ควาย ชัด ชัด

 

 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
    “ควายคือชีวิตของคนไทย” ความใกล้ชิดระหว่าง “ควายกับคน” จะแตกต่างกับสุนัข หรือแมว ที่เลี้ยงดูไว้เพื่อจุดประสงค์หนึ่งเพราะเราถือว่าควายเป็นสัตว์มีบุญคุณ และได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงโบราณมีพิธีทำขวัญควาย โดยเมื่อเสร็จจากฤดูไถหว่านแล้ว จะประกอบพิธีทำขวัญให้กับควาย มีการกล่าว โองการยกย่องว่าเป็นสัตว์ที่ช่วยเหลือในการทำมาหากิน ช่วยเหลือแรงงานด้านต่าง ๆ เสร็จแล้วจะมีการจัดหาหญ้าอ่อน น้ำสะอาดเลี้ยงดูให้กับควายมีหลายคนเรียกควายว่า “ลูก” สมัยก่อนจะไม่มีการฆ่าควายเพื่อกินเนื้อเป็นอาหาร ทุกบ้านจะเลี้ยงดูจนแก่เฒ่า และปล่อยให้ตายเอง จึงจะยอมชำแหละเนื้อมาเป็นอาหาร แต่เก็บเขาเอาไว้เป็นที่ระลึก ว่าได้เคยช่วยเหลืองานมา และจดจำชื่อไว้ว่าเป็นเขาของควายตัวใด ๆ และเกิดประเพณีสะสมเขาควายต่อมาโลกเจริญก้าวหน้า มีวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ สังคมเปลี่ยนแปลง รวมทั้งสังคมเกษตรในประเทศไทยจากที่เคยใช้ควายไถนา คราดนา ลากเกวียน นวดข้าว เปลี่ยนเป็นเครื่องจักร เครื่องนวดข้าว บทบาทของควายภาคเกษตรหมดลงโดยสิ้นเชิง “น่าใจหาย” บทบาทใหม่ของควายล่ะ คืออะไร...…จากสัตว์ที่เคยได้รับการยกย่องว่าเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณ ช่วยเหลืองานทุกครัวเรือนเอาใจใส่ เลี้ยงดูเป็นอย่างดี สุมไฟให้เพื่อป้องกันยุง หาหญ้า หาน้ำ เพื่อเลี้ยงดู อยู่กินอย่างเป็นเพื่อน ไม่น่าเลยคนใจร้ายทำได้ “เห็นหน้ากัน อยู่ หลัด ๆ กินเสียได้” ปัจจุบันควายถูกเลี้ยงเพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจ คือเลี้ยงเพื่อส่งขายให้กับโรงฆ่าสัตว์ไม่มีการชะลอหรือละเว้น ควายหมดจากประเทศไทยแน่ ๆ เด็กรุ่นหลังคงรู้จักควายจาก อนุสาวรีย์ หรือรูปภาพเท่านั้นโครงการ “บ้านควาย” ดำเนินการอยู่ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ปลุกสำนึกให้กับพี่น้องประชาชนได้ระลึกถึง “ควาย” สัตว์ที่มีบุญคุณ ช่วยในการส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชน และยังส่งเสริมและอนุรักษ์ให้ควายเป็นสัตว์ที่ได้รับความสนใจ และได้รับการเลี้ยงดูอย่างมีคุณค่า เพราะไม่แน่ว่าวันข้างหน้าควายอาจกลับมามีบทบาทต่อชีวิตของพี่น้องเกษตรกร อีกก็ได้



“วันนี้ดูไร้ค่า ที่ผ่านมาเคยช่วยชาติ”
18 ก.พ. 54 เวลา 10:44 9,602 6 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...