ในสมัยอียิปต์โบราณ เมื่อมีคนตายก็จะนำศพไปฝังไว้ในทะเลทรายอันร้อนระอุ ความร้อน และความแห้งแล้งทำให้ร่างกายแห้งอย่างรวดเร็ว โดยที่แบคทีเรียไม่มีโอกาสได้ย่อยสลายศพเสียก่อน จึงกลายเป็นมัมมี่ไปตามธรรมชาติ คงจะมีการค้นพบโดยบังเอิญ ดังเช่นในภาพ เป็นศพชาวอียิปต์โบราณที่ถูกฝังตามธรรมดาโดยมิได้มีการตบแต่งทำให้ไม่มีการ ย่อยสลายแต่อย่างไร แต่ศพที่กลายเป็นมัมมี่ไปตามธรรมชาติก็อยู่รอดมาให้ค้นพบได้ในสมัยปัจจุบัน
ต่อ มาชาวอียิปต์ก็เริ่มใช้โลงบรรจุศพก่อนฝัง เพื่อป้องกันมิให้สัตว์ป่าแทะกินศพ แต่ก็กลับพบว่า ซากศพที่ฝังในโลง ได้เปื่อยเน่าไป ไม่แห้งและอยู่คงทนเหมือนแต่ก่อน เพราะโลงศพทำหน้าที่เก็บกักความชื้นจากร่างกาย เพียงพอที่จะอำนวยให้แบคทีเรียเจริญเติบโต และทำการย่อยสลายให้ศพเน่าเปื่อยสูญไปได้
ต่อมาอีกหลายร้อยปี ชาวอียิปต์ก็ได้ศึกษาทดลองวิธีต่างๆเพื่อจะรักษาสภาพศพให้คงทนอยู่ได้ กรรมวิธีในการรักษาศพให้คงทน ประกอบด้วยการแช่อาบศพด้วยสิ่งที่ชะงักการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แล้วพันด้วยแถบผ้าลินิน ปัจจุบันเราเรียกกรรมวิธีนี้ว่า การทำมัมมี่
ขั้นตอนการทำมัมมี่
ศพถูกนำไป ยังเต๊นท์พิเศษ ที่เรียกว่า อีบู ซึ่งมีความหมายว่า สถานที่ชำระศพให้บริสุทธิ์ ผู้ทำมัมมี่จะอาบศพด้วยเหล้าที่ทำจากน้ำตาลสด และชำระล้างด้วยน้ำจากแม่น้ำไนล์
ช่างก็จะผ่าช่องท้องด้านซ้ายเพื่่อเอาอวัยวะภายในออก เนื่องด้วยอวัยวะภายใน ซึ่งมีความชื้นสูง จะเป็นสิ่งแรกที่เน่าสลายอย่างรวดเร็ว จึงต้องเอาออก เหลือไว้แต่หัวใจที่จะทิ้งไว้ภายในศพ เพราะพวกเขาเชื่อว่า หัวใจคือศูนย์รวมแห่งปัญญาและความรับรู้ทั้งปวง ที่ผู้ตายยังต้องการใช้ในโลกแห่งวิญญาณ
ส่วน ตับ ปอด กระเพาะ และลำไส้ จะถูกนำมาชำระล้างจนสะอาด แล้วนำไปกลบไว้ด้วยเกลือเม็ดที่เรียกว่า Natron ซึ่งเป็นเกลือโซเดียมคาร์บอร์เนต ...
แล่วเขาจะสอดขอผ่านเข้าทาง ช่องจมูก เพื่อเกี่ยวเอาเนื้อสมองออกมา เพราะสมองก็เหมือนอวัยวะภายในที่มีความชื้นสูง ถ้าทิ้งไว้จะทำให้แห้งยาก และก่อให้เกิดการย่อยสลายได้ง่าย
จากนั้นก็เอาศพไปวางกลบด้วยเกลือเม็ดให้แห้ง ของเหลวจากร่างกาย และผ้าที่ใช้ในการเตรียมศพทุกชิ้น ก็จะเก็บรักษาไว้อย่างดี เพื่อนำไปฝังพร้อมกับศพ
ช่องว่างภายในก็ใส่เกลือเม็ดไว้ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย อันจะทำให้ร่างเปื่อยเน่าสูญสลายไปได้