็น วิธีที่ได้รับความนิยมเห็นผลชัดเจน และมีผลกระทบกับธรรมชาติน้อยที่สุด เพราะทรายที่จะนำมาเติมนั้น จะเป็นทรายจากชายหาดเดิมที่ถูกกัดเซาะและพัดออกไป จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่าทรายเดิมของชายหาดพัทยาถูกพัดไปอยู่บริเวณเกาะ ล้าน ซี่งทางคณะนักวิจัยจะมีการสำรวจทรายเพิ่มเติม อย่างไรก็ดีนับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีของความร่วมมือระหว่าง กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศน์เชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเมืองพัทยา ที่จะได้ร่วมกันคืนทรายจากชายหาดที่หายไปให้กลับมาสู่ชายหาดเมืองพัทยาอีก ครั้ง ซึ่งหลังจากนี้ทางคณะวิจัยจะทำการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลง และผลกระทบของโครงการต่อสภาพแวดล้อมและชุมชน พร้อมกับการลงพื้นที่ให้ความรู้กับประชาชนและทำประชามติกับคนในชุมชนซึ่ง เป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และเป็นผู้เลือกวิธีการแก้ไขที่ดีที่สุดสำหรับชุมชนของตน ส่วนตัวคาดว่าการดำเนินการศึกษาทั้งหมดจะสามารถแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน พ.ศ.2554 และหากขั้นตอนต่างๆ ผ่านความเห็นชอบและได้รับการอนุมัติจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว จะใช้เวลาในการเติมทราย 1 ปี ชายหาดพัทยาจะกลับมามีสภาพดังเช่นปีพุทธศักราช 2495 ช่วยสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวและยังคงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของนัก ท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ต่อไป ” ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

ข้อมูลดีๆ จากหนังสือพิมพฺเดนินิวล์

No tags for this post.

Credit: สาระน่ารุ้ดอดคอม
#แผนที่ #ชายหาด
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
15 มี.ค. 54 เวลา 06:11 2,483 8 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...