เมืองสีฟ้า กลางทะเลทราย

 

 

เมืองสีฟ้า กลางทะเลทราย
 
ท่ามกลางทะเลทรายธาร์อันร้อนระอุ ที่รัฐราชสถานของอินเดีย  ใกล้กับพรมแดนปากีสถาน มีเมืองอยู่เมืองหนึ่ง ที่แทบทั้งเมืองระบายไว้ด้วยสีฟ้าสดใส เหมือนกับว่าตั้งอยู่ริมทะเลก็ไม่ปาน 
ความเป็นเอกลักษณ์ของมัน ทำให้แม้คนที่ร่อนเร่มากลางทะเลทรายเพื่อตามหาเมืองนี้ เมื่อได้พบเห็นมัน ไม่ต้องถามใคร ก็สามารถรู้ได้เองว่าใช่เมืองนี้แน่นอน
 
 
 

 

และหากมองเมืองนี้ครอบคลุมไปถึงบริเวณโดยรอบ ที่เต็มไปด้วยความแห้งแล้ง บางคนก็อาจจะบอกว่า นี่คือขุมสมบัติแห่งท้องทะเลทรายชัดๆ

เมืองนี้มีชื่อว่า จ๊อดปัวร์ หรือ จ๊อดปูร์  Jodhpur ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1459 แล้ว โดยการนำของ ราว จ๊อดฮา ผู้นำแห่งสกุล ราธอเร เมืองนี้จึงเอานามสกุลของเขามาเป็นชื่อเมือง ปัจจุบันมันมีประชากรประมาณ 8 แสน 5 หมื่นคน และเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของรัฐ 

เมืองนี้มีฉายาว่า Sun City จากการที่ท้องฟ้าที่นี่สดใด แดดร้อนเปรี้ยงเกือบจะตลอดปี เพราะอยู่กลางทะเลทราย แต่การที่บ้านเรือนที่นี่เต็มไปด้วยเฉดสีฟ้าแตกต่างกันไป มันก็เลยมีอีกฉายาว่า Blue City

เหตุผลที่ชาวเมืองที่นี่ต่างก็ทาสีบ้านเรือนเป็นสีฟ้านั้น ไม่มีการบันทึกเอาไว้แน่ชัด  ก็เลยมีการวิเคราะห์วิจัยกันไปต่างๆนาๆ แต่เวอร์ชั่นที่คนที่นี่เชื่อถือมากที่สุด เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการแบ่งชันวรรณะของอินเดีย

เชื่อกันว่าแต่เดิม คนวรรณะพราหมณ์ ซึ่งเป็นพวกพระพวกนักบวช ที่อยู่อาศัยที่นี่เริ่มทาสีบ้านของตนเองเพื่อบ่งบอกถึงถิ่นฐานที่พวกเขาอยู่ และเพื่อให้บ้านเรือนของพวกเขาแตกต่างจากคนวรรณะอื่นๆ 

แต่ไปๆมาๆ เรื่องนี้อาจจะสร้างความขัดเคืองตาของคนวรรณะอื่น ที่ไม่ค่อยชอบเรื่องการแบ่งชั้นวรรณะ คนเหล่านี้ก็เลยเริ่มต้นทาสีบ้านเรือนของตนเป็นสีฟ้าบ้าง แนวคิดของคนเหล่านี้ อาจจะเป็นที่ชอบใจของคนอื่น ผู้คนก็เลยแห่กันทาสีบ้านของตนเอง
เป็นแบบเดียวกัน

และธรรมเนียมดังกล่าวก็ได้รับการสืบทอดปฏิบัติกันมานานหลายร้อยปี ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการสร้างจุดขายให้กับเมืองโดยไม่ได้ตั้งใจ

หลักฐานเรื่องนี้อยู่ที่บริเวณทางเหนือของเมืองที่มีสีฟ้าหนาแน่นกว่าที่อื่น โดยพื้นที่แถบนี้เรียกกันว่า พราหมณ์บุรี เพราะมีคนวรรณะพราหมณ์อยู่อาศัยหนาแน่น

แต่ถ้าไปถามชาวเมืองว่าทำไมถึงทาสีบ้านด้วยสีนี้ พวกเขาบอกว่า อากาศที่นี่ร้อนจัด สีฟ้าช่วยทำให้อากาศภายในบ้านเย็นลง ซึ่งก็น่าจะจริง เพราะตามหลักทางวิทยาศาสตร์สีเข้มมักจะดูดซับความร้อน สีที่อ่อนมักดูดซับความร้อนน้อยกว่า  ส่วนอีกเหตุผลหนึ่ง ชาวบ้านบอกว่า สีฟ้าช่วยไล่ยุงได้ 

แต่ก็มองกันว่า ถ้าเป็นเช่นนี้จริง ทั้งอินเดียคงเต็มไปด้วยสีฟ้า เพระอินเดีย ทั้งร้อนและทั้งยุงชุม 

อีกเหตุผลหนึ่ง มองกันว่าสีฟ้าเป็นเรื่องของสัญลักษณ์  สีฟ้าเป็นสีของน้ำ และที่นี่ก็เป็นทะเลทราย ซึ่งแห้งแล้ง การทาเมืองด้วยสีฟ้าเป็นเสมือนการยืนหยัดต่อสู้กับทะเลทราย สีฟ้าทำให้เมืองนี้โดดเด่นขึ้นมาท่ามกลางสีน้ำตาลของทะเลทรายโดยรอบ
 
 
 
 
Credit: http://www.oknation.net/blog/inter/2011/02/28/entry-2
2 มี.ค. 54 เวลา 15:41 3,014 4 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...