10 อันดับสุดยอดจักรวรรดิประวัติศาสตร์ของโลก

  10 อันดับสุดยอดจักรวรรดิประวัติศาสตร์ หมวดเรื่องทั่วไป   ลำดับ 10-1 ลำดับ 1-10 วันนี้ท่านจะได้พบสุดยอดจักรวรรดิในอดีตในหัวข้อ "10 อันดับสุดยอดจักรวรรดิประวัติศาสตร์" 10 Akkadian Empire (2300 BC–2200 BC) อันดับที่ 10 ได้แก่ Akkadian Empire (2300 BC–2200 BC) ในศตวรรษที่ 24 ก่อนคริสตกาล อัคคาเดียน เป็นเซมิติคเร่ร่อนพวกแรกที่เข้ามาตั้งมั่นในดินแดนอัคคัต ซึ่งอยู่ทางตอนกลางของเมโสโปเตเมียประมาณ ปี 2571 B.C. อัคคาเดียนภายใต้การนำของซาร์กอนมหาราช สามารถโค่นอำนาจของลูกัล ซักกิซซิผู้นำของสุเมเรียนแห่งนครรัฐอัมมาได้ อัคคาเดียนปกครองเมโสโปเตเมียแทนสุเมเรียน ซาร์กอนมหาราชก่อตั้งจักรวรรดิ สุเมโร-อัคคาเดียน (The Sumero-Akkadian Empire 2371-2112 B.C. ) ขึ้นจัดเป็นจักรวรรดิแรกในเมโสโปเตเมีย และเป็นจักรวรรดิแรกของโลก อัคคัต (Agade) คือชื่อเมืองหลวงของจักรวรรดิ อำนาจของอัคคาเดียน แผ่ขยายปกครองพื้นที่จากดินแดนเปอร์เซียถึงชายฝั่งตะวันออกของ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประมาณปี 2113 ก่อนคริสตกาล อัคคาเดียนถูกรุกรานโดยอนารยชนพวกกูติ (Guti) ซึ่งเป็นชนจากดินแดนเปอร์เซียเข้ามาในเมโสโปเตเมีย โดยผ่านทางเทือกเขาซากรอสกูติปกครองเมโสโปเตเมียประมาณ 107 ปี (2113-2006 B.C.) ประมาณปี 2006 ก่อนคริสตกาล ผู้นำสุเมเรียนชื่อ Uruhagae แห่งนครรัฐ Ur ขับไล่กูติออกจากเมโสโปเตเมียได้สำเร็จ ก่อตั้งจักรวรรดิ สุเมเรียนภายใต้ชื่อว่า The Empire of Ur (2006-1950 B.C.) ทั้งนี้อารยธรรมสุเมเรียนได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งหนึ่ง พวกอีลามีดส์ (Elamites) เข้าปกครองซูเมอร์-อัคคัตช่วงสั้นก่อนการขึ้นมีอำนาจของพวกอะมอไรท์ในดินแดน บาบิโลเนียน         9 Achaemenid Empire (550 BC–330 BC) อันดับที่ 9 ได้แก่ Achaemenid Empire (550 BC–330 BC) จักรวรรดิอคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอคีเมนียะห์ (อังกฤษ: Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, เปอร์เซีย: هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร[1] ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบกาปกครองจากศูนย์กลาง จักรวรรดิอคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณา บริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดย จักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหาร การปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชน         8 Roman Empire (27 BC–AD 476/1453) อันดับที่ 8 ได้แก่ Roman Empire (27 BC–AD 476/1453) จักรวรรดิโรมันเคยมีดินแดนอยู่ในการครอบครองมากมาย ได้แก่ อังกฤษและเวลส์ ยุโรปส่วนใหญ่ (ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์และทางใต้ของเทือกเขาแอลป์) ชายฝั่งของแอฟริกาเหนือ บริเวณมณฑลใกล้เคียงของอียิปต์ แถบบอลข่าน ทะเลดำ เอเชียไมเนอร์ และส่วนใหญ่ของบริเวณลีแวนท์ ซึ่งดินแดนเหล่านี้ จากตะวันตกสู่ตะวันออกในปัจจุบันได้แก่ โปรตุเกส สเปน อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี แอลเบเนียและกรีซ แถบบอลข่าน ตุรกี ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกของเยอรมนี ทางภาคใต้จักรวรรดิโรมันได้รวบรวมตะวันออกกลางไว้ ซี่งในปัจจุบันก็ได้แก่ซีเรีย เลบานอน อิสราเอล จอร์แดน จากนั้นในภาคตะวันตกเฉียงใต้ จักรวรรดิได้รวบรวมอียิปต์โบราณไว้ทั้งหมด และได้ทำการยึดครองต่อไปทางตะวันตกซึ่งเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลซี่งในปัจจุบัน คือประเทศลิเบีย ตูนิเซีย แอลจีเรียและโมร็อกโก จนถึงตะวันตกของยิบรอลตาร์ ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในจักรวรรดิโรมันเรียกว่าชาวโรมัน และดำเนินชีวิตภายใต้กฎหมายโรมัน การขยายอำนาจของโรมันได้เริ่มมานานตั้งแต่ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเรืองอำนาจสูงสุดในสมัยจักรพรรดิทราจัน ด้วยชัยชนะเหนือดาเซีย (ปัจจุบันคือประเทศโรมาเนียและมอลโดวา และส่วนหนึ่งของประเทศฮังการี บัลแกเรียและยูเครน) ในปี ค.ศ. 106 และเมโสโปเตเมียในปี ค.ศ. 116 (ซึ่งภายหลังสูญเสียดินแดนนี้ไปในสมัยจักรพรรดิฮาเดรียน) ถึงจุดนี้ จักรวรรดิโรมันได้ครอบครองแผ่นดินประมาณ 5,900,000 ตร.กม. (2,300,000 ตร.ไมล์) และห้อมล้อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งชาวโรมันเรียกทะเลนี้ว่า mare nostrum "ทะเลของเรา" อิทธิพลของโรมันได้ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านภาษา ศาสนา สภาปัตยกรรม ปรัชญา กฎหมายและระบบการเมืองมาจนถึงทุกวันนี้         7 Umayyad Caliphate (661–750) อันดับที่ 7 ได้แก่ Umayyad Caliphate (661–750) ราชวงศ์อุมัยยะห์ หรือ (อาหรับ: بنو أمية‎‎ บานู อุมาย์ยาฮ์ ; ค.ศ. 661 - ค.ศ. 750) เป็นราชวงศ์มุสลิมราชวงศ์แรกถูกสถาปนาโดยมุอาวิยะห์ที่ 1 (Muahwiya I, ค.ศ. 661 - ค.ศ. 680) หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของอะลีย์บุตรเขยของมุฮัมหมัด ราชวงศ์นี้แผ่ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางในช่วงต้น อีกทั้งราชวงศ์ยังรักษาธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด แต่พอถึงปลายราชวงศ์คอลีฟาฮยุคหลังกลับเสวยแต่น้ำจัณฑ์ ล่าสัตว์ ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนาจึงถูกลูกหลานของน้าของศาสดามุ ฮัมหมัดโค่นล้มราชวงศ์ลงในสมัยกาหลิปมาร์วานที่ 2 ในปี ค.ศ. 750 (พ.ศ. 1293) อุมัยยะห์เป็นหนึ่งในสี่จักรวรรดิคอลีฟาฮของอิสลามที่ก่อตั้งหลังจากการเสีย ชีวิตของมุฮัมมัดศาสดาของศาสนาอิสลามที่ปกครองโดยราชวงศ์อุมัยยะห์ ที่ได้รับชื่อจาก Umayya ibn Abd Shams ผู้เป็นทวดของคอลีฟาฮอุมัยยะห์คนแรก แม้ว่าตระกูลอุมัยยะห์เดิมจะมาจากมักกะหฺ แต่ดามาสกัสเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิ หลังจากอุมัยยะห์ถูกโค่นโดยจักรวรรดิคอลีฟาฮอับบาซียะห์ จักรวรรดิกาหลิปอุมัยยะห์ก็ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่อัล-อันดะลุส (Al-Andalus) และก่อตั้งเป็นอาณาจักรกาหลิปแห่งกอร์โดบา         6 Qing Dynasty (1890–1912) อันดับที่ 6 ได้แก่ Qing Dynasty (1890–1912) ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: daicing gurun; ภาษาจีน:清朝 ; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา ; ) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ราชวงศ์ชิงไม่ได้ก่อตั้งโดยชาวฮั่นซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศจีน แต่เป็นชาวแมนจูซึ่งอาศัยอยู่ในเขตแมนจูเรีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน ในสมัยนั้น ชาวแมนจูเพียงเป็นกลุ่มชนเร่ร่อนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งยังไม่มีคนรู้จักมากนั้น ในช่วงที่ราชวงศ์หมิงเกิดจลาจลและการเมืองไร้เสถียรภาพ ชาวแมนจูถือโอกาสรวบรวมกำลังพล โดยผู้นำตระกูลอ้ายซินเจวี๋ยหลัว และเข้าบุกยึดกรุงปักกิ่งซึ่งเป็นราชธานีของราชวงศ์หมิง ได้ใน พ.ศ. 2187 และสถาปนาอาณาจักรต้าชิง (ภาษาจีน: 大清帝國, พินอิน: dàqīngdìguó) ราชวงศ์ชิงครองแผ่นดินจีนจนถึงปี พ.ศ. 2454 เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ ซึ่งเป็นการปฏิวัติเป็นสาธารณรัฐโดยซุน ยัตเซ็น ราชวงศ์ชิงถูกยึดอำนาจในปีนั้น และใน พ.ศ. 2455 ผู่อี๋ จักรพรรดิองค์สุดท้ายถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ถือเป็นจุดอวสานของราชวงศ์ชิง และการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจีน         5 Russian Empire (1721–1917) อันดับที่ 5 ได้แก่ Russian Empire (1721–1917) จักรวรรดิรัสเซีย (รัสเซีย: Российская империя; อังกฤษ: Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตใน พ.ศ. 2460 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2264 โดยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก เอเชีย จนไปถึงอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่ เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซีย         4 Mongol Empire (1206–1368) อันดับที่ 4 ได้แก่ Mongol Empire (1206–1368) อาณาจักรมองโกล (Mongol Empire) นับรบชาวมองโกลเป็นผู้ชำนาญในการขี่ม้า พวกเขาสามารถยิงธนูในขณะที่ควบม้าไปด้วยได้อย่างแม่นยำเลยทีเดียว ชาวมองโกลเป็นเพียงชนเผ่าเร่ร่อนซึ่งเดินทางรอนแรมไปบนหลังม้า แต่พวกเขากลับสร้างความยิ่งใหญ่ได้ครอบครองแผ่นดินทั้งเอเชียกลาง เรื่องราวของพวกเขาเริ่มขึ้นประมาณ ค.ศ.1206 เมื่อ เจงกีสข่าน (Genghis Khan) ได้ขึ้นเป็นผู้นำของเผ่านี้และได้สร้างกองทัพที่มีความเข้มแข็งและโหดร้าย ขึ้น จากนั้นพวกเขาก็เริ่มรุกรานและแผ่ขยายอำนาจไปยังอาณาจักรอื่นๆ จวบจนกระทั่งก่อนจะปิดฉากศตวรรษที่ 12 ชาวมองโกลก็ได้เข้าครอบครองดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลที่สุดในแถบเอเชีย กระโจมของชาวมองโกลที่สะดวกในการรื้อเพื่อขนย้าย ชาวมองโกลจะอาศัยอยู่ในกระโจม (Yurts) ที่ทำขึ้นโดยการนำแผ่นสักหลาดเฟลท์ (Felt) มาต่อกันเป็นหลังคาและฝาผนัง จากนั้นเมื่อพวกเขาต้องย้ายที่อยู่ไปยังทุ่งหญ้าแห่งใหม่ ชาวมองโกลเหล่านี้ก็จะรื้อกระโจมของตนหรือไม่ก็ขนย้ายมันขึ้นเกวียนไปด้วยใน สภาพที่สมบูรณ์ และเมื่อไปถึงทุ่งหญ้าแห่งใหม่พวกเขาก็จะนำกระโจมนี้ไปตั้งไว้โดยไม่ต้อง สร้างมันขึ้นมาใหม่อีก กุบไลข่าน (Kublai Khan : ค.ศ.1215 - 1294) ซึ่งเป็นหลานของเจงกีสข่าน เป็นจักรพรรดิมองโกลพระองค์แรกที่ได้ขึ้นปกครองแผ่นดินจีน และทรงสถาปนาราชวงศ์หยวนขึ้นมา ทรงเป็นพุทธศาสนิกชน ในรัชสมัยของพระองค์เมื่อประมาณปี ค.ศ.1275 มาร์โค โปโล (Marco Polo) นักสำรวจชื่อดังชาวเวนิส ได้เดินทางมายังราชสำนักของกุบไลข่าน และใช้เวลาอยู่ที่นี่นานถึง 17 ปี         3 Mughal Empire (1526–1858) อันดับที่ 3 ได้แก่ Mughal Empire (1526–1858) จักรวรรดิโมกุล (เปอร์เซีย: سلطنت مغولی هند; อูรดู: مغلیہ سلطنت; อังกฤษ: Mughal Empire) เป็นจักรวรรดิซึ่งปกครองบริเวณอนุทวีปอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19         2 British Empire อันดับที่ 2 ได้แก่ British Empire จักรวรรดิอังกฤษ (อังกฤษ: British Empire) ประกอบด้วยดินแดนในปกครอง คราวน์โคโลนี รัฐในอารักขา รัฐในอาณัติ และดินแดนอื่น ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารหรือปกครองโดยสหราชอาณาจักร ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าที่ก่อตั้งโดยราช อาณาจักรอังกฤษ ช่วงปลายศตวรรษที่ 16 และต้นศตวรรษที่ 17 ในช่วงที่เจริญถึงขีดสุด จักรวรรดิอังกฤษเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นมหาอำนาจของโลกตลอดระยะมากกว่าหนึ่งศตวรรษ ในปี ค.ศ. 1922 จักรวรรดิอังกฤษปกครองประชากรทั้งหมดประมาณ 458 ล้านคน หรือกว่าหนึ่งในสี่ของประชากรโลกในเวลานั้น ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 33,000,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นหนึ่งในสี่ของพื้นดินทั้งหมดของโลก ดังนั้นมรดกทางการเมือง ภาษาและวัฒนธรรมของอังกฤษจึงแผ่ขยายออกไป ในยุคที่จักรวรรดิอังกฤษรุ่งเรืองที่สุด มักกล่าวกันบ่อยครั้งว่า "ดวงอาทิตย์ไม่เคยตกดินในจักรวรรดิอังกฤษ" เนื่องจากการแผ่ขยายดินแดนออกไปทั่วโลกจึงทำให้ดวงอาทิตย์ยังส่องแสงอยู่บน อาณานิคมหรือชาติใต้ปกครองที่มีอยู่มากมายอย่างน้อยที่สุดแห่งหนึ่งอยู่ตลอด เวลา         1 Ottoman Empire (1299–1923) อันดับที่ 1 ได้แก่ Ottoman Empire (1299–1923) จักรวรรดิออตโตมัน (อังกฤษ: Ottoman Empire) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ มีสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำ มีคอนสแตนติโนเปิล(อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง ในตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม อาณาจักรออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ อาณาจักรออตโตมันสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นสุลต่านองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก       คุณสามารถนำเนื้อหาหัวข้อนี้วางยังเว็บไซต์ของคุณได้เพียงนำโค้ดด้านล่างไปแปะไว้  
Share |
0 0 แสดง 29 ครั้ง ที่มา : http://www.wonders-world.com/2011/02/10-greatest-empires-in-history-of-world.html
Credit: ทอปเทนดอดคอม
17 ก.พ. 54 เวลา 06:14 10,714 4 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...