วิธีการประหารที่นานาชาติมีใช้อยู่

ในปัจจุบันวิธีการประหารที่นานาชาติมีใช้อยู่ คือ

1 การแขวนคอ (Hanging )

เป็นวิธีการประหารที่นิยมแพร่หลายมากในประเทศยุโรปและอเมริกาในสมัยก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การแขวนคอนิยมทำในที่สาธารณะให้ประชาชนดูเพื่อมิให้เอาเยี่ยงอย่าง ต่อมาถูกวิจารณ์ว่าไม่เหมาะสมจึงได้หวนกลับไปใช้ในเรื่องจำหรือสถานที่ควบคุมเป็นแหล่งประหารชีวิต

ในลักษณะเป็นการปกปิด การแขวนคอ ปัจจุบัน ยังคงถือปฏิบัติอยู่ 58 ประเทศ

ได้แก่ ประเทศเครือจักรภพ สหรัฐอเมริกาบางมลรัฐ แคนาดา ญี่ปุ่น อีรัก อีหร่าน อินเดีย ฯลฯ

2 การยิงเป้า (Shooting)

เป็นวิธีการประหารที่ใช้ปืนยิงผู้ถูกประหารซึ่งจะถูกมัดไว้กับหลักประหารการประหารด้วยการยิงเป้าหลายประเทศส่วนมากจะกระทำในเรือนจำ โดยมีเจ้าหน้าที่เรือนจำและแพทย์อยู่ในขณะลงมือประหาร ปัจจุบันมี 73 ประเทศทั่วโลก (รวมทั้งประเทศไทย)ใช้วิธีนี้

3 การนั้งเก้าอี้ไฟฟ้า (Electrocution)

เป็นการประหารที่นำความเจริญทางเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อให้นักโทษผู้ถูกประหารทรมานน้อยที่สุด คือตายทันที การประหารด้วยการนั้งเก้าอี้ไฟฟ้า (Electric Chair) นี้นำมาใช้ครั้งแรกในในเรือนจำออร์เบิร์นแห่งนครนิวยอร์ค วิธีนี้จะให้นักโทษนั้นเก้าอี้ซึ่งสามารถผ่านกระแสไฟฟ้าไปสู่ตัวผู้นั่งได้มีเครื่องพันธนาการที่มือและเท้าทั้งสองเพื่อมิให้ผู้ถูกประหารดิ้น ที่ประหารจะทำเป็นพิเศษ มีกระจกดูจากภายนอกได้ชัดเจน วิธีนี้ในทวีเอเชียไม่นิยมใช้ เพราะเสียค่าใช่จ่ายในการทำห้องและเก้าอี้ประหารสูง และต้องระมัดระวัง

4 การเข้าห้องแก๊ส (Lethal Gas or Gas Chamber)

 

วิธีการประหารโดยการเข้าห้องแก๊ส เป็นการวิวัฒนาการมากจาการนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า เนื่องมาจากมีนักอาชญาวิทยาหลายท่าน เห็นว่าการการประหารด้านการนั่งเก้าอี้ไฟฟ้านั้นจะทรมานมาก ถ้าในรายที่นักโทษที่มีร่างการแข็งแรง มีความอดทน ต่อต้านพลังไฟฟ้าได้สูงกว่าจะสิ้นใจตายก็จะเป็นเวลานาน ทำให้ผู้ถูกประหารทรมานมาก จึงคิดค้นวิธีการประหารที่ทรมานน้อยที่สุดขึ้นมาใช้ โดยการประหารด้วยการรมควันแก๊สขึ้นมาใช้แทน

    

 

 

5)การฉีดยา (Injection)

 

ในทางปฏิบัติประเทศที่มีความเจริญทางเทคโนโลยีสูง เช่น ในสหรัฐอเมริกาหลายรัฐ เช่น รัฐยูทาห์ มีการเปิดโอกาสให้นักโทษประหารเลือกวิธีที่จะถูกประหารได้ว่าต้องการตายแบบไหน และในปัจจุบันได้มีการนำวิธีการประหารชีวิตด้วยการฉีดยา (น้ำเกลือผสมสารเคมี) มาใช้ประหารชีวิตนักโทษโดยนักโทษสมัครใจ ปรากฏว่าวิธีการฉีดยานี้นักโทษแสดงอาการทรมานน้อยการวิธีประหารอื่นๆ ในอเมริกานักโทษเลือกที่จะถูกประหารด้วยวีนี้มากที่สุด (ประเทศไทยใน ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นการฉีดยาแทน ตามมาตรา ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๔๖)

6 ตัดหัว

    ยังมีใช้อยู่ 3 ประเทศ ได้แก่ คองโก ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรดส์

 

7 ใช้หินขว้างให้ตาย

      ยังใช้อยู่ 6 ประเทศ ได้แก่ ปากีสถาน ซาอุดิอาระเบีย ซูดาน สหรัฐอาหรับเอมิเรดส์สหรัฐ อัฟกานิสถาน และอิหร่าน

 

สำหรับนักโทษประหารที่เป็นหญิงซึ่งกำลังตั้งครรภ์ในขณะที่จะถูกประหารนั้นกฎหมาย

ในหลายประเทศเกือบทั่วโลกจะมีการผ่อนผันให้รอการประหารไว้จนกว่าจะคลอดบุตรเสียก่อน

นอกจากนี้ในรายที่นักโทษประหารเป็นโรคจิตวิกลจริต ก็จะรอการประหารไว้จนกว่าอาการวิกลจริตจะทุเลาหรือหาย (แล้วแต่กฎหมายแต่ล่ะประเทศ)

แนวความคิดฝ่ายสนับสนุนให้ใช้โทษประหารชีวิต

1) การประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่แก้แค้นทดแทน อันสาสมกับความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา และการกระทำที่ร้ายแรงถึงทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต อันเป็นสาเหตุอุกฉกรรจ์ โดยถือหลักที่ว่า เมื่อฆ่าผู้อื่นตาย ผู้ฆ่าควรถูกฆ่าให้ตายตกไปตามกันจึงจะสาสมเป็นการตอบแทนให้แก่ผู้ตายและญาติครอบครัวของผู้ตาย

2) ทำให้เกิดการยุติธรรมในสังคม และเป็นการถูกต้องชอบธรรม

3) ทำให้เกิดการเกรงกลัวมิให้เอาเยียงอย่าง

4) เป็นการป้องกันสังคมให้ปลอดภัยด้วยการกำจัดอาชญากรโดยเด็ดขาด เป็นการลดอาชญากรรมที่ได้ผลแน่นอน

5) การมีโทษประหารชีวิตทำให้ผู้กระทำผิดร้ายแรง ยอมรับสารภาพเมื่อถูกจับกุมและสอบสวนดำเนินคดี ซึ่งเป็นผลดีแก่รูปคดีและการพิจารณาของศาล เพราะการรับสารภาพจะเป็นเหตุบรรเทาโทษ ฉะนั้นโทษประหารชีวิตจึงมีส่วนเอื้ออำนวยในการสืบหาข้อเท็จจริงแห่งคดี

6) การมีโทษประหารชีวิตจะทำให้ผู้กระทำผิดยับยั้งในการกระทำรุนแรงแก่ผู้อื่นถึงชีวิต เพราะหากทำให้ผู้อื่นตายตนเองก็จะถูกประหารด้วย

7) โทษประหารชีวิตจำเป็นต้องมีอยู่ในกฎหมายอาญา และการที่จะลงโทษประหารแก่ผู้กระทำผิดคนใดนั้น ศาลย่อมต้องพิจารณาถึงลักษณะความรุนแรง และประเภทแห่งการกระทำผิดประกอบกันไปเสมอโดยรอบคอบ

8) การลงโทษประหาร เป็นการช่วยบรรเทาและผ่อนภาระแก่รัฐในการที่จะต้องควบคุมนักโทษเด็ดขาดคดีอุกฉกรรจ์

เป็นเวลานานหลายสิบปีอันเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของรัฐซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ควรนำเงินดังกล่าวไปใช้พัฒนาประเทศที่จำเป็นจะมีประโยชน์แก่ส่วนร่วมมากกว่า

นอกจากนี้ยังเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมดูแลนักโทษเด็ดขาดเหล่านี้ เพราะนักโทษคดีอุกฉกรรจ์เหล่านี้ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือ 20 ปี ส่วนใหญ่ก็จะคิดคบหลบหนีแหกคุกตลอดเวลา จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังและเสี่ยงตายมากตลอดเวลา ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมเครียดมาก

9) การลงโทษประหารเป็นการยับยั้ง การกระทำและลดอาชญากรรมอย่างเด็ดขาดโดยสิ้นเชิง คือเป็นการตัดตัวก่อเหตุให้หมดไป

นักอาชญาวิทยา นักสังคม และนักวิชาการสาขาต่างๆที่มีชื่อเสียงหลายท่าน ได้แสดงความคิดเห็นสนับสนุนโทษประหารชีวิตว่าจำเป็นต้องมีอยู่ในกฎหมายอาญา เช่น

เซอร์ เจมส์ สเตฟิน (Sir James Stephen) นักอาชญาวิทยาที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ ได้แสดงความเห็นสนับสนุนโทษประหารชีวิตว่า “ไม่มีบทลงโทษอื่นใดที่จะมีผลยับยั้งบุคคลมิให้กระทำผิดทางอาญาเท่ากับโทษประหารชีวิต”

บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมฝ่ายสนับสนุน ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าโทษประหารชีวิตควรมีอยู่เชื่อมั่นว่าการที่จะพิจารณา

ลงโทษประหารชีวิตแก่ผู้กระทำผิดรายใดนั้น ย่อมต้องผ่านการพิจารณาไตรตรองอย่างรอบคอบแล้ว

ผู้พิพากษาทั่วไปมักจะหลีกเลี่ยงการสั่งลงโทษประหารชีวิต ผู้พิพากษาอังกฤษถือคติว่า

“ปล่อยคนผิด 100 คนดีกว่าประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์เพียงคนเดียว” คตินี้เลยเป็นสุภาษิตคติของผู้พิพากษาทั่วโลก

ฝ่ายคัดค้านการลงโทษประหารชีวิต


มีเหตุผลสำคัญสรุปได้ดังนี้

1) ด้านความคิดที่ว่าโทษประหาร ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายว่าย่อมเทียบไม่ได้เลย

กับคุณค่าแห่งการมีชีวิติยู่ของบุคคล การลงโทษประหารเป็นการลดคุณค่าศักดิ์ศรีและหลักธรรมแห่งมนุษย์

2) การลงโทษประหาร มิใช่เป็นการยับยั้งข่มขู่ไม่ให้ผู้อื่นกระทำผิดเสมอไป เพระเมื่อเทียบสถิติฆาตกรรมในประเทศที่ยกเลิกโทษประหารกับประเทศที่ใช้โทษประหาร ปรากฏว่าในประเทศที่ใช้โทษประหารสถิติฆาตกรรมก็ยังมิได้ลดลงแต่ประการใด และประเทศที่เลิกการใช้ประหารบางประเทศกลับมีสถิติคดีฆาตกรรมลดลง

3) การลงโทษประหารขัดกับหลักทัณฑวิทยา เพราะวัตถุประสงค์ของการลงโทษนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขดัดนิสัยให้กลับตัวเป็นคนดีมิใช่การแก้แค้น

4) การลงโทษประหารถ้าเกิดความผิดพลาดไม่มีทางแก้ไข

5) เป็นการฆ่าอย่างเลือดเย็น ทำให้จิตใจเสื่อมเสีย

มีนักอาชญาวิทยาหลายคน มีความเห็นว่า ผู้ที่จะก่อคดีฆาตกรรมสยองขวัญ ไม่มีใครเคยคิดไว้ก่อนลงมือกระทำความผิดเลยว่าจะถูกจับได้แล้วถูกลงโทษประหาร

สรุป เป็นที่น่าสนใจว่าในปัจจุบันทุกประเทศในโลกมีสถิติการลงโทษประหารชีวิตน้อยลงเป็นลำดับ แต่ขณะเดียวกันก็มีบางประเทศที่เลิกใช้โทษประหารแล้วแต่กลับนำมาใช้ใหม่ในกรณีที่เป็นอาชญากรร้ายโหดเหี้ยมมาก สำหรับประเทศไทยสถิติการพิพากษาลงโทษประหารชีวิตมีจำนวนน้อยมากจะใช้โทษประหารเฉพาะแต่กรณีที่

กระทำผิดรุนแรงและก่อความเสียหายแก่สังคมอย่างยิ่งเท่านั้น

นอกจากนี้ เมืองไทยยังเปิดโอกาสให้ผู้กระทำผิดที่ต้องโทษประหารชีวิต ทูลเกล้าถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษตามควรแก่กรณี

 

 

 

 

 

 

 

 

23 ต.ค. 52 เวลา 09:40 19,638 52 292
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...