มอญร้องไห้ในงานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
มอญร้องไห้เป็นพีธีกรรมของชาวมอญ เป็นการแสดงความเคารพอาลัยและยกย่องคุณงามความดีของผู้ตาย โดยการประกอบพิธี จะมีวงปี่พาทย์มอญมาบรรเลง และจะมีคนมาร้อง เนื้อหาของเพลงนั้นไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับว่าผู้ตายเป็นใคร และมีคุณงามความดีมากน้อยเพียงใด
ประวัติ
ประวัติความเป็นมานั้นว่ากันว่ามาจากสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ทรงแสดงปาฏิหารย์ให้พระบาทหลุดออกมาจากโลง เพื่อให้พระมหากัสสปและศิษยานุศิษย์ที่มาหลังสุดได้บูชา ฝ่ายฆราวาสและพระภิกษุที่ยังไม่บรรลุอรหันต์ต่างพากันร้องไห้
ประวัติความเป็นมาของ "มอญร้องไห้" นั้น มีผู้กล่าวไว้หลายแห่ง เช่น เสฐียรโกเศศ กล่าวถึงในหนังสือ
ประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิต ในตอนที่เกี่ยวกับความตายไว้ว่า ต้นเหตุมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับ
ขันธ์ปรินิพพาน ทรงปาฏิหาริย์ให้พระบาททะลุออกมานอกโลง เพื่อให้พระมหากัสสปบูชา ฝ่ายพุทธบริษัทที่ยัง
ไม่บรรลุอรหันต์ผลต่างร้องไห้กันระงม จึงเป็นประเพณีสืบต่อมา บ้างก็ว่า เป็นการสืบเนื่องมาจากนางมัลลิกา
ทรงกันแสงคร่ำครวญ ต่อพระบรมศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกทั้งชาวมอญนั้นนับถือพุทธศาสนาอย่าง
เคร่งครัด จึงได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อ ๆ มากับภิกษุสงฆ์ จนถึงฆราวาส ที่มาอีกประการคือ
เป็นเรื่องกุศโลบายในการสงครามสมัยพระเจ้าราชาธิราช กษัตริย์มอญที่ขับเคี่ยวกับพม่าในอดีต ราชบุตร
ของพระเจ้าราชาธิราช คือพระยาเกียรติถูกพม่าเข้าล้อมเมืองโดยไม่รู้ตัว กำลังทหารรักษาเมืองก็น้อย ไม่สามารถ
สู้รบกับทหารพม่าที่มีกำลังมากกว่า ได้พยายามส่งข่าวไปให้พระราชบิดามาช่วยก็ไม่สามารถทำได้ ยังมีนายทหาร
ชื่อสมิงอายมนทยา อาสาออกไปส่งข่าวด้วยการนำอุบาย “นอนตาย” ไปบนแพหยวกกล้วย ตามร่างการทาด้วย
น้ำผึ้ง ข้างกายมีหม้อปลาเน่า ส่งกลิ่นเหม็นทำให้มีแมลงวันมาตอมเหมือนตายจริง ๆ ขณะเดียวกัน ในระหว่างที่
เดินออกมา ก็ให้หญิงสาวชาวมอญโกนหัวเดินร้องไห้โหยหวน พลางรำพึงรำพันถึงคุณงามความดีของสามี ที่นอน
ตายบนแพหยวกกล้วยนั้น ฝ่ายทหารพม่าไม่ได้เฉลียวใจว่าถูกกลลวง ปล่อยให้ขบวนศพที่มีมอญร้องไห้ผ่านไป
จนสามารถนำทัพหลวงมาช่วยได้สำเร็จ จึงเป็นประเพณีมอญร้องไห้ไว้อาลัยสืบต่อกันมา
คณะ มอญร้องไห้ พรรณาสดุดีเทิดพระเกียรติ ในงานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี๒ ธันวาคม ๒๕๒๗ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง
"มอญร้องไห้" แบบดั้งเดิมของมอญนั้น นิยมทำกันในช่วงดึกสงัด ระหว่างการตั้งศพบำเพ็ญกุศลและช่วง
เช้ามืด อีกช่วงก็คือช่วงชักศพขึ้นเมรุเตรียมฌาปนกิจ แต่เดิมผู้ร้องไห้จะเป็นหญิงสูงอายุซึ่งเป็นญาติกับผู้ตาย
การร้องไห้นี้เป็นการร้องที่ไม่มีน้ำตา ได้แต่พรรณนาคุณความดีของผู้ตาย พลางสะอื้นน้อย ๆ เป็นระยะ
มิได้ฟูมฟายตีอกชกหัว อย่างที่คนยุคหลังนำมาดัดแปลง บางแห่งถึงกับใช้กะเทยแต่งกายเป็นหญิง ร้องพลาง
กลิ้งตัวลงมาจากเมรุชั้นสูงสุด เพื่อเรียกอารมณ์สะเทือนใจจากแขกที่ร่วมงาน และสิ่งที่ไม่น่าดูอย่างยิ่งก็คือ
เมื่อผ้าผ่อนท่อนสไบของกะเทยเปิดเปิง (หากเป็นหญิงยังน่าอภิรมณ์)
กรณีที่ผู้ตายมีฐานะดี ลูกหลานผู้ตายมักหาปี่พาทย์มอญมาบรรเลง และมีการร้อง “มอญร้องไห้” ประกอบ
ร้องพรรณนาคุณงามความดีของผู้ตาย ด้วยความอาลัยรัก เสียงร้องโหยหวนเข้าบรรยากาศ ยิ่งในสมัยก่อนที่ยัง
ไม่มีเครื่องขยายเสียงนั้น เสียงร้องไห้อาจสะเทือนใจพลอยทำให้ผู้ที่ได้ยิน ที่แม้ไม่ใช่ญาติผู้ตายก็อดสะเทือนใจ
จนร้องไห้ตามไม่ได้
ธรรมเนียม “มอญร้องไห้” ได้มีอิทธิพลแพร่เข้าไปยังราชสำนักไทย จะต้องมีนางร้องไห้ทุกครั้งที่สูญเสียบุคคล
ในราชตระกูล ธรรมเนียมนางร้องไห้ในวังนี้ คาดว่ามีมาแต่ครั้งต้นสมัยรัตนโกสินทร์ มาเลิกไปสมัยรัชกาลที่ ๖
เพราะไม่โปรดฯ ด้วยเห็นว่าน่ารำคาญ ร้องไปคนตายก็ไม่ฟื้นมาได้ แต่ในหมู่สามัญชนนั้นก็ยังมีความนิยมไม่เปลี่ยน
http://www.youtube.com/watch?v=EOKbPDP7ak8