เรื่องราวที่เกิดในวัฒนธรรมของชาวมายัน เมื่อการมีชีวิตอยู่แบบสงบสุขเรียบง่ายของ จากัวร์ (รูดี้ ยังบลัด) ได้ถูกทำลายอย่างเหี้ยมโหดโดยการใช้กำลังบุกรุกอย่างรุนแรง เขาจึงต้อง พาตัวเองเข้าสู่การเดินทางที่เต็มไปด้วยภยันตราย
หนังดี Apocalypto
สู่โลกซึ่งเต็มไปด้วยความกลัวและการกดขี่ สถานที่ซึ่งมีจุดจบแบบทรมานรอคอยเขาอยู่ การดำเนินไปของโชคชะตาที่พลิกผัน โดยมีพลังความรักจากครอบครัวและคนรักที่คอยกระตุ้นเขา สุดท้ายแล้วเขาจะฝ่าฟันสิ่งต่างๆ เพื่อกลับสู่บ้านและรักษาหนทางแห่งชีวิตแบบเดิมของเขาได้หรือไม่
ภาพยนตร์Apocalypto ของ เมล กิ๊บสัน ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ อารยธรรมของชนเผ่ามายาได้กลายเป็นประเด็นร้อนสร้างความไม่พอใจให้กับชาวพื้น เมืองตามรายงานจาก BBC NEWS
ลูซิโอ แย็กซอน นักเคลื่อน ไหวด้านสิทธิมนุษยชนชาวกัวเตมาลาซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีบ้านอยู่ในอาณาจักรของ ชนเผ่ามายาที่ตั้งอยู่ในบริเวณอเมริกากลาง พูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าดูไม่สมจริง โดยกล่าวว่า “ผู้กำกับหนังเรื่องนี้( เมล กิ๊บสัน )ต้องการสื่อออกมาว่าชนเผ่ามายาเป็นชนเผ่าที่ดุร้ายป่าเถื่อน”
แต่ทางด้าน ริชาร์ด แฮนเซนผู้ ให้คำปรึกษาด้านโบราณคดีแก่หนังเรื่องนี้ กล่าวว่า “เมล กิ๊บสันพยายามจะสร้างบริบททางสังคมขึ้นมาในเรื่องความคิดเกี่ยวกับการเหยียด ผิว โดยเมล ผู้มีส่วนร่วมในการเขียนบทเรื่องนี้พยายามที่จะบอกเล่าเรื่องราวที่เจ็บปวด ก็เพื่อจะทำให้หนังออกมาถูกต้องตามที่ประวัติศาสตร์ระบุไว้และสมจริงที่สุด”
อย่างไรก็ตามบรรดาโฆษกส่วนตัวของเมลก็ไม่ว่างที่จะออกความเห็นใดๆในเรื่อง ดังกล่าว
และเมื่อหนังตัวอย่างของเรื่องนี้ถูกเผยแพร่ไปที่กัวเตมาลา บรรดาหัวหน้าชนเผ่ามายากล่าวให้ความเห็นว่าในฉากที่ชาวมายันใช้กระดูกแทงคน เพื่อนำมาบูชายัญเป็นการแสดงให้เห็นด้านเดียวของวัฒนธรรมพวกเขา
อิกนาชิโอ โอชาวผู้อำนวยการมูลนิธิ Nahual ซึ่งทำหน้าที่โปรโมทวัฒนธรรมของชาวเผ่ากล่าวว่า “กิ๊บสันนำเสนอเผ่ามายาเป็นชนเผ่าเหยียดผิวที่ก้าวร้าวและชอบโหดร้าย ทารุณต่อผู้อื่นมายาวนานก่อนการมาเยือนดินแดนแถบนี้ของชาวยุโรปและด้วยเหตุ นี้ในความเป็นจริงแล้วพวกเขาสมควรที่จะได้รับความช่วยเหลือมากกว่า”
อย่างไรก็ตามภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ได้รับคำชมอย่างมากในอเมริกา ซึ่งบทพูดจะใช้ภาษา Yucatec Maya และกิ๊บสันก็ได้คัดเลือกนักแสดงส่วนใหญ่เป็นชาวพื้นเมืองที่ได้รับการยกย่อง จากทางกลุ่มของชาวละตินและอเมริกันพื้นเมือง (อินเดียนแดง)ในสหรัฐอเมริกา
อารยธรรมชนเผ่ามายาล่มสลายเมื่อช่วงศตวรรษที่ 8 โดยจำนวนประชากรกว่าครึ่งหนึ่งของชาวกัวเตมาลาสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่ามายา ดั้งเดิม ซึ่งส่วนใหญ่จะประสบกับความยากจน ไม่ค่อยได้เข้าถึงการศึกษาและบริการทางสังคมเท่าที่ควร ประชากรกว่า 200,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมายาเสียชีวิตระหว่างสงครามกลางเมืองเมื่อ 36 ปีที่แล้ว โดยสงครามได้สิ้นสุดลงเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา
โดยทั่ว ๆ ไป หากว่าเรากล่าวถึง “การล่าอาณานิคม” เรา ๆ ท่าน ๆ มักจะนึกถึงแต่ภาพฝรั่งตัวขาวผมทอง ไปไล่ฆ่า ไล่ยิง ขูดรีดทรัพยากร จากประเทศอื่นๆ นอกยุโรป ไม่ว่าจะเป็น อัฟริกา อเมริกาเหนือใต้ เอเชีย หรือแม้กระทั่งชาวเกาะต่าง ๆ ในแถบเอเชียแปซิฟิก และออสเตรเลีย
ทั้ง ที่จริง ๆ แล้ว คำว่า “การล่าเมืองขึ้น” หากไม่จำกัดความหมายเฉพาะ การรุกรานของชาติตะวันตกแล้ว ก็มีมิติ ที่กินความถึง การรุกราน อาณาจักรของชาติที่ไม่ใช่ตะวันตกที่มีต่อ อาณาจักรที่อ่อนแอกว่า เช่น การสู้รบบริเวณตะวันออกกลาง การล่าประเทศราชของอยุธยา หรือกรุงเทพ ไม่ว่าจะเป็นการตีล้านนา ล้านช้าง หรือ การที่พม่ายึดครองล้านนา แม้แต่การโจมตีกรุงศรีอยุธยาก็น่าจะจัดว่าเข้าข่ายคาบเกี่ยวการล่าอาณานิคม อยู่
เพียงแต่ว่า การรุกรานของชาติตะวันตก ทั้งจักรวรรดิสเปน จักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิ์ฝรั่งเศส นั้นกินพื้นที่ไปเกือบทั่วโลก
เมื่อ เราผ่านรูปแบบการศึกษามาในระเบียบโลก ที่แม้สหรัฐอเมริกาจัดขึ้นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง แต่กลิ่นอายของความเป็นการมองโลกแบบเจ้าอาณานิคมตะวันตกก็ยังคงมีอยู่มาก
ด้วย เหตุนี้เอง จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ตลอดทั้งหลักสูตรจะพูด ถึงแต่การ ล่าอาณานิคม ระหว่างคนจากยุโรป และคนที่ไม่ใช่ยุโรป ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการใช้ศาสนานำ หรือการจับฉวยอาวุธเข้าประหัตประหารกันก็ตามแต่
โดยที่เราไม่ได้ และ/หรือ ลืมใส่ใจไปว่า ประวัติศาสตร์ คือการรบพุ่ง ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างอารยธรรมนั้นก็มีส่วนประกอบสร้างประวัติศาสตร์โลกใน อย่างที่มันเป็น
ก่อนจะรู้ว่าลาว ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส เราก็ต้องเข้าใจว่า ล้านช้างต้องส่งบรรณาการให้กับกรุงเทพกี่ครั้ง มีประวัติศาสตร์ การรบ กี่หน ที่ถูกลบออกไปไม่พูดถึง
เช่นเดียวกัน ก่อนจะรู้ว่า อังกฤษยึดพม่าเป็นอาณานิคม เราก็ต้องเข้าใจว่าพม่า เคยรบกับ จีนกี่คร้ง ใครแพ้ชนะบ้าง หรือ พม่า เคยยึดล้านนาเป็นประเทศราชกี่หน (แต่เท่าที่เห็นในบทเรียนประวัติศาสตร์พื้นฐานรู้สึกว่า จะมีแต่เรื่องการที่พม่าบุกกรุงศณีอยุธยา แล้วก็สงครามเก้าทัพสมัยต้นรัตนโกสินทร์)
หนัง เรื่อง Apocalypto เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงการขับเคี่ยวและปฏิสัมพันธ์กันของ มนุษย์บนแผ่นดินอเมริกา ก่อนที่ชาวยุโรปจะเดินทางไปถึง
เรื่องราวของ หนังบรรยายถึงการใช้ชีวิตที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ของสังคมในระดับชนเผ่า
ปฏิ สัมพันธ์ระหว่างชนเผ่าต่อชนเผ่า แม้ว่าอาจจะมีพุ่งรบกันบ้าง แต่ก็เป็นไปอย่างถ้อยทีถ้อยาศัย แต่การสู้รบดูจะรุนแรงโหดร้ายทารุณมากขึ้น เมื่อสังคมระดับอาณาจักรไปรุกราน กลุ่มคนที่เล็กกว่า ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ หรือความต้องการแรงงานในการก่อสร้างพีระมิดก็ตามแต่
เนื้อ เรื่องของหนัง แสดงให้เห็นถึงไหวพริบ การเอาตัวรอดของหนุ่มลูกหัวหน้าเผ่าเล็ก ๆ เผ่าหนึ่งในป่า ซึ่งถูก ทหารมายาจากอาณาจักรมารุกราน
เพื่อนชาวบ้านถูกฆ่าตายเกือบหมด ยกเว้น คนที่พอจะเป็นแรงงานในการก่อสร้างเทวสถานได้ ก็จะถูกเกณฑ์เข้าไปในเขตอาณาจักร ซึ่งเราจะเห็นการชิงไหวชิงพริบ ความอดทน (อย่างมาก) ของผู้ถูกรุกรานขูดรีด ที่กว่าจะสลัด หนีเอาตัวรอด ออกมา นอกเหนือจะใช้ความแข็งแกร่งของร่างกายและจิตวิญญาณเป็นอย่างยิ่ง แล้วต้องใช้ไหวพริบในการต่อสู้อีกด้วย
หลาย ๆ ครั้งที่ชายชาวป่าผู้นั้น เกือบจะเอาตัวไม่รอดอยู่แล้ว เพราะโดนทหารจากในเมืองไล่ล่า หลายคน
จน วิ่งหนีเข้าไปในป่า แล้วยังไปเจอ สัตว์ป่า เข้าให้อีก
คือหนีคน ไม่พอยังต้องหนี เสือ
แต่ เขาก็มีไหวพริบพอที่จะ “ล่อ” ให้เสือ “วิ่ง” มาชน ทหารจากในเมืองเหล่านั้น
และ นั่นไม่ใช่ครั้งเดียว ที่เราเห็นการ สร้างสมดุลของอำนาจของชายหนุ่มผู้เฉลียวฉลาดผู้นั้น
หลายครั้งที่เราเห็น เขา ใช้งู ใช้เสือ ใช้น้ำตกหน้าผา แม้กระทั่งเขียดหรือ ปาด เขาก็ยังเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
ตรง นี้เป็นข้อพิสูจน์แล้วว่า คนเราจะมีความเป็นเลิศหรือเอาตัวรอดได้นั่น ไม่ใช่ แค่จะมีพลังกำลังอย่างเดียว แต่ต้องมี ไหวพริบ ในการตัดตอนศัตรูของตนอีกด้วย
มาถึงตรงนี้แล้วถ้าจะให้ผมบอกว่า หนังเรื่อง Apocalypto ชวนให้ผมนึกถึงสุภาษิตฝรั่งบทที่ว่า
“We cannot direct the winds but we can adjust our sails
เราไม่สามารถกำหนดทิศทาง ลมได้แต่เราสามารถปรับใบของเรือให้แล่นได้”
(อุตส่าห์จะรื้อสร้าง ลัทธิล่าอาณานิคมแล้วยังต้องใช้สุภาษิตฝรั่งอีก ฮาฮา)
การ “ปรับใบเรือ” ของ คนผู้มีอำนาจน้อยกว่า ให้ “พายุ” ลูกที่หนึ่ง พัดไปชน “พายุ” ลูกที่สอง หรือไม่ก็ กำนดให้ พายุ พัด พาเราไปในที่ ๆ เราอยากไป ย่อม จะเป็นงานง่าย กว่าที่เราจะลุกขึ้นมาต่อสู้กับพายุด้วยตัวของเราเอง ทั้งที่เราก็ยังไม่มีขีดความสามารถขนาดนั้น
พูดถึงตรงนี้ แล้วผมก็นึกถึงเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินของประเทศที่ปริ่ม ๆ ว่าจะถูกชาติตะวันตกรุกราน ในยุคล่าอาณานิคม
นอกจากจะต้องพัฒนาโครง สร้างของ ประเทศชาติ (nation-state) แบบยุโรป (ที่เพิ่งจะปรับเปลี่ยนมาจากรูปแบบการปกครองแบบอาณาจักรไม่นาน) แล้ว ยังจะต้องรู้จัก เล่นเกมส์อำนาจให้ดี รู้ว่าชนกับใครตรง ๆ ไม่ได้ ก็ต้องพยายามดึงมหาอำนาจตัวอื่น เขามาคานอำนาจ ของคนที่กำลังจ้องจะรังแกเราอยู่
ใครทำงาน ทั้งสองอย่างนี้พร้อม ๆ กันไปได้ด้วยดี โอกาสเอาตัวรอดเงื้อมมือจักรวรรดิตะวันตกได้ก็มีสูง
เหมือนกับที่ ชายหนุ่มเผาพื้นเมืองคนนั้น ใช้ไหวพริบ หนีเอาตัวรอดมาได้จากทั้ง การไล่ล่าของทหารเมือง และสัตว์ป่า ซึ่งตรงนี้ น่าจะรวมไปถึงการไล่ล่าอาณานิคมของฝรั่งผิวขาวผมทองที่ปรากฏตอนท้ายเรื่อง ด้วย
สำหรับผมสิ่งแรกที่นึกถึง(และเป็นสิ่งเดียว)คือฉากการทรมานที่แสนยาวนาน ของ “พระเยซู” ระหว่างที่ทางที่จะไปถูกตรึงกางเขน มันเป็นฉากที่ทั้งทรมานตัวละครในหนัง และก็ทรมานคนดูตาดำๆอย่างผมเช่นกัน ซึ่งถ้าคิดในแง่ที่ว่าผมเป็นชอบดูหนังที่มีความรุนแรง(มากๆ) และไม่ค่อยจะรู้สึกรู้สาอะไรกับความรุนแรงเหล่านั้น(ควรหาหมอโรคจิตดีมั้ย เนี่ย!)กะอีแค่ฉากทรมานร่างกายคน ผมจะรู้สึกทรมานไปด้วยทำไม? ซึ่งถ้าคิดแบบซับซ้อนอีกหน่อยก็คือ หนังที่มีความรุนแรงแบบที่ผมชอบ คือหนังที่ให้เรามองความรุนแรงแบบนั้นเป็นความบันเทิงชนิดนึง เราเลยเพลิดเพลินไปกับมันได้ แต่กับหนังที่มีความรุนแรงแบบจงใจให้คนดูรู้สึกสลดกับสิ่งที่เห็น(แบบหนัง เรื่อง The Passion of the Christ)ผมรู้สึกได้ทันทีว่าความรุนแรงแบบนี้ไม่ใช่เรื่องน่าสนุกแต่อย่างใด ดังนั้นผมจึงรู้สึกทรมานกับฉากดังกล่าวมากๆเลยล่ะครับ ซึ่งก็ต้องยกเครดิตให้กับผู้กำกับ เมล กิ๊บสัน ที่คุมอารมณ์ของฉากนั้นได้ดีมากๆ และกับงานชิ้นล่าสุดของเขา “Apocalypto” ก็เช่นกันหนังมีฉากความรุนแรงเยอะมาก แต่สิ่งที่ต่างกับ The Passion of the Christ ก็คือจุดประสงค์ของการเสนอความรุนแรงที่ต่างกัน The Passion of the Christ นำเสนอความรุนแรงแบบให้คนดูสลดกับสิ่งที่เห็น ส่วน Apocalypto จะนำเสนอความรุนแรงในแบบเพื่อความบันเทิงมากกว่า
Apocalypto เป็นเรื่องราวของชนเผ่าๆหนึ่งที่อยู่กันอย่างสงบสุข จนมาวันหนึ่ง เผ่านี้ถูกรุกรานจากอีกเผ่า(ที่หนังบอกว่าเป็นชนเผ่า “มายา”)และเผ่าที่รุกรานนี้ก็จับคนในหมู่บ้านนี้ไปเพื่อบูชายันและเด็กหนุ่ม “จากัวร์” คือหนึ่งในผู้ที่ถูกจับตัวไป เขาคือคำพยากรณ์ที่ว่าจะทำให้ชนเผ่า มายา ต้องล่มสลาย
หนังเรื่อง Apocalypto หากดูแต่หน้าหนัง ความรู้สึกแรกคงนึกว่ามันเป็นหนังอิงประวัติศาสตร์ ซึ่งความจริงแล้วหนังเรื่องนี้เป็นหนังแอ็กชั่นนะครับ เป็นหนังแอ็กชั่นแบบเต็มตัวด้วย ซึ่งเนื่องจากตรงนี้เลยทำให้บางคนต้องอารมณ์เสีย เพราะคิดว่าจะได้ดูหนังที่มีแง่มุมของรายเอียดของประวัติศาสตร์จากหนัง พูดง่ายๆก็คือ Apocalypto เป็นหนังแอ็กชั่นที่มีฉากหลังในยุคโบราณน่ะครับ และสำหรับจุดเด่นของหนังเรื่องนี้ก็อยู่ที่ฉากแอ็กชั่นที่มีทั้งความรุนแรง และความสมจริงมาก และหนังก็ใส่ฉากแอ็กชั่นมาแบบไม่ยั้งอีกด้วย และ กิ๊บสัน ก็ยังคงคุมอารมณ์ของฉากนั้นๆได้ดีมากเช่นเดิม(เช่นฉากการบูชายัน หนังทำออกมาได้ตื่นเต้นมาก)
Apocalypto อาจจะสร้างความน่าผิดหวังให้กับคนที่คิดว่ามันจะเป็นหนังอิงประวัติศาสตร์ แต่สำหรับผู้ที่กำลังมองหาหนังแอ็กชั่นชั้นดีซักเรื่อง หนังเรื่องนี้คงเป็นคำตอบให้คุณได้