พระนครศรีอยุธยา (พย.)
คำขวัญ ประจำจังหวัด
"ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา"
ราวศุภมัสดุ 721 ปีขาล โทศก วันศุกร์ เดือนห้า ขึ้นหกค่ำ เพลา 3 นาฬิกา 9 บาท หรือตรงกับวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 1893 พระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ขึ้นที่ตำบลหนองโสน ชีพ่อพราหมณ์ได้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบาตรสุมเพลิง(ชื่อพิธีทำ เพื่อแก้เสนียด) ได้สังข์ทักษิณาวัตรขอนหนึ่งใต้ต้นหมัน เพราะเหตุดังกล่าวตราประจำจังหวัดจึงเป็นรูปสังข์ ทักษิณาวัตรประดิษฐานบนพานทอง บรรจุไว้ภายในปราสาท 1 หลัง ใต้ต้นหมัน
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งเป็นสามแถบเท่า ๆ กัน มี 2 สี โดยสีฟ้าอยู่ตรงกลางขนาบด้วยสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีประจำ ภาค 1 ทั้งสองข้าง กลางธงที่แถบสีฟ้ามีตราประจำจังหวัดเป็นรูปปราสาทสังข์ทักษิณาวัตรใต้ต้นหมัน ใต้รูปปราสาท มีคำว่า " อยุธยา " คันธงมีแถบสีเหลืองและสีฟ้าสองแถบ
ต้นไม้ประจำจังหวัด
ต้นหมัน เป็นไม้พันธ์ตระกูล Boraginaceae เป็นต้นไม้ขนาดกลาง สูงราว 60 ฟุต ลำต้นคล้ายกระบอก เนื้อไม้ สีเทาปนสีน้ำตาล ความแข็งปานกลาง เปลือกเนื้อไม้สีเทาปนสีน้ำตาล หนาประมาณ 1/2 นิ้ว มีรอยแตกร้าวยาวไป ตามลำต้น ใบยาวประมาณ 5 นิ้ว กว้าง 3 นิ้ว รูปไข่ โคนใบคล้ายรูปหัวใจ ดอกสีขาว ผลเป็นพวงสีเขียวเมื่อสุข ต้นหมันมีขึ้นทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม้ชนิดนี้ไม่นิยมใช้ประโยชน์กัน ต้นหมัน เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพราะเมื่อพระเจ้าอู่ทองย้ายเมืองมาตั้งที่ตำบลหนองโสน ได้ขุดพบสังข์ ทักษิณาวัตร 1 ขอนอยู่ใต้ต้นหมันอันเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ดอกไม้ประจำจังหวัด
ดอกโสน เป็นไม้ตระกูล Leguminosae เป็นไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนโตเร็วลำต้นอวบขึ้นเองตามแม่น้ำลำคลองทั่วไปใน ภาคกลาง ดอกสีเหลืองเป็นช่อห้อย ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เมื่อ พ.ศ. 1893 พระเจ้าอู่ทองตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่ ตำบลเวียงเหล็ก เลือกชัยภูมิที่จะตั้งพระราชวัง เห็นที่ตำบลหนองโสนเหมาะสมเพราะมีต้นโสนมาก ออกดอก เหลืองอร่ามคล้ายทองคำแลสะพรั่งตา ดังนั้นดอกโสนจึงถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด
ขอบคุณที่มาเรื่อง สัญญลักษณ์ http://www.ayutthaya.go.th/symbol.htm
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอดีตราชธานีของไทยมีหลักฐานของการ เป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 โดยมี ร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะ ตำนานพงศาวดาร ไปจนถึงหลักศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งเมือง อโยธยาหรืออโยธยาศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระราม มีที่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา มีบ้าน เมืองที่มีความเจริญทางการเมือง การปกครอง และมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายในการปกครอง บ้านเมือง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส พระอัยการลักษณะกู้หนี้
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง ราชวงศ์บ้านพลูหลวง กรุงศรีอยุธยาสูญเสียเอกราชให้แก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรกใน พ.ศ. 2112 สมเด็จพระนเ้รศวร มหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ.2127 และเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช ทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกัน แล้วทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่กวาดต้อนผู้คนจาก
กรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคง แ่ต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้างยังมีคน ที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาาศัยอยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมือง จัตวาเช่นเดียวกับสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยการ ปกครองส่วนภูมิภาคนั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้นโดยให้รวมเมือง ที่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดย ในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์ และ เมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และต่อมาในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อจากมณฑลกรุงเก่า
เป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหาร การปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบ เทศาภิบาล ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนถึงปัจจุบัน
ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถาน ภายในเมืองอยุธยาเพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษประจวบกับในปี พ.ศ.2498 นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทยและมอบเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นการบูรณะ โบราณสถานในอยุธยาอย่างจริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการ ดำเนินการ จนองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือ ยูเนสโก มีมติให้ขึ้นทะเบียนนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็น " มรดกโลก " เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา
อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปี มีประวัติในการปกครอง การกอบกู้เอกราช วีรกรรมและด้านขนบธรรม เนียมประเพณีมากมาย เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหารดังคำกล่าวว่า " ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว " ทั่ว ทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมากมายไปด้วยวัดวาอาราม ปราสาทราชวังและปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุมากมาย กรุงศรีอยุธยามีพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาจักรสืบต่อกันมา 33 พระองค์ มีราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันครองอาณาจักร รวม 5 ราชวงศ์
1. ราชวงศ์อู่ทอง 4 พระองค์
2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ 13 พระองค์
3. ราชวงศ์สุโขทัย 7 พระองค์
4. ราชวงศ์ปราสาททอง 4 พระองค์
5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง 6 พระองค์
พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์ พระราชวงศ์
1. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) 1893 - 1912 (19 ปี) อู่ทอง
2. สมเด็จพระราเมศวร (โอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 1 1912 -1913 (1 ปี ) อู่ทอง
3. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) 1913 - 1931 (18 ปี) สุพรรณภูมิ
4. สมเด็จพระเจ้าทองลัน (โอรสขุนหลวงพะงั่ว) 1931 - 1931 (7 วัน) สุพรรณภูมิ
5. พระราเมศวร สมเด็จพระราชาธิราช (โอรสพระราเมศวร) 1931 -1938 ( 7 ปี)1938 -1952 (14 ปี ) อู่ทอง
6. สมเด็จพระอินราชาธิราช (เจ้านครอินทร์) โอรสพระอนุชาของขุนหลวงพระงั่ว 1952 - 1967 (16 ปี) สุพรรณภูมิ
7. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โอรสเจ้านครอินทร์ 1967 - 1991 (16 ปี) สุพรรณภูมิ
8. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (โอรสเจ้าสามพระยา) 1991 - 2031 (40 ปี) สุพรรณภูมิ
9. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2031 - 2034 (3 ปี) สุพรรณถูมิ
10. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (โอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2034 - 2072 (38 ปี) สุพรรณภูมิ
11. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (โอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2072 -2076 (4 ปี) สุพรรณภูมิ
12. พระรัษฎาธิราช (โอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4) 2076 -2077 (1 ปี) สุพรรณภูมิ
13. สมเด็จพระไชยราชาธิราช (โอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2077 - 2089 (12 ปี) สุพรรณภูมิ
14. พระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) (โอรสไชยราชาธิราช) 2089 - 2091 (2 ปี) สุพรรณภูมิ
15. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา) 2091 - 2111 (20 ปี) สุพรรณภูมิ
16. สมเด็จพระมหินทราธิราช (โอรสพระมหาจักรพรรดิ) 2111 - 2112 (1 ปี) สุพรรณภูมิ
17. สมเด็จพระมหาธรรมราชา 2112 - 2133 (21 ปี) สุโขทัย
18. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (โอรสพระมหาธรรมราชา) 2133 - 2148 (15 ปี) สุโขทัย
19.สมเด็จพระเอกาทศรถ (โอรสพระมหาธรรมราชา) 2148 -2153 (5 ปี) สุโขทัย
20. พระศรีเสาวภาคย์ (โอรสพระเอกาทศรถ) 2153 - 2153 (1 ปี) สุโขทัย
21. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (โอรสพระเอกาทศรถ) 2153 - 2171 (17 ปี) สุโขทัย
22. สมเด็จพระเชษฐาธิราช (โอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2172 - 2172 (8 เดือน) สุโขทัย
23. พระอาทิตยวงศ์ (โอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2172 - 2199 (28วัน) สุโขทัย
24. สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ออกญากลาโหมสุริยวงค์) 2172 - 2199 (27 ปี) ปราสาททอง
25. สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (โอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2199 - 2199 (3 - 4 วัน) ปราสาททอง
26. พระศรีสุธรรมราชา (อนุชาพระเจ้าปราสาททอง) 2199 - 2199 (3 เดือน) ปราสาททอง
27. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (โอรสพระเจ้าปรารสาททอง) 2199 - 2231 (32 ปี) ปราสาททอง
28. สมเด็จพระเพทราชา 2231 - 2246 (15 ปี) บ้านพลูหลวง
29. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) 2246 - 2275 (6 ปี) บ้านพลูหลวง
30. สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (โอรสพระเจ้าเสือ) 2275 - 2301 (24 ปี) บ้านพลูหลวง
31. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (โอรสพระเจ้าเสือ) 2275 - 2301 (26 ปี) บ้านพลูหลวง
32. สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 - 2301 (2 เดือน) บ้านพลูหลวง
33. สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์(พระเจ้าเอกทัศน์) (โอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 - 2310 (9 ปี) บ้านพลูหลวง