อิคคิวซัง แค่การ์ตูนหรือตำนานที่มีอยู่จริง ?
หากย้อนไปเมื่อ 20 ปีก่อน ในไทยมีการ์ตูนญี่ปุ่นที่เข้ามาฉายในไทยอยู่ไม่กี่เรื่อง ที่คนในสมัยนั้นรู้จักกันดี เช่น โดราเอม่อน อาราเร่ ผีน้อยคิวทาโร่ และอิคคิวซังซึ่งหลาย ๆ คนคงจะจำกันได้ดี แม้เด็กรุ่นใหม่ก็ยังรู้จัก "เณรน้อยเจ้าปัญญา อิคคิว ซัง" ความน่ารักของตัวการ์ตูน และเนื้อหาที่สนุกสนาน ยังคงมาสร้างความบันเทิง ในบ้านเราไม่มีวันจบสิ้น อิคคิว ซัง จึงเป็นการ์ตูนอมตะอีกเรื่องหนึ่ง
แต่จะมีใครรู้บ้างว่าที่ญี่ปุ่น พระอิคคิว มีอยู่จริงรวมถึงหลักฐานต่าง ๆ ที่ยืนยันว่า "อิคคิว ซัง" ไม่ได้เป็นแค่การ์ตูน แต่กลับเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น เลยทีเดียว
เมื่อ 600 ปีที่ผ่านมาเป็นยุค Muromachi (ประมาณพศ.1338-1573) ช่วงที่ญี่ปุ่น ยังยึดติดเรื่องศักดินา อิคคิวซัง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเณรน้อย ผู้ฉลาดหลักแหลม หลังจากโชกุน Yoshimitsu Ashikaga ต้องการจะรวมประเทศญี่ปุ่น ในศตวรรษที่ 15 มีพระในนิกายเซน ถือกำเนิดขึ้น ที่ใคร ๆ รู้จักในนาม "Ikkyu San (! อิคคิว ซัง)" พ่อของเขาคือจักรพรรดิ Gokomatsu ซึ่งมีชายาสองฝ่าย คือ Nantyo (ชายาฝ่ายใต้) และ Hokutyo (ชายาฝ่ายเหนือ)
แม่ของอิคคิวคือ Nantyo ภรรยาลับ ๆ ของจักรพรรดิ Gokomatsu พระองค์เกรงอำนาจของชายาฝ่ายเหนือ Hokutyo แม่ของอิคคิว จึงต้องออกจากราชวัง ตั้งแต่ Ikkyu ยังไม่เกิด พระจักรพรรดิส่งเจ้าชายและชายาฝ่ายใต้ (แม่ของอิคคิว) มาจากพระราชวังโชกุน Ahikaga จึงเปลี่ยนชื่อให้เจ้าชายน้อยว่า Ikkyo พระนางนันอีโย พาอิคคิวมาบวชเรียนที่วัดอังโกะกุจิตอนอายุได้ 6 ขวบ เพื่อหนีภัยการเมือง และหลายครั้งเธอไม่ยอมพบกับอิคคิว เพราะต้องการให้อิคคิวเป็นคนเข้มแข็ง ไม่ติดแม่
อิคคิวตั้งอกตั้งใจศึกษาพระธรรม ความเจ้าปัญญาฉายแววขึ้นตามอายุในวัยประมาณ 10 ขวบ อิ๊กคิวซังแต่งกลอนวิพากษ์วิจารณ์ความประพฤติที่ไม่เหมะสมของพระภิกษุนิกายหนึ่งที่กอบโกยทรัพย์สินยศฐาบรรดาศักดิ์บนความทุกข์ยากของชาวบ้าน พออายุ 13 ปี มีโอกาสเข้าพบแม่ทัพใหญ่ชื่อ "อาซิคะงะโยชิมิสึ" หรือ "ท่านโชกุน" ในการ์ตูนอายุได้ 17 ปี อิ๊กคิวซังได้ออกจากวัดอังโกะกุจิ ฝากตัวเป็นศิษย์ของ "หลวงพ่อเคนโอ" ที่วัดไซกอนจิ ได้ฉายาว่า "โชจุน" ที่วัดแห่งนี้หลวงพ่อเคนโอเน้นการปฏิบัติโดยต้องทำงานอย่างหนัก และต้องอยู่กับสิ่งสกปรกเสียเป็นส่วนใหญ่
ต่อมาหลวงพ่อมรณภาพอิ๊กคิวซังจึงเดินทางไปวัด "อิชิยามา" อดอาหาร 7 วัน 7 คืน สวดมนต์อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้อาจารย์ต่อหน้าพระโพธิสัตว์ด้วยความเสียใจนี้เอง จึงคิดฆ่าตัวตาย ระหว่างที่เดินลงไปแม่น้ำเซตะ อิ๊กคิวซังจึงอธิษฐานจิตว่า "ถ้าพระโพธิสัตว์ต้องการให้ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ก็ขอให้ข้าพเจ้าฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ แต่หากชีวิตข้าพเจ้าไร้ซึ่งคุณค่าเสียแล้ว ข้าพเจ้าขออุทิศสังขารให้เป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำ" ระหว่างที่ดิ่งลงในท้องน้ำ อิ๊กคิวซังก็นึกถึงหน้าท่านแม่และคำสอนขึ้นมาทันใด "เป็นลูกผู้ชายต้องไม่ย่อท้อ" อิ๊กคิวซังจึงตะเกียกตะกายกลับขึ้นฝั่งวัดอังโกะกุจิ
หลังจากนั้นท่านอายุได้ 23 ปี ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อ "คะโซ" แห่งวัดโคอัน ซึ่งเป็นพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ แต่พอใจที่จะใช้ชีวิตอย่างสมถะและพอใจในวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและหนักหน่วงอิ๊กคิวซังต้องทำงานทั้งวัน และปฏิบัติอย่างหนัก! หน่วง นอกจากใช้แรงงานในวัดแล้ว อิ๊กคิวซังยังต้องสานรองเท้า เย็บเสื้อผ้าตุ๊กตาผู้หญิง และออกไปขายแรงงานในหมู่บ้านละแวกนั้นซ้ำยังโดนพระรุ่นพี่ที่ไม่ชอบหน้ากลั่นแกล้ง ทำร้าย เตะต่อยอยู่เสมอ แต่อิ๊กคิวซังก็อดทนในที่สุดความพยายามที่จะค้นหาสัจธรรมก็สำเร็จ
เมื่ออิ๊กคิวซังสามารถแก้ปริศนาธรรมที่หลวงพ่อคะโซตั้งไว้ได้สำเร็จ ด้วยวัยเพียง 25 ปีเท่านั้น และที่นี่เองที่ "พระโชจุน"ได้รับฉายาใหม่ว่า "อิ๊กคิว โซจุน" หมายความว่า "รู้พ้นจากโลกสมมติตามบัญญัติของลัทธิเซน" อิ๊กคิวซังน่าจะเป็นพระภิกษุที่บรรลุธรรม เมื่ออายุยังน้อยที่สุดรูปหนึ่งในพระพุทธศาสนาเพราะว่าท่านสามารถบรรลุธรรมในขณะที่นั่งสมาธิบนเรือริมฝั่งทะเลสาบ "เหตุแห่งความทุกข์และความเศร้าหมองที่เกิดขึ้นในชีวิตล้วนเกิดจากจิตที่เต็มไปด้วยอัตตา" คือแก่นธรรมที่ท่านค้นพบ
เมื่อทราบว่าอิ๊กคิวซังสามารถบรรลุแก่นธรรม หลวงพ่อคะโซมีความประสงค์ที่จะมอบใบสำเร็จเปรียญธรรม และตำแหน่งเจ้าอาวาสให้อิ๊กคิวซังสืบทอด แต่อิ๊กคิวซังปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งส! มมติ" ท่านจึงออกธุดงค์
กระทั่งอายุ 34 ปี อิ๊กคิวซังมีโอกาสเข้าเฝ้าท่านพ่อ ซึ่งเป็นองค์จักรพรรดิ ชีวิตช่วงนี้เองที่เป็นที่กล่าวขวัญถึง และขยาดหวาดกลัวและเกลียดชังจากภิกษุด้วยกัน อิ๊กคิวซังเคยไปร่วมงานครบรอบวันมณภาพของพระผู้ใหญ่รูปหนึ่งด้วยสภาพมอมแมมสกปรกจีวรหลุดลุ่ย พร้อมทั้งด่าทอพระที่มือถือสากปากถือศีล เพราะในสมัยนั้นมีพระภิกษุชั้นผู้ใหญ่จำนวนมากที่ทำตัวเคร่งพระวินัย ถึงขนาดบอกว่าผู้หญิงเป็นมารศาสนา แต่ว่ากลับลักลอบให้แม่เล้า-แมงดานำโสเภณีมาบำเรอถึงในกุฏิวัดคิมิโอชิ
นอกจากนี้อิ๊กคิวซังยังต่อต้านพระผู้มีอิทธิพลมีหลายรูปที่หลอกชาวบ้านว่าจะสามารถบรรลุธรรมได้หากบริจาคปัจจัยให้พระมากๆ อิ๊กคิวซังปฏิเสธสังคมพระในขณะนั้นอย่างรุนแรงและทำทุกอย่างที่ถือว่าเป็นอาบัติ เช่น ดื่มสุรา เล่นการพนัน ฉันเนื้อสัตว์ ไม่โกนผมและหนวดเครา เดินเข้าออกซ่องโสเภณีอย่างเปิดเผยเป็นว่าเล่น
การกระทำแบบนี้อิ๊กคิวซังต้องการต่อต้านและเสียดสีรวมทั้งสั่งสอนพระจอมปลอมในยุคนั้นให้ละอาย กับการลวงโลก อิ๊กคิวซังคบหาและปฏิบัติกับโสเภณีอย่างเปิดเผยสุภาพและให้เกียรติ ทั้งยังเคยแบ่งส้มจากบาตรให้เคยปีนเขาเสี่ยงตายไปหาสมุนไพรมารักษาโสเภณีที่ป่วยหนักแม้ว่าต่อมาจะเสียชีวิตก็ตาม
เมื่อท่านอายุได้ 75 พรรษา ระหว่างที่ธุดงค์เร่ร่อนหลบภัยสงครามภายในประเทศมาอยู่ที่เมืองซึมิโยชิ ท่านได้พบกับ "โมริ" ศิลปินขอทานตาบอด ซึ่งภายหลังท่านได้รับนางเป็นภรรยาทั้งคู่ได้ใช้ชีวิตร่วมกันคืนเดียว โมริก็ หนีไปเพราะเกิดความอับอายและเกรงว่าตนเองจะทำให้อิ๊กคิวซังเสื่อมเสียชื่อเสียงแต่นางก็กลับมาหาอิ๊กคิว อีกหน เพราะไม่สามารถดำรงชีวิตลำพังได้ในสภาวะสงครามได้
เมื่ออายุได้ 85 พระจักรพรรดิแต่งตั้งให้อิ๊กคิวซังเป็น เจ้าอาวาสวัดไดโตะกุจิซึ่งเป็นวัดหลวงที่สำคัญที่สุดในสมัยนั้น เมื่อไม่สามารถขัดพระราชประสงค์ได้ อิกคิวซังจึงยอมรับตำแหน่งแต่เพียงแค่วันเดียวก็ลาออกกลับมาอยู่วัด ; เมียวโชจิ ที่ท่านสร้างจวบจนวาระสุดท้าย หลังจากกลับมาอยู่วัดนี้ ได้เพียง 2 ปีท่านเป็นมาเลเรีย ท่านละสังขารในท่านั่งสมาธิในอ้อมกอดของโมริ ภรรยาสุดที่รัก ในเวลา 21 พฤศจิกายน ค.ศ.1481 หรือ พ.ศ.2024 เมื่ออายุได้ 88 ปี
10 เรื่องเกี่ยวกับอิ๊คคิวที่คุณอาจไม่เคยรู้
1. พระอิ๊คคิวเคยหาเลี้ยงชีพโดยการรับจ้างเย็บตุ๊กตาเด็กผู้หญิงและเย็บรองเท้าฟาง
2. "ฮารุยาชะ" เด็กสาวในคณะละครเร่คือรักแรกที่ไม่สมหวังของพระอิคคิวในวัยแตกเนื้อหนุ่ม ทั้ง สองเจอกันครั้งแรกตอนที่อิคคิวถูกซ้อมแล้วฮารุยะชะเข้าไปช่วย
3. สมัยเป็นเณร เคยได้รับรางวัลความฉลาดเป็นดาบจากโชกุนโยชิมิทสุ
4. พระอิคคิวเป็นเจ้าของสูตรการทำนัตโตหรือถั่วหมักอิคคิวที่มีชื่อเสียง เป็นของฝากของโตเกียว
5. พระอิคคิวสวมจีวรสีดำที่พระมารดาเย็บถวายอยู่ชุดเดียวตั้งแต่อายุ 33 ปี จนกระทั่งมรณภาพ
6. คนปะรุ เซ็งระกุ ผู้ปฏิวัติละครโนะ มุระตะ ชูโค ผู้ให้กำเนิดพิธีชงชา ล้วนเคยเป็นลูกศิษย์ของพระ อิคคิว
7. พระอิคคิวปลูกหนวดตัวเองไว้ที่รูปปั้นไม้จำลองที่ให้ลูกศิษย์แกะสลักขึ้น
8. ครั้งหนึ่งพระอิคคิวเคยอาพาธด้วยโรคท้องร่วงอย่างรุนแรงจนเกือบมรณภาพ
9. ในปีหนึ่งที่อากาศหนาวมาก พระอิคคิวเอาพระพุทธรูปไม่เล็กๆ มาจุดไฟเผาให้ความอบอุ่น
10. พระอิคคิวเคยถูกชาวบ้านไล่ตี เพราะไปยืนปัสสาวะรดพระพุทธรูปริมทาง
เรื่องจริง ชินเนม่อนรู้จักกับอิคคิวตอนอายุ 30 ปี จากการถามตอบ ปุจฉา-วิสัจฉนา ชินเนม่อนเป็นทหารรับใช้ท่านโชกุนอาชิคางะ โยชิโนริ (โชกุนลำดับที่ 6 ในรัฐบาลมุโรมะจิ) ทำหน้าที่ดูแลการเงินของรัฐบาล มีพรสวรรค์ในการแต่งโครงกลอนเป็นเลิศ ออกติดตามเป็นลูกศิษย์อิคคิวในช่วงบั้นปลายชีวิตเพื่อศึกษาพระธรรม