โลกของเรา

โลก
 
 
 
โลก เดอะบลูมาร์เบิล, ถ่ายจากยานอะพอลโล 17 สถิติทางสังคมมนุษย์ พื้นที่เมืองที่มีประชากรมากที่สุด โตเกียว, เม็กซิโกซิตี, โซล, นิวยอร์ก, เซาเปาลู, มุมไบ ภาษา
(ประมาณการ พ.ศ. 2543) จีนกลาง 14.37%,
ฮินดี 6.02%,
อังกฤษ 5.61%,
สเปน 5.59%,
เบงกาลี 3.4%,
โปรตุเกส 2.63%,
รัสเซีย 2.75%,
ญี่ปุ่น 2.06%,
เยอรมัน 1.64%,
เกาหลี 1.28%,
ฝรั่งเศส 1.27%,
ภาษาอื่น ๆ ศาสนา
(ประมาณการ พ.ศ. 2543) คริสต์ 32.71%,
อิสลาม 19.67%,
ฮินดู 13.28%,
พุทธ 5.84%,
ไม่นับถือศาสนาใด 14.84%,
ศาสนาอื่น ๆ 13.05% ประชากร (ประมาณการ 9 มี.ค. 2548)  - ทั้งหมด 6,423,457,263 คน สกุลเงิน ดอลลาร์สหรัฐฯ, เยนญี่ปุ่น, ยูโร, ปอนด์สเตอร์ลิง, อื่น ๆ จีดีพี (ประมาณการ พ.ศ. 2546)  -PPP 51,656,251,000,000 IND   ต่อหัว 8,236 IND  -Nominal 36,356,240,000,000 USD   ต่อหัว 5,797 USD ลักษณะเฉพาะของวงโคจร (จุดเริ่มยุค J2000) กึ่งแกนเอก 149,597,887 km
(1.000 000 11 หน่วยดาราศาสตร์) เส้นรอบวงของวงโคจร 0.940 Tm
(6.283 หน่วยดาราศาสตร์) ความเยื้องศูนย์กลาง 0.016 710 22 จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด 147,098,074 km
(0.983 289 9 หน่วยดาราศาสตร์) จุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด 152,097,701 km
(1.016 710 3 หน่วยดาราศาสตร์) คาบการโคจร 365.256 96 วัน
(1.000 019 1 ปีจูเลียน) คาบซินอดิก n/a อัตราเร็วเฉลี่ยในวงโคจร 29.783 km/s อัตราเร็วสูงสุดในวงโคจร 30.287 km/s อัตราเร็วต่ำสุดในวงโคจร 29.291 km/s ความเอียง 0.000 05°
(7.25° กับระนาบศูนย์สูตรดวงอาทิตย์) ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น 348.739 36° ระยะมุมจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด 114.207 83° จำนวนดาวบริวาร 1 (ดวงจันทร์), แต่ดู ดาวเคราะห์น้อย 3753 ครูอีนยา ด้วย   ลักษณะเฉพาะทางภายภาพ เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวศูนย์สูตร 12,756.28 km เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้ว 12,713.56 km เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 12,742.02 km ความแป้น 0.003 35 เส้นรอบวงตามแนวศูนย์สูตร 40,075 km เส้นรอบวงตามแนวขั้ว 40,008 km พื้นที่ผิว 510,067,420 km² ปริมาตร 1.0832×1012 km³ มวล 5.9736×1024 kg ความหนาแน่น 5.515 g/cm³ ความโน้มถ่วงที่ศูนย์สูตร 9.780 m/s² 1
(0.997 32 จี) ความเร็วหลุดพ้น 11.186 km/s คาบการหมุนรอบตัวเอง 0.997 258 วัน (23.934 ชั่วโมง) ความเร็วการหมุนรอบตัวเอง 1674.38 km/h = 465.11 m/s
(ที่เส้นศูนย์สูตร) ความเอียงของแกน 23.439 281° ไรต์แอสเซนชัน
ของขั้วเหนือ 0° (0 ชั่วโมง 0 นาที 0 วินาที) เดคลิเนชัน 90° อัตราส่วนสะท้อน 0.367 อุณหภูมิพื้นผิว
- ต่ำสุด
- ปานกลาง
- สูงสุด
185 K (-88 C)
287 K (14 C)
331 K (58 C) ความกดบรรยากาศพื้นผิว 100 kPa   ลักษณะเฉพาะของบรรยากาศ ไนโตรเจน 77% ออกซิเจน 21% อาร์กอน 1% คาร์บอนไดออกไซด์ เบาบาง ไอน้ำ เบาบาง

โลก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน (4.57×109) ปีก่อน และหลังจากนั้นไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่ครองโลกในปัจจุบันนี้คือมนุษย์

โลก มีลักษณะเป็นทรงวงรี โดย ในแนวดิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน 44 กม. มีพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71% และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29 % แกนโลกจะเอียง 23.5 องศา

สัญลักษณ์ของโลกประกอบด้วยกากบาทที่ล้อมด้วยวงกลม โดยเส้นตั้งและเส้นนอนของกากบาทจะแทนเส้นเมอริเดียนและเส้นศูนย์สูตรตามลำดับ สัญลักษณ์อีกแบบของโลกจะวางกากบาทไว้เหนือวงกลมแทน (ยูนิโคด: ⊕ หรือ ?)

โครงสร้างและองค์ประกอบ รูปร่าง

โลกมีรูปทรงคล้ายทรงกลมแบนขั้ว หมายความว่ามีรูปทรงคล้ายทรงกลม แต่บริเวณขั้วโลกทั้งสองแบนเล็กน้อย และโป่งออกทางเส้นศูนย์สูตร ความยาวรอบโลกประมาณ 40,000 กิโลเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12,700 กิโลเมตร จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกคือยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ซึ่งมีความสูง 8,848 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนจุดที่ลึกที่สุดในโลกคือร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ซึ่งมีความลึก 10,911 เมตรจากระดับน้ำทะเล เนื่องจากโลกมีลักษณะโป่งออกทางตอนกลางคือเส้นศูนย์สูตร ทำให้จุดที่ห่างไกลจากจุดศูนย์กลางโลกคือยอดเขาชิมโบราโซ ในประเทศเอกวาดอร์

โครงสร้าง

เปลือกโลก

เปลือกโลก (crust) เป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความหนาประมาณ 60-70 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นชั้นที่บางที่สุดเมื่อเปรียบกับชั้นอื่นๆ เสมือนเปลือกไข่ไก่หรือเปลือกหัวหอม เปลือกโลกประกอบไปด้วยแผ่นดินและแผ่นน้ำ ซึ่งเปลือกโลกส่วนที่บางที่สุดคือส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร ส่วนเปลือกโลกที่หนาที่สุดคือเปลือกโลกส่วนที่รองรับทวีปที่มีเทือกเขาที่สูงที่สุดอยู่ด้วย นอกจากนี้เปลือกโลกยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ

ชั้นที่หนึ่ง: ชั้นหินไซอัล (sial) เป็นเปลือกโลกชั้นบนสุด ประกอบด้วยแร่ซิลิกาและอะลูมินาซึ่งเป็นหินแกรนิตชนิดหนึ่ง สำหรับบริเวณผิวของชั้นนี้จะเป็นหินตะกอน ชั้นหินไซอัลนี้มีเฉพาะเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปเท่านั้น ส่วนเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทะเลและมหาสมุทรจะไม่มีหินชั้นนี้ ชั้นที่สอง: ชั้นหินไซมา (sima) เป็นชั้นที่อยู่ใต้หินชั้นไซอัลลงไป ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ประกอบด้วยแร่ซิลิกา เหล็กออกไซด์และแมกนีเซียม ชั้นหินไซมานี้ห่อหุ้มทั่วทั้งพื้นโลกอยู่ในทะเลและมหาสมุทร ซึ่งต่างจากหินชั้นไซอัลที่ปกคลุมเฉพาะส่วนที่เป็นทวีป และยังมีความหนาแน่นมากกว่าชั้นหินไซอัล
รูปตัดฉาบของโลกจากบรรยากาศชั้นเอ็กโซสเฟียร์ลงลงมา
แมนเทิล

แมนเทิล (mantle หรือ Earth's mantle) คือชั้นที่อยู่ถัดจากเปลือกโลกลงไป มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร บางส่วนของหินอยู่ในสถานะหลอมเหลวเรียกว่าหินหนืด (Magma) ทำให้ชั้นแมนเทิลนี้มีความร้อนสูงมาก เนื่องจากหินหนืดมีอุณหภูมิประมาณ 800 - 4300°C ซึ่งประกอบด้วยหินอัคนีเป็นส่วนใหญ่ เช่นหินอัลตราเบสิก หินเพริโดไลต์

แก่นโลก

ความหนาแน่นของดาวโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม. ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ แต่ถ้าวัดเฉพาะความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นผิวโลกแล้ววัดได้เพียงแค่ 3,000 กก./ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดข้อสรุปว่า ต้องมีวัตถุอื่นๆ ที่หนาแน่นกว่าอยู่ในแก่นโลกแน่นอน ระหว่างการเกิดขึ้นของโลก ประมาณ 4.5 พันล้านปีมาแล้ว การหลอมละลายอาจทำให้เกิดสสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าไหลเข้าไปในแกนกลางของโลก ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าคลุมเปลือกโลกอยู่ ซึ่งทำให้แก่นโลก (core) มีองค์ประกอบเป็นธาตุเหล็กถึง 80%, รวมถึงนิกเกิลและธาตุที่มีน้ำหนักที่เบากว่าอื่นๆ แต่ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นสูงอื่นๆ เช่นตะกั่วและยูเรเนียม มีอยู่น้อยเกินกว่าที่จะผสานรวมเข้ากับธาตุที่เบากว่าได้ และทำให้สสารเหล่านั้นคงที่อยู่บนเปลือกโลก แก่นโลกแบ่งได้ออกเป็น 2 ชั้นได้แก่

แก่นโลกชั้นนอก (outer core) มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2,900 - 5,000 กิโลเมตร ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย และมีความร้อนสูง มีอุณหภูมิประมาณ 6200 - 6400 มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 12.0 และส่วนนี้มีสถานะเป็นของเหลว แก่นโลกชั้นใน (inner core) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 4,300 - 6,200 และมีความกดดันมหาศาล ทำให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 17.0 สภาพบรรยากาศ

สภาพอากาศของโลก คือ การถูกห่อหุ้มด้วยชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชั้น ได้แก่

โทรโพสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 0-10 กิโลเมตรจากผิวโลก บรรยกาศมีไอน้ำ เมฆ หมอกซึ่งมีความหนาแน่นมาก และมีการแปรปรวนของอากาศอยู่ตลอดเวลา สตราโตสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 10-35 กิโลเมตรจากผิวโลก บรรยากาศชั้นนี้แถบจะไม่เปลื่ยนแปลงจากโทรโพสเฟียร์ยกเว้นมีผงฟุ่นเพิ่มมาเล็กน้อย เมโสสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่35-80 กิโลเมตร จากผิวโลก บรรยากาศมีก๊าซโอโซนอยู่มากซึ่งจะช่วยสกัดแสงอัลตร้า ไวโอเรต (UV)จาก ดวงอาทิตย์ไม่ให้มาถึงพื้นโลกมากเกินไป ไอโอโนสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 80-600 กิโลเมตร จากผิวโลก บรรยากาศมีออกซิเจน จางมากไม่เหมาะกับมนุษย์ เอกโซสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 600กิโลเมตรขึ้นไปจากผิวโลก บรรยากาศมีออกซิเจนจางมากๆ และมีก๊าซฮีเลียมและไฮโดรเจนอยู่เป็นส่วนมาก โดยมีชั้นติดต่อกับอวกาศ

โลกมีอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส โดยเฉลี่ย

วงโคจรและการหมุนรอบตัวเอง

โลกหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมงในหนึ่งวัน และ 365 วันในหนึ่งปี โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 150 ล้านไมล์ และเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 108,000 ไมล์ต่อชั่วโมง

วงโคจรของดวงจันทร์ อยู่ห่างจากโลก 250,000 ไมล์ ดวงจันทร์จะหันพื้นผิวด้านเดียวเข้าหาโลกอยู่เสมอ และโคจรรอบโลกใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน

โลกเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะ และมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ร่วมกับวัตถุขนาดเล็กกว่าพันชิ้น และดาวเคราะห์อีก 8 ดวง ดวงอาทิตย์และระบบสุริยะเคลื่อนที่ผ่านส่วนแขนออริออน ดาราจักรทางช้างเผือก และจะเคลื่อนที่ครบรอบในอีก 10,000 ปีข้างหน้า

 
การอยู่อาศัย

เป็นถิ่นที่อยู่เดียวในเอกภพที่ค้นพบสิ่งมีชีวิต กลุ่มประชากรที่มีมากที่สุด คือ แบคทีเรีย กลุ่มประชากรที่มีผลมากที่สุดถ้าหายไปจากโลก คือ พืช และกลุ่มประชากรที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมคือ ไพรเมต โดยกลุ่มนี้มีเพียงสายพันธุ์เดียวผลต่อโลกทั้งการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และการทำลาย สภาพแวดล้อม คือ มน

Credit: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
#โลก #ของเรา
bank_blue
นักแสดงรับเชิญ
สมาชิก VIP
1 พ.ย. 52 เวลา 11:09 3,812 4 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...