ญี่ปุ่นเตรียมตั้งระบบจีพีเอสของตัวเอง

 

ญี่ปุ่นเตรียมตั้งระบบจีพีเอสของตัวเอง

ญี่ปุ่นกำลังเตรียมสร้างระบบระบุพิกัดบนพื้นโลกหรือจีพีเอสของตัวเอง เพื่อลดการพึ่งพาระบบที่ใช้อยู่ทั่วโลกที่สร้างขึ้นโดยสหรัฐ เช่นเดียวกับหลายประเทศที่ได้พัฒนาระบบของตัวเองเช่นกัน


แผนงานของโครงการนี้จัดทำขึ้นโดยสำนักงานพัฒนาด้านอวกาศญี่ปุ่น และรัฐบาลคาดหวังว่าจะสามารถจัดทำแผนฉบับเสร็จสมบูรณ์ได้ในเดือนสิงหาคม  

ปัจจุบัน ระบบจีพีเอสของสหรัฐมีเครือข่ายดาวเทียมนำร่อง navstar 30 ดวงครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก แต่เนื่องจากเริ่มแรกระบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการทหาร ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่การส่งคลื่นวิทยุเพื่อใช้ในทางพลเรือนอาจถูกสกัดโดยประเทศที่สามในภาวะฉุกเฉินได้ ซึ่งอาจกระทบต่อชีวิตของประชาชนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  นอกจากนี้สภาพภูมิประเทศแถบภูเขาและเมืองที่มีตึกสูงหนาแน่นในบางพื้นที่ของญี่ปุ่น ทำให้บางครั้งดาวเทียมที่โคจรเหนือดินแดนญี่ปุ่นก็มีอุปสรรคในการสัญญาณ  

สำนักงานสำรวจอวกาศญี่ปุ่นจึงได้เริ่มส่งดาวเทียม มิจิบิกิเมื่อเดือนกันยายนเพื่อครอบคลุมจุดบอดที่ดาวเทียมนำร่องของสหรัฐในปัจจุบันไม่สามารถส่งสัญญาณได้  มิจิบิกิจะโคจรเป็นรูปเลข 8 เหนือดินแดนญี่ปุ่นแค่วันละ 8 ชั่วโมงเท่านั้น และรัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าว่าจะส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรอีก 6-7 ดวงภายในปี 2557-2558 เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และสามารถปฏิบัติงานระบุพิกัดได้ตลอด 24 ชั่วโมง  

หากใช้ระบบจีพีเอสของญี่ปุ่นร่วมกับกับระบบของสหรัฐจะทำให้สามารถช่วยลดความผิดพลาดในการระบุพิกัดลงได้จาก 10 เมตรเหลือไม่ถึง 1 เมตร ซึ่งหมายความว่าจะทำให้สามารถระบุพิกัดได้แม่นยำขึ้น 10%  

สำหรับงบประมาณของโครงการนี้คาดว่าจะสูงถึง 2 แสนล้านเยนหรือเกือบ 73,800 ล้านบาท แต่เนื่องจากรัฐบาลมีปัญหาเรื่องงบประมาณ จึงจะอาศัยเงินทุน เทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการจากภาคเอกชน  

ปัจจุบันรัสเซียมีระบบจีพีเอสของตัวเอง โดยมีเครือข่ายดาวเทียมชื่อ GLONASS ยุโรปก็ระบบจีพีเอสใช้เครือข่ายดาวเทียมชื่อ กาลิเลโอ ส่วนจีนก็ COMPASS และอินเดีย ก็กำลังพัฒนาระบบของตัวเองเช่นกัน นอกจากนี้หลายประเทศเริ่มมีการหารือถึงแนวทางที่จะประสานความร่วมมือและใช้ประโยชน์จากระบบดาวเทียมทั้งหมดนี้ร่วมกันอย่างไร

 


 

Credit: http://www.oknation.net/blog/inter/2011/01/30/entry-1
4 ก.พ. 54 เวลา 09:22 2,041 2 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...