ความเป็นมาวันฮาโลวีน วันฮาโลวีน เรามักจะคุ้นเคยเรียกกันเป็นภาษาปากว่า วันปล่อยผี ในวันดังกล่าวมักมีการจัดตกแต่งบ้านเรือน ร้านค้า โดยใช้ฟักทองที่คว้านเป็นรูปผี หรือใช้วัสดุอื่น ๆ ประดิษฐ์เป็นตัวผีหรือทำให้มีหน้าตาเป็นผีเพื่อสร้างบรรยากาศให้กลายเป็นงานรื่นเริง วันฮาโลวันมีที่มาอย่างไร และเหตุใดจึงเรียกเช่นนั้นในเรื่องนี้ คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล แห่งราชบัณฑิตยสถาน ได้จัดทำคำอธิบายถึงประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจของ “ฮาโลวีน” ไว้ดังนี้
ด้วยเหตุที่ชาวเผ่าเคลต์ของเกาะอังกฤษ (ไอร์แลนด์และสกอตแลนด์) ถือเอาวันที่ ๑ พฤศจิกายน เป็นวันต้นฤดูหนาวและเป็นวันขึ้นปีใหม่ (Samhoin) มาเป็นเวลานานแล้ว โดยจัดพิธีเป็น ๒ วัน คือวันสุกดิบ (๓๑ ตุลาคม) เป็นวันทำบุญเลี้ยงผี ซึ่งเชื่อกันว่าทั้งคืนจะมีผีออกเพ่นพ่านรับส่วนบุญ เมื่อจัดทำพิธียกอาหารทำบุญแล้วก็ปิดประตูหน้าต่างอยู่แต่ในบ้านอธิษฐานขอให้ผีไปที่ชอบ ๆ วันรุ่งขึ้น (๑ พฤศจิกายน) เป็นวันปีใหม่ ได้ทำพิธีบูชาเทพเจ้าตามด้วยการรื่นเริงตามประเพณี เมื่อชนพวกนี้ยอมรับนับถือศาสนาคริสต์แล้วก็ยังคงปฏิบัติประเพณีนี้ต่อมา ครั้นได้รับนโยบายจากสันตะปาปาแล้ว ผู้นำศาสนาก็หาวิธีแทรกพิธีกรรมของศาสนาคริสต์เข้ากับประเพณีเดิม วันสุกดิบจึงกลายเป็นวันทำบุญให้วิญญาณของผู้ล่วงลับที่อาจจะยังไม่ได้ขึ้นสวรรค์ คือวิญญาณที่ยังใช้โทษใช้บาปกรรมของตนยังไม่หมดสิ้น ยังอยู่ในแดนชำระ (purgatory) จึงทำพิธีสวดอ้อนวอนขอพระเป็นเจ้าเมตตาให้ได้ขึ้นสวรรค์เร็วขึ้น
โคมรูปฟักทอง แจ๊ก-โอ'-แลนเทิร์นบางตำนานยังเล่าถึงขนาดว่า มีการเผา "คนที่คิดว่าถูกผีร้ายสิง" เป็นการเชือดไก่ให้ผีกลัวอีกต่างหาก แต่นั่นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนคริสต์กาล ที่ความคิดเรื่องผีสางยังฝังรากลึกในจิตใจมนุษย์ ต่อมาในศตวรรษแรกแห่งคริสต์กาล ชาวโรมันรับประเพณีฮาโลวีนมาจากชาวเคลต์แต่ได้ตัดการเผาร่างคนที่ถูกผีสิงออก เปลี่ยนเป็นการเผาหุ่นแทน กาลเวลาผ่านไป ความเชื่อเรื่องผีจะสิงสูร่างมนุษย์เสื่อมถอยลงตามลำดับ ฮาโลวีนกลายเป็นเพียงพิธีการ การแต่งตัวเป็นผี แม่มด สัตว์ประหลาดตามแต่จะสร้างสรรค์กันไป ประเพณีฮาโลวีนเดินทางมาถึงอเมริกาในทศวรรษที่ 1840 โดยชาวไอริชที่อพยพมายังอเมริกา สำหรับประเพณี ทริกออร์ทรีต (Trick or Treat แปลว่า หลอกหรือเลี้ยง) นั้น เริ่มขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยชาวยุโรป ซึ่งถือว่า วันที่ 2 พ.ย. เป็นวัน 'All Souls' พวกเขาจะเดินร้องขอ 'ขนมสำหรับวิญญาณ' (soul cake) จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง โดยเชื่อว่า ยิ่งให้ขนมเค้กมากเท่าไร วิญญาณของญาติผู้บริจาคก็ได้รับผลบุญ ทำให้มีโอกาสขึ้นสวรรค์ได้มากเท่านั้น
การแต่งตัวเป็นผี แม่มด สัตว์ประหลาดตามแต่จะสร้างสรรค์
~จบแล้วค่ะ~..อิอิ
วิญญาณเหล่านี้จึงไม่น่ากลัวเหมือนผีที่เร่ร่อนขอส่วนบุญ เมื่อชาวบ้านหันมานับถือศาสนาคริสต์แล้วก็ไม่เชื่อเรื่องผีมาขอส่วนบุญอีก แต่ก็ยังถ่ายทอดประเพณีนี้ต่อไป โดยปรับให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ คือคืนวันสุกดิบถือเป็นคืนเล่นผี มีผู้แต่งตัวสมมุติเป็นผีออกเพ่นพ่านขอส่วนบุญ ใครที่ไม่ชอบแต่งตัวเป็นผีก็ยินดีจัดเลี้ยงต้อนรับผีในครอบครัวของตน โดยคว้านฟักทองหรือใช้วัสดุอื่นทำให้มีหน้าตาเป็นผี สร้างบรรยากาศให้มีผีในบ้านต้อนรับผีนอกบ้าน กลายเป็นงานสนุกสนานรื่นเริงที่มีบรรยากาศแปลก วันรุ่งขึ้นจึงเป็นวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย และต่ออีกวันหนึ่งจึงเป็นวันทำบุญให้วิญญาณในแดนชำระ
เมื่อชาวไอริชและชาวสกอตอพยพไปตั้งหลักแหล่งในสหรัฐอเมริกาก็นำเอาประเพณีนี้ไปปฏิบัติ ปรากฏว่าถูกใจชาวอเมริกันทุกเชื้อชาติ จึงปฏิบัติตามกันอย่างจริงจังตลอดมา และตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมาก็กลายเป็นเทศกาลประจำชาติมาจนทุกวันนี้