กระทั่งอายุได้ 13 ปี 'อิ๊คคิวซัง' จึงมีโอกาสเข้าพบแม่ทัพใหญ่ในยุคนั้น คือ 'อาซิคะงะโยชิมิสึ'
เป็นแม่ทัพคนเดียวกับที่ปรากฎในการ์ตูนคือ 'ท่านโชกุน'นั่นเอง
เมื่ออายุได้ 17 ปี 'อิ๊กคิวซัง' ออกจากวัดอังโกะกุจิแล้วไปฝากตัวเป็นศิษย์ของ 'หลวงพ่อเคนโอ' ที่วัดไซกอนจิ พร้อมได้ฉายา 'โชจุน'
ที่วัดแห่งนี้ หลวงพ่อเคนโอ เน้นการปฏิบัติธรรม โดยพระและเณรในวัด ต้องทำงานหนัก และอยู่กับสิ่งสกปรกเสียส่วนใหญ่
เมื่อหลวงพ่อเคนโอมรณภาพ
'อิ๊กคิวซัง' จึงเดินทางไปวัดอิชิยามา และปฏิบัติธรรมด้วยการอดอาหาร 7 วัน 7 คืน พร้อมสวดมนต์อุทิศส่วนบุญส่วนกศลให้อาจารย์ต่อหน้าพระโพธิสัตว์
มีเรื่องเล่ากันว่า การมรณภาพของหลวงพ่อเคนโอ ทำให้อิ๊คคิวซังเสียใจมาก ถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย
'อิ๊คคิวซัง' ตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการเดินลงไปในแม่น้ำเซตะ พร้อมตั้งจิตอธิษฐานจิตว่า
'ถ้าพระโพธิสัตว์ต้องการให้ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ ก็ขอให้ข้าพเจ้าฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ แต่หากชีวิตข้าพเจ้าไร้ซึ่งคุณค่าเสียแล้ว ข้าพเจ้าขออุทิศสังขารให้เป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำ'
ระหว่างที่ดำดิ่งลงในท้องน้ำ 'อิ๊กคิวซัง' พลันนึกถึงใบหน้า 'ท่านแม่' และรำลึกถึงคำสอนของท่านขึ้นมา
คำสอนนั้นคือ 'เป็นลูกผู้ชายต้องไม่ย่อท้อ'
'อิ๊กคิวซัง' จึงตะเกียกตะกายกลับขึ้นฝั่ง
เมื่อท่านอายุได้ 23 ปี 'อิ๊คคิวซัง' จึงไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อคะโซ แห่งวัดโคอัน พร้อมได้ฉายาใหม่เป็น 'พระโซจุน'
หลวงพ่อคะโซ เป็นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ แต่พอใจที่จะใช้ชีวิตอย่างสมถะและพอใจในวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและหนักหน่วง
ดังนั้น เมื่อมาอยู่ที่วัดแห่งนี้ อิ๊กคิวซังจึงต้องทำงานทั้งวัน และปฏิบัติธรรมอย่างหนักหน่วง
นอกจากใช้แรงงานในวัดแล้ว อิ๊กคิวซังยังต้องสานรองเท้า เย็บเสื้อผ้าตุ๊กตาผู้หญิง รวมทั้งออกไปขายแรงงานในหมู่บ้านละแวกนั้น
ที่สำคัญคือ อิ๊คคัวซังโดนพระรุ่นพี่ที่ไม่ชอบหน้ากลั่นแกล้ง ทำร้าย เตะต่อยอยู่เสมอ แต่ท่านก็อดทน
ในที่สุด ความเพียรพยายามที่จะค้นหาสัจธรรมของท่านอิ๊คคิววังก็สำเร็จ
โดยสามารถแก้ปริศนาธรรมที่หลวงพ่อคะโซตั้งไว้ได้ขณะมีวัยเพียง 25 ปีเท่านั้น
และ 'พระโชจุน' ก็ได้รับฉายาใหม่ว่า 'อิ๊กคิว โซจุน' ซึ่งหมายความว่า 'รู้พ้นจากโลกสมมติตามบัญญัติของลัทธิเซน'
รูปปั้นอิ๊คคิวที่วัด Ikkyuji Temple
วัดคิมิโอชิ
โดยส่วนตัว 'อิ๊กคิวซัง' ก็คบหาและปฏิบัติกับโสเภณีอย่างเปิดเผยสุภาพและให้เกียรติ
ท่านเคยแบ่งส้มจากบาตรให้โสเภณีอดอยากทาน
เคยปีนเขาเสี่ยงตายไปหาสมุนไพรมารักษาโสเภณีที่ป่วยหนักแม้ว่าจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา
กระทั่งเมื่อท่านอายุได้ 75 พรรษา ระหว่างที่ธุดงค์เร่ร่อนหลบภัยสงครามในประเทศไปอยู่ที่เมืองซึมิโยชิ
ท่านได้พบกับ 'โมริ' ศิลปินขอทานตาบอด และท่านได้รับนางเป็นภรรยา
ทั้งคู่ได้ใช้ชีวิตร่วมกันคืนเดียว 'โมริ' ก็หนีไปเพราะเกิดความอับอายและเกรงว่าตนจะทำให้ท่านอิ๊กคิวซังเสื่อมเสียชื่อเสียง
แต่นางก็กลับมาหาอิ๊กคิวอีกหน เพราะไม่สามารถดำรงชีวิตลำพังได้ในสภาวะสงคราม
เมื่ออายุได้ 85 ปี จักรพรรดิทรงแต่งตั้งให้ 'อิ๊กคิวซัง' เป็นเจ้าอาวาสวัดไดโตะกุจิ ซึ่งเป็นวัดหลวงที่สำคัญที่สุดในสมัยนั้น เมื่อไม่สามารถขัดพระราชประสงค์ได้ อิ๊กคิวซังจึงยอมรับตำแหน่ง
แต่ท่านรับตำแหน่งเพียงแค่วันเดียวก็ลาออก และกลับไปอยู่วัดเมียวโชจิ ที่ท่านสร้าง
'อิ๊คคิวซัง' มรณภาพหลังจากกลับมาอยู่วัดเมียวโชจิได้เพียง 2 ปี
โดยท่านป่วยเป็นมาลาเรีย และละสังขารในท่านั่งสมาธิในอ้อมกอดของโมริ ภรรยาของท่าน
ในเวลา 21 พฤศจิกายน ค.ศ.1481(พ.ศ.2024)
'อิ๊คคิวซัง' มรณภาพเมื่ออายุ 88 ปี