เผยโฉม "สถาปัตยกรรมสีเขียว" ยุคอนาคตจากทั่วโลก

 

พีระมิด ชิมิสุ เมกะ-ซิตี้ ยังคงเป็นเพียงจินตนาการ เนื่องจากต้องพัฒนาวัสดุก่อสร้างที่มีน้ำหนักเบาให้ได้ก่อน อย่างไรก็ตาม สถาปนิกวางแผนจะสร้างตึกระฟ้าภายในพีระมิดแห่งนี้ ซึ่งจะลอยอยู่ภายในอ่าวโตเกียว        เอเจนซี - อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้บริการทุกที่, ถนนที่มีเพียงระบบขนส่งสาธารณะโดยเฉพาะ, ไม่มีขยะ, ไม่มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไอออกไซด์ออกไปทำลายชั้นบรรยากาศ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้อาจฟังดูเป็นไปไม่ได้ แต่ก็กำลังเกิดจริงขึ้นในสถานที่เหล่านี้
       
       มาสดาร์ ซิตี้ ซึ่งอยู่ห่างศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาคตะวันออกกลางอย่าง อาบูดาบี ไปไม่กี่ไมล์ จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2020 โดยเมืองแห่งนี้จะติดตั้งระบบรีไซเคิลน้ำเสียเกือบทั้งหมด และมีระบบขนส่งมวลชนใต้ดินที่ทำให้ประชาชนไม่ต้องใช้รถยนต์กันอีกต่อไป
       
       ในเมืองเต๋อโจวทางตอนเหนือของประเทศจีน ก็มี “หุบเขาพลังงานแสงอาทิตย์” (solar valley) ซึ่งจะใช้ความร้อนจากดวงอาทิตย์เป็นแหล่งผลิตพลังงานสำหรับไฟถนนและสระว่ายน้ำต่างๆ อาคารร้อยละ 80 ในเมืองนี้ยังติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นพลังงานแสงอาทิตย์อีกด้วย
       
       จีนสามารถจัดการปัญหาจราจรในประเทศด้วยโครงการแบ่งปันจักรยานกว่า 50,000 คัน โดยเมืองหังโจวอนุญาตให้ประชาชนขี่จักรยาน 1 ชั่วโมงแรกฟรี
       
       นอกจากนี้ เหล่าสถาปนิกที่มีจินตนาการและวิสัยทัศน์กว้างไกลยังออกแบบอาคารรูปทรงประหลาด เช่น อาคารต้นไม้, พีระมิดลอยน้ำที่มีตึกระฟ้าอยู่ภายใน หรือแม้แต่บ้านที่สามารถลอยไปในมหาสมุทรได้ เป็นต้น
       
       อาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่กำลังถือกำเนิดขึ้นในภูมิภาคตะวันออกไกล โดยมี จีน และ ญี่ปุ่น เป็นผู้นำในการสร้างสรรค์ต้นแบบสถาปัตกรรมยุคอนาคต

  ลอนดอน บริดจ์ ทาวเวอร์ หรือ "เดอะชาร์ด" ความสูง 1,000 ฟุต จะสร้างสำเร็จในปี 2012 และจะกลายเป็นอาคารสูงที่สุดในทวีปยุโรป ภายในประกอบด้วยสำนักงาน, แฟลต, ภัตตาคาร และ โรงแรม        

  หอคอยรูปต้นไม้ในเมืองไทชุงของไต้หวัน มีลานชมวิวที่บรรจุก๊าซฮีเลียม ช่วยให้สามารถลอยขึ้นไปตามความสูงของหอได้ หอคอยแห่งนี้จะเริ่มก่อสร้างในปีหน้า โดยจะมีแผงโซลาร์เซลล์ และ เครื่องเก็บกักน้ำฝน ภายในมีสำนักงาน, ร้านอาหาร และ พิพิธภัณฑ์ให้คนเยี่ยมชม        

  มาสดาร์ ซิตี้ ในเมืองอาบูดาบี จะเปิดบริการเต็มรูปแบบในปี 2020 โดยห้ามนำรถยนต์มาใช้ในเมือง และมีระบบรีไซเคิลน้ำ        

  สนามกีฬา อัล ฆอร์ สเตเดียม ในกาตาร์ ถูกสร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันฟุตบอล เวิลด์ คัพ ในปี 2022 มีทั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์และเครื่องปรับอากาศ ที่จะทำให้อุณหภูมิภายในต่ำกว่า 80 องศาฟาเรนไฮต์ (26 องศาเซลเซียส)        

  โซจิ โอลิมปิก สเตเดียม ในรัสเซีย เป็นสนามกีฬาถาวรสำหรับกีฬาฤดูหนาวในปี 2014 กำแพงและหลังคาถูกปูด้วยแผ่นคริสตัลที่ช่วยสะท้อนแสงอาทิตย์ และจะเปิดไฟสว่างไสวในเวลากลางคืน        

  หอคอยลอยน้ำ "ไกร์" (Gyre) เป็นทั้งรีสอร์ตและสถานีวิจัย สามารถล่องลอยข้ามมหาสมุทรได้        

  อาคาร "ซีสเครเปอร์" (Seascraper) ถูกออกแบบให้สามารถจอดในที่ซึ่งกระแสน้ำไหลแรง เพื่อสร้างพลังงานสะอาด        

  นครปารีสเริ่มให้สถาปนิกออกแบบอาคารให้มีบรรยากาศร่มรื่นเหมือนชานเมือง
8 ก.พ. 54 เวลา 16:48 1,292
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...