จากหนังสือเรื่อง “ซุ้มรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวง” ของ ยุวดี ศิริ สำนักพิมพ์มติชนครับ ดูสบายๆ
สงบๆ หยุดความวุ่นวายของพระนครในวันนี้...
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเสด็จนิวัตพระนคร ประกอบด้วยเนื้อหาและรูปถ่ายเมื่อคราวล้นเกล้ารัชกาล
ที่ ๕ เสด็จนิวัตพระนคร คราวเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) ซึ่งถือเป็นการเสด็จ
ประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ โดยครั้งแรกทรงประพาสเมื่อ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) ในครั้งแรกนั้นมี
วัตถุประสงค์เพื่อไปเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศในแถบยุโรปรวมทั้งเพื่อทอดพระเนตรวิ
ธีการปกครองบ้านเมืองของอารยประเทศหาแบบอย่างมาจัดการทำนุบำรุงประเทศเป็นสำคัญ
แต่ในครั้งที่ ๒ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพักผ่อนพระวรกายและเพื่อรักษาอาการประชวรของพระองค์
โดยมีผู้ตามเสด็จไม่มากนัก
ดอกเตอร์เรเตอร์ (Dr. Eugene Reytter) แพทย์ประจำพระองค์
ทรงฉายภาพร่วมกับผู้ตามเสด็จขณะอยู่ที่ยุโรป
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ และ
คณะผู้ตามเสด็จฯ ประกอบด้วย
หน้าสุด พระองค์เจ้าอุรุพงศรัชสมโภช
แถวหน้า จากซ้ายไปขวา ๑.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์พัฒนเดช ๒.พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๓.สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ๔.กรมพระสมมตอมร
พันธุ์
แถวหลัง จากซ้ายไปขวา ๑.กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ๒.กรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ
พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์)
นายพลโท เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต)
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต
นายพันเอก หม่อมนเรนทรราชา (ยศในขณะนั้น) (ม.ร.ว. สิทธิ สุทัศน์)
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสาตรศุภกิจ
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศรัชสมโภช (ประทับตรงกลาง) ถ่ายเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐
หลวงศักดิ์นายเวร (ม.ร.ว. ลบ อรุณวงศ์) (ยศในขณะนั้น)
หลวงฤทธิ์นายเวร (ฟ้อน ศิลปี) (ยศในขณะนั้น)
หลวงสรลักษณลิขิต (มุ่ย จันทรลักษณ์) (ยศในขณะนั้น)
หม่อมเจ้าทองต่อ ทองแถม (ถ่ายเมื่อทรงพระเยาว์) เป็นนักเรียนพิเศษได้รับพระราชทานเงินค่า
เล่าเรียนส่วนพระองค์
มิสเตอร์ เวสเตนกาด (คนที่สองจากซ้าย) บนเรือซักเซน ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒
นายจิตร ณ สงขลา (ภาพนี้ถ่ายเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาศรีธรรมธิเบศ ในรัชกาลที่ ๖)
เป็นนักเรียนพิเศษกระทรวงยุติธรรม
ภาพเรือพระที่นั่งมหาจักรีและเรือตามเสด็จฯ ขณะแล่นผ่านวัดอรุณราชวราราม
ในช่วงนั้นถือว่าเป็นช่วงที่สยามมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส โดยเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
ฝ่ายไทยยอมยกเมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ และเมืองศรีโสภณ อันเป็นหัวเมืองเขมรให้แก่
ฝรั่งเศส ฝ่ายฝรั่งเศสยอมให้คนชาวตะวันออกในบังคับฝรั่งเศสอยู่ในอำนาจศาลไทย และยอม
คืนเมืองตราดให้แก่ไทย กับทั้งยอมถอนทหารที่ได้มาตั้งอยู่ในเมืองจันทบุรีถึง ๑๒ ปีนั้นกลับไป
หนังสือสัญญานี้ได้รับอนุมัติในปาลิเมนต์ฝรั่งเศส เมื่อ ๒๑ มิถุนายน ร.ศ.๑๒๖ ในการเสด็จนิวัติ
พระนครครั้งนี้จึงมีพระราชประสงค์จะใคร่เสด็จเยี่ยมเยือนทรงแสดงความยินดีต่อประชาชนชาว
เมืองตราด และเมืองจันทบุรีก่อน อย่างไรก็ตามทรงมีรับสั่งประสงค์จะให้เจ้านายฝ่ายหญิงบาง
พระองค์ซึ่งมีพระพลานามัยไม่สู้ดีนักลงไปรับเสด็จที่ปีนังเพื่อพักผ่อนพระวรกายด้วยอันมี
“เจ้าสาย” และพระเจ้าลูกเธอที่ทรงประชวรมาด้วยเพื่อให้ออกมาเปลี่ยนอากาศ อันจะเป็นการ
รักษาพระองค์
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช เป็นนายกองในการจัดการรับเสด็จคราวนี้
เจ้าสายหรือพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ
พระรูปหมู่ (ยืน-ซ้ายไปขวา) สมเด็จฯ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี, สมเด็จฯ
เจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกลักษณาวดี (นั่ง-ซ้ายไปขาว) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา กรมขุน
ศรีสัชนาลัยสุรกัญญา, พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ,
กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ ถ่ายเมือ พ.ศ.๒๔๔๖
พลเรือตรี พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ
หม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ ดิศกุล (หญิงเหลือ), สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพและหม่อมเจ้า
หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล (หญิงพูน) ภาพนี้ถ่ายประมาณสมัยรัชกาลที่ ๕
ภาพเรือกลไฟขนาดย่อม ซึ่งกรมทหารเรือจัดเตรียมถวายขณะเทียบที่ศาลาสะพานท่าน้ำหลวง
เมืองจันทบุรี เนื่องจากร่องน้ำตื้นจึงทำให้เรือพระที่นั่งมหาจักรีแล่นเข้ามาไม่ได้
พลับพลาออกราษฎร เมืองจันทบุรี
ภาพท่าน้ำรับเสด็จที่เมืองจันทบุรี เนื่องจากน้ำตื้นเรือพระที่นั่งเข้าไม่ได้จึงต้องเสด็จฯ โดยเรือ
กรรเชียง
เมื่อเสด็จถึงเมืองตราด กรมทหารเรือได้จัดเรือกลไฟเล็กมาเตรียมสำหรับเสด็จประพาสเกาะ
กระดานจำนวน ๒ ลำ
จากนั้นจึงเสด็จเข้าพระนคร
ภาพพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยในสมัยรัชกาลที่ ๕
ทหารจากมณฑลต่างๆ ที่มารับเสด็จ ในภาพเป็นการสวนสนามในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.
๒๔๕๐
ภาพภายหลังสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และข้าราชบริพาร เสด็จโดยเรือกลไฟ เพื่อเข้าเฝ้าที่เรือ
พระที่นั่งจักรี บริเวณปากน้ำพระสมุทรเจดีย์
ขณะเสด็จจากพลับพลาที่ประทับบริเวณท้องสนามหลวง ผ่านแถวทหารรับเสด็จ เข้าสู่ถนนราชดำ
เนิน
ภาพขณะก่อสร้างซุ้มรับเสด็จของกระทรวงนครบาล
ภาพพระสมุทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ
ภาพซุ้มกระทรวงกลาโหม จะเห็นช่างภาพในพระนครมาบันทึกภาพซุ้มต่างๆ
บริเวณท่าน้ำด้านหน้าวัดกาลหว่าร์ ประชาชนมายืนรับเสด็จ
ภาพเรือที่มารอรับเสด็จฯ บริเวณปากน้ำ
ภาพการรับเสด็จฯ ที่ตึกศุลกสถาน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ภาพการรับเสด็จ ที่ท่าน้ำบริเวณโรงแรมโอเรียลเต็ล และอาคารทำการบริษัทอีสต์เอเชียติก
ด้านท้ายเรือพระที่นั่งมหาจักรี จะเห็นรูปธงช้างซึ่งใช้เป็นธงชาติสมัยรัชกาลที่ ๕ ปรากฏอยู่
ภาพธงชาติสยาม (ธงรูปช้างที่ใช้ในสมัยนั้น)
ภาพซุ้มของกรมทหารเรือ ขณะประชาชนที่มาลอยเรือรับเสด็จพายเรือกลับ
ภาพเรือตามเสด็จเทียบท่าที่ท่าน้ำด้านข้างท่าราชวรดิษฐ์
ภาพทหารที่รอรับเสด็จฯ ที่พลับพลาท่าราชวรดิษฐ์
ภาพขณะเรือพระที่นั่งจักรี ผ่านพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
ภาพเรือพระที่นั่งมหาจักรี ขณะเทียบท่าน้ำราชวรดิษฐ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องเต็มยศขาว ทหารบก
ภาพขณะเสด็จฯ ลงจากเรือพระที่นั่ง ทรงเครื่องเต็มยศขาว ทหารบก
ภาพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมเจ้านายองค์เล็กๆ เสด็จพระราชดำเนินยัง
พลับพลา
ด้านหน้าโดมซึ่งต่อเชื่อมกับพลับพลารับเสด็จบริเวณท่าน้ำราชวรดิษฐ์
พลับพลารับเสด็จฯ ที่ท่าราชวรดิษฐ์ มุมมองด้านข้าง
ภาพถนนด้านในบรมมหาราชวัง
รถม้าพระนั่ง ขณะรอแถวที่บริเวณหน้าศาลาสหทัยสมาคม
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประทับยังพระราชยานพุดตาลทอง ทอดพระเนตร
หมู่พระมหามณเฑียร ระหว่างเสด็จพระราชดำเนิน
เมื่อเสด็จผ่านประตูด้านหลังพระอารามวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งด้านบนจะเป็นถ้อยคำถวาย
พระพร
ข้าราชการฝ่ายในเข้าเฝ้าฯ ที่พระอารามวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ข้าราชการฝ่ายหน้าเข้าเฝ้าฯ ที่พระอารามวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงเสด็จฯ ขึ้นรถพระที่นั่งไปยัง
พลับพลาท้องสนามหลวง
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในสมัยรัชกาลที่ ๕
ภาพซุ้มกระทรวงมหาดไทย ตกแต่งด้วยสายมาลัยจำนวนมากถักสานสลับกันไปมา ประดับด้วย
ไฟแบบญี่ปุ่นตลอดความยาวของสองฝั่งถนน
ภาพซุ้มกรมยุทธนาธิการ
ภาพราษฎรมารอชมขบวนเสด็จฯ
ภาพขบวนเสด็จผ่านหน้าห้างแบดแมนที่ถนนราชดำเนินกลาง
ขณะเสด็จฯ ผ่านซุ้มของกระทรวงมหาดไทย ที่มีรูปทรงคล้ายหอไอเฟลซึ่งจะปรากฏเห็นว่าเป็นโครง
สร้างไม้
ภาพขบวนรถพระที่นั่งเสด็จฯ ผ่านสนามหลวงเข้าสู่ถนนราชดำเนินกลาง
ภาพซุ้มกระทรวงกลาโหม
ภาพปะรำชาวต่างชาติ
ขณะรับคำถวายพระพรและกล่องเงินที่ระลึกจากพ่อค้าชาวยุโรป
ภาพขบวนแถวทหาร
ภาพชาวยุโรปกำลังเดินผ่านซุ้มกระทรวงกลาโหม
ภาพชาวยุโรปรอทูลเกล้าฯ ถวายกล่องเงิน
ภาพมุมกว้างซุ้มกรมยุทธนาธิการ ด้านหลังเห็นวัดพระแก้ว
ภาพซุ้มกระทรวงยุติธรรม
ภาพซุ้มกระทรวงยุติธรรม จำลองรูปดุสิตเทวบุตรไว้ด้านบน
ภาพซุ้มกระทรวงนครบาล (โคมจีนซ้ายมือแปลว่า “หมื่นๆ ปี” ขวามือ “โอรสสวรรค์”)
ภาพซุ้มกระทรวงธรรมการ ตัวอักษรขอมที่จารึกเป็นภาษาบาลีความว่า “จิรัป์ปวาสํ สยามิน์ทํ
อภินัน์ทาม อาคตํ” มีความหมายว่า “ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายยินดีว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประเทศสยาม ซึ่งเสด็จประพาสมานาน”
ภาพชาวไทยเชื้อสายจีนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารทูลเกล้าฯ ถวาย ฮก ลก ซิ่ว
ภาพเด็กนักเรียนที่มาร้องเพลงชาติ
ภาพซุ้มโรงเรียนนายร้อยทหารบก
ภาพซุ้มกระทรวงเกษตราธิการ
ภาพด้านหน้าซุ้มกระทรวงพระคลัง ซึ่งเหรียญทั้งสองข้างเป็นต้นแบบของเหรียญทศที่จะนำมาใช้
ในปลายรัชกาล
ภาพด้านหลังของซุ้มกระทรวงการคลัง บริเวณสี่แยกถนนพิษณุโลก ด้านหลังของเหรียญที่จำลอง
ขึ้นจะไม่เหมือนด้านหน้า โดยข้างหนึ่งจะปรากฎรูปนางฟ้าให้พรในรูปแบบศิลปะตะวันตกและปรากฎ
ข้อความ Long Live The King และอีกด้านจะเป็นข้อความว่า ทรงพระเจริญ
ภาพด้านหน้าซุ้มกระทรวงโยธาธิการ ปรากฏรูปจำลองพระพฤหัสทรงกวาง
ภาพซุ้มกระทรวงโยธาธิการในมุมกว้าง
ภาพถนนทางเข้าพระราชวังดุสิต ด้านไกลจะเห็นซุ้มกระทรวงโยธาธิการ
ภาพรถพระที่นั่งเลี้ยวเข้าพระราชวังดุสิต