พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระพุทธเจ้าหลวง
ทรงเป็นรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบรมราชสมภพเมื่อ วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. 2411) รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา
พระองค์ทรงปกครองอาณาประชา ราษฎร ให้ร่มเย็นเป็นสุข ทรงโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบถึงความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยมหาราช และมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน
สมัย ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น ประเทศไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมือง ของประเทศ เพราะเหตุว่าลูกทาสในเรือนเบี้ยได้มีสืบต่อกันเรื่อยมาไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นทาสกันตลอดชีวิต พ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรื่อยไป
ในปี พุทธศักราช ๒๔๑๗ โปรดให้ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุของลูกทาส
ตลอด รัชกาลได้ทรงพระราชกาลได้ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะทาสหลายฉบับ ออกบังคับใช้ในมณฑลต่างๆ ให้ลูกทาสเป็นไท ประกาศประมวลกฎหมายลักษณะอาญากำหนดบทลงโทษแก่ผู้ซื้อขายทาสให้มีความผิดเช่น เดียวกับโจรปล้นทรัพย์ ทรงกระทำเป็นแบบอย่างแก่บรรดาเจ้านายและขุนนางในการบำเพ็ญกุศลด้วยการบริจาค พระราชทัรพย์ไถ่ถอนทาสพร้อม พระราชทานที่ทำกินเป็นผลให้ระบบทาสที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาหลายร้อยปี ก็ได้ถูกยกเลิกไปจนหมดสิ้น ด้วยพระราชหฤทัยแน่วแน่และทรงพระราชอุตสาหะ เป็นเวลาถึง ๓๐ ปีก็ทรง ก็ทรงเลิกทาสสำเร็จในพุทธศักราช ๒๔๔๘ สมตามพระราชปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้
พระราชกรณียกิจสำคัญนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของพลเมืองจากทาสมาเป็นสามัญชน มีอิสรภาพทางสังคมเท่าเทียมกัน โดย กำหนดเอาไว้ว่าลูกทาสที่เกิดแต่ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๔๑๑ อันเป็นปีแรกที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ก็ให้ใช้อัตราค่าตัวเสียใหม่ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้ พออายุครบ ๘ ปี ก็ให้ตีค่าออกมาให้เต็มตัว จนกว่าจะครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ให้กลับเป็นไทแก่ตัว เมื่อก้าวพันเป็นอิสระแล้วห้ามกลับมาเป็นทาสอีก ทรง พิจารณาถึงสาเหตุที่ทำให้คนขายตัวเป็นทาส จึงประกาศยกเลิกบ่อนเบี้ย และขยายระบบการศึกษาให้เป็นที่แพร่หลายยิ่งขึ้นในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้า ฯ เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น ประเทศไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมือง ของประเทศเพราะ เหตุว่าลูกทาสในเรือนเบี้ยนั้นได้มีสืบต่อกันเรื่อยมาไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นทาสกันตลอดชีวิต พ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรื่อยไป
กฎหมายที่ใช้กันอยู่ในเวลานั้น ตีราคาลูกทาสในเรือนเบี้ย ชาย 14 ตำลึง หญิง 12 ตำลึง แล้วไม่มีการลดต้องเป็นทาสไปจนกระทั่ง ชายอายุ 40 หญิงอายุ 30 จึงมีการลดบ้าง คำนวณการลดนี้อายุทาสถึง 100 ปี ก็ยังมีค่าตัวอยู่ คือชาย 1 ตำลึง หญิง 3 บาท
แปลว่า ผู้ที่เกิดในเรือนเบี้ย ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ก็ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต
ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2417 ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่ พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ จึงมีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ.2411 ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี โดยกำหนดว่าเมื่อแรกเกิด ชายมีค่าตัว 8 ตำลึง หญิงมีค่าตัว 7 ตำลึง เมื่อลดค่าตัวไปทุกปีแล้ว พอครบอายุ 21 ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิง
ประเทศไทยนั้นมีการใช้ทาสมาเป็นเวลา นานเพื่อใช้ทำกิจการต่างๆ ในบ้านเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่สูงศักดิ์ พระองค์ทรงใช้ความวิริยะอุตสาหะที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้หมดไป ด้วยทรงพระราชดำริกับเสนาบดีและข้าราชการเกี่ยวกับเรื่องทาส พระองค์ทรงคิดหาวิธีจะปลดปล่อยทาสให้ได้รับความเป็นไท ด้วยวิธีการละมุนละม่อม ทำตามลำดับขั้นตอน
ข้าทาสและไพร่ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งหลุดพ้นจากระบบดั้งเดิม ได้กลายเป็นราษฎรสยามและต่างมีโอกาสประกอบ อาชีพหลากหลาย พอถึงปี 2448 ก็ได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 (พ.ศ.2448)
เลิกเรื่องลูกทาส
ในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด
เด็กที่เกิดจากทาส
ไม่เป็นทาสอีกต่อไปการซื้อขายทาส
เป็นโทษทางอาญา
ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้วให้นายเงิน
ลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด
และนี่ก็เป็นพระมหากรุณาทิคุณขององค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน รัชกาลที่๕ที่ทรงให้มีการเลิกทาสนับตั้งแต่นั้นมา ภายหลังประกาศเลิกทาสจนเป็นอิสระภาพ ทั้งนี้การเลิกทาส เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า สมเด็จพระปิยมหาราช