อาการฮิตที่มาพร้อมโลกยุคอินเตอร์เน็ต คงหนีไม่พ้นอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบ่าและไหล่ ที่เกิดกับผู้คนวัย "คลิก" ทั้งหลาย ไม่ว่าเด็ก หรือผู้ใหญ่วัยทำงาน
ของคนยุคปัจจุบันมีอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดเนื่องมาจากการใช้ท่าทางที่ผิดปกติ ใช้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นติดต่อกันเป็นเวลานาน
กล้าม เนื้อที่มีปัญหามากที่สุดคือกล้ามเนื้อที่ ทำหน้าที่ควบคุมท่าทาง หรือกล้ามเนื้อบริเวณ บ่าและไหล่ พบมากที่สุดในช่วงวัยทำงานโดยเฉพาะการทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ส่วนใหญ่พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
อาการพบจะเริ่มจากอาการปวดเมื่อย ล้าเป็นเวลานาน ลักษณะการปวดจะปวดตื้อๆ หรืออาจมีอาการปวดลึกๆ และมีอาการปวดร้าวไปยังบริเวณอื่นร่วมด้วย โดยอาจจะปวดบริเวณบ่าและปวดร้าวไปที่แขนและมือ ช่วงเวลาที่ปวดอาจจะปวดเฉพาะเวลาทำงานหรือปวดตลอดเวลา และจะขยายไปสู่การปวดที่รุนแรงมากจนเคลื่อนไหวร่างกายส่วนนั้นไม่ได้
การ รักษาต้องใช้ความร้อนเข้ามาช่วย โดยใช้กระเป๋าน้ำร้อนบริเวณกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดประมาณ 15-20 นาที ให้รู้สึกอุ่นถึงร้อนแต่ไม่ควรร้อนจัดเกินไป หรือเวลาอาบน้ำใช้น้ำอุ่นฉีดบริเวณที่มีอาการปวด
ส่วนการบำบัดอีกวิธี คือการนวด แต่ไม่ควรนวดแรงจนเกินไป การนวดจะกระตุ้นตัวรับประสาทที่ผิวหนัง ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ช่วยยืดเนื้อเยื่อหรือใยกล้ามเนื้อที่มีการติดยึดและ ช่วยคลายจุดกดเจ็บ ช่วยการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองให้ดีขึ้น ทำให้ของเสียที่คั่งค้าง ออกจากบริเวณที่มีปัญหา
การนวดยังกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเอนโดร ฟินทำให้อาการปวดหลังลดลงได้ สำหรับการยืดกล้ามเนื้อสามารถลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อเพื่อให้ผ่อนคลาย มากขึ้น เป็นการเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ป้องกันและลดการเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ อีกทั้งยังทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
การยืดกล้ามเนื้อเพื่อให้ อาการปวดกล้ามเนื้อมีอาการดีขึ้น เริ่มจากต้องยืดกล้ามเนื้อขณะที่ผ่อนคลาย ยืดอย่างนุ่มนวล จนรู้สึกตึงหรือเจ็บพอทนได้ ค้างไว้ประมาณ 10-30 วินาที ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง หลังจากยืดความตึงจะรู้สึกคลายลง ทำซ้ำจนรู้สึก ว่าช่วงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อดีขึ้นและเป็นปกติ
แม้ว่าการรักษา จะทำให้อาการปวดกล้ามเนื้อดีขึ้นจนเป็น ปกติแล้วก็ตาม แต่การทำงานหรืออยู่ในท่านั้นๆ นานๆ อาจส่งผลให้อาการปวดกล้ามเนื้อกลับมาปวดได้อีก จึงต้องระมัดระวังการทำงานที่ต้องอยู่ในท่านั้นๆ เป็นเวลานาน สิ่งสำคัญต้องรู้จักพักและผ่อนคลายกล้ามเนื้อเป็นระยะๆ ถือเป็นการป้องกันไม่ให้อาการปวดกลับมาอีก