หมู่บ้านมรดกโลก...ชิราคาวาโกะ (Shirakawa-go) หมู่บ้านในนิทานที่แสนงดงาม

 

1.

บทความและภาพคัดลอกมากจาก  http://cherokee.exteen.com/

ขอบคุณ...คุณ Cherokee มา ณ โอกาสนี้ด้วยนะคะ...

 

2.
สวัสดีครับ หน้าหนาวกำลังจะผ่านไป หน้าร้อนกำลังเข้ามาแทนที่
วันนี้เรามาชมหมู่บ้านที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะในฤดูหนาวจนขาวโพลน
ราวกับหมู่บ้านในนิทาน  หมู่บ้านที่ว่านี้อยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ชื่อว่าหมู่บ้านชิราคาวาโกะ (Shirakawa-go)

3.
หมู่บ้านชิราคาวาโกะตั้งอยู่บนภูเขาในเขตจังหวัดกิฟูและโทยามา
(Gifu and Toyama Prefectures) ทางตอนกลางของเกาะฮอนชู  
ประกอบไปด้วยบ้านเรือนรูปร่างแปลกตาที่มีอายุเก่าแก่กว่า 200-300 ปี
กระจายไปในแนวเหนือ-ใต้ ตามที่ราบแคบ ๆ ที่ขนานไปกับแม่น้ำโชกาวะ (Shokawa River)

 

 

4.

เนื่องจากทำเลที่ตั้งอยู่ในหุบเขาที่มีภูเขาสูงล้อมรอบทุกด้านถูกตัดขาด
จากโลกภายนอก  ชาวบ้านแถบนี้จึงพัฒนาสังคมและวิถีชีวิตที่แตกต่าง
จากชุมชนอื่นในญี่ปุ่นมาช้านาน

 

5.

หมู่บ้านแห่งนี้มีสิ่งที่แปลกตาคือหลังคาทรงสูงที่มีความชันมากถึง 60 องศา
กับพื้นดิน จนดูเหมือนคนพนมมือภาษาญี่ปุ่นจึงเรียกสถาปัตยกรรมแบบนี้
ว่าเป็นรูปแบบกัสโช (Gassho-zukuri) ซึ่งแปลว่าสร้างแบบพนมมือ 
ด้านหน้าทำเป็นหน้าจั่วแบบบ้านทรงไทย มีการเจาะช่องหน้าต่าง
เพื่อรับแสงสว่างจากภายนอก และเป็นการระบายอากาศให้ถ่ายเท
จากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง  เมื่อมองจากภายนอกจึงดูมีสัดส่วนสวยงาม

 

 

6.

ในฤดูหนาวมีหิมะตกหนักมาก ชาวบ้านจึงสร้างหลังคาทรงแหลมสูงลาด
ลงด้านข้างทั้งสองของบ้านช่วยให้หิมะและน้ำฝนไหลลงมาตามหลังคา
ไม่เกาะค้างบนหลังคาเป็นเวลานาน ๆ หิมะจะได้ไม่กองท่ว

 

 

 

7.

หิมะที่ตกหนักจะไหลลงมาจากหลังคามากองรอบบ้าน จะทำหน้าที่เป็นฉนวน
กันความเย็นและลมหนาวได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

8.

นอกจากนี้บ้านส่วนใหญ่ยังหันหน้าไปทางเดียวกันตามทิศทางลม
เพื่อช่วยให้บ้านเย็นสบายในฤดูร้อน และสร้างความอบอุ่นในฤดูหนาว

 

 

 

 

 

9.

วัสดุที่ใช้มุงหลังคาเป็นวัสดุท้องถิ่นที่หาได้ไม่ยากในแถบนั้น ประกอบด้วย
เศษไม้ ต้นไผ่ ดินเหนียว หญ้าคา  หลังคาอาจมีความหนาถึง 1 เมตร 
เพื่อรองรับน้ำหนักหิมะและป้องกันไม่ให้น้ำซึมทะลุหลังคาเข้ามาในบ้าน
ทำให้หลังคาไม่ต้องเปียกน้ำเป็นเวลานาน ๆ จนทำให้ผุพังเร็ว

 

10.

จุดเด่นอีกอย่างคือไม่มีการใช้ตะปูในการมุงหลังคา  แต่ใช้วิธีแบบธรรมชาติ
คือใช้ไม้ขัดกัน และใช้เชือกมัดให้แน่น

 

 

11.

เนื่องจากหลังคาพวกนี้ทำจากวัสดุธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่
อยู่บ่อย ๆ  การมุงหลังคาใหม่จะทำในช่วงฤดูใบไม้ผลิหลังจากหิมะละลาย
หมดแล้ว  ในปัจจุบันบ้านแต่ละหลังต้องมุงหลังคาใหม่ทุก 25-35 ปี 
การมุงหลังคาต้องอาศัยแรงชาวบ้านประมาณ 100-200 คน
เหมือนการลงแขกเกี่ยวข้าวของไทย  และใช้เวลาเพียงวันเดียว
สำหรับบ้าน 1 หลัง  ทุกปีจะมีบ้าน 2-3 หลังที่ต้องมุงหลังคาใหม่
เป็นการถ่ายทอดวิธีมุงหลังคาจากรุ่นสู่รุ่นสืบทอดกันมาเป็นประจำทุกปี

 

12.

ในหน้าร้อนช่วงเช้า ต้องมีการฉีดน้ำขึ้นไปบนหลังคาเพื่อป้องกันไฟไหม้

 

 

13.

ในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ จะมีการเปิดไฟ
ตอนเย็นช่วงสุดสัปดาห์ ๆ ละ 1 วัน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
ส่วนจะเปิดวันไหนบ้างต้องติดตามจากเว็ปไซต์

 

14.

ภายใต้หลังคาทรงสูง จะแบ่งเป็นชั้น ๆ ตั้งแต่ 2-4 ชั้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย
ชั้นล่างเป็นที่อยู่อาศัย เนื่องจากมีพื้นที่มากพอในบ้าน ทำให้ชาวบ้านอยู่กัน
แบบครอบครัวขยาย ทุกคนในครอบครัวอาศัยอยู่รวมกันหมดในหลังเดียว 
ส่วนชั้นบนใช้เป็นที่เก็บของและเลี้ยงไหม  ชุมชนแห่งนี้ในอดีต
(และปัจจุบันสำหรับบางบ้าน) ยังชีพด้วยการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

 


ก่อนหน้านี้หมู่บ้านชิราคาวาโกะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของโลกภายนอก
แม้แต่คนญี่ปุ่นเอง ชาวบ้านอยู่กันอย่างสงบ ในปี พ.ศ. 2467 มีบ้านเรือน
แบบกัสโชนี้ถึง 300 หลังคาเรือน  ต่อมามีการสร้างเขื่อนและตามมาด้วยผล
จากสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ในปี พ.ศ. 2504 บ้านเรือนทรงดังกล่าวลด
เหลือ 191 หลัง  และปัจจุบันเหลือเพียง 114 หลังเท่านั้น แต่ก็มีความพยายาม
ในการอนุรักษ์จากคนรุ่นใหม่ โดยมีคำขวัญว่า “ไม่รื้อ ไม่ขาย ไม่เช่า”
และชี้ให้เห็นความสำคัญถึงการอนุรักษ์บ้านเรือนที่มีเอกลักษณ์แบบนี้


ในปี พ.ศ.2538  หมู่บ้านชิราคาวาโกะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
โดยองค์การยูเนสโก้   ทำให้หมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
แห่งใหม่ขึ้นในพริบตา บ้านเรือนต่าง ๆ แปรสภาพกลายเป็นร้านขายของ
ที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว เป็นร้านอาหาร พิพิธภัณฑ์ บ้านพักค้างคืน
ต้องคอยติดตามชมว่าหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งนี้จะรักษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่
แบบเรียบง่ายไว้ได้อีกนานเท่าใด ท่ามกลางกระแสการท่องเที่ยวที่หลั่งไหล
เข้ามามากขึ้น ๆ โดยเฉพาะทัวร์นำเที่ยวจากไทยที่เปิดเส้นทางนี้
ให้เป็นที่รู้จักเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง และกลายเป็นกระแสในหมู่นักท่องเที่ยว
ที่ชื่นชอบประเทศญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว
 
 
 
สำหรับการเดินทางมาหมู่บ้านนี้ทำได้หลายทาง  สามารถนั่งรถไฟ
จากโอซากาหรือนาโงยาไปลงที่เมืองคานาซาวา (Kanazawa)
แล้วต่อรถบัสประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาทีถึงหมู่บ้าน หรือจากนาโงยา
นั่งรถไฟเข้าเมืองทาคายามา (Takayama) แล้วต่อรถบัส
อีกประมาณ 50 นาที


http://www.nouhibus.co.jp/english/shirakawago_kanazawa.html


 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

Credit: http://atcloud.com/stories/94005
13 มี.ค. 54 เวลา 09:29 4,643 5 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...