Green School Bali ต้นแบบโรงเรียนเพื่อความอยู่รอดของอนาคต...

 

โรงเรียนนี้สร้างโดย John Hardy ตั้งอยู่ที่บาหลี  เป็นโรงเรียนไม้ไผ่ ไม้มหัศจรรย์
ที่โตเร็วแข็งแรง ยืดหยุ่น ฯลฯ  และถ้าผ่านกรรมวิธีอันถูกต้อง มันอาจจะคงอยู่
ได้นานเป็นร้อยปี โลกนี้มีคนกว่าพันล้านคนที่อาศัยอยู่ในบ้านไม้ไผ่

 

 

และถ้าพูดถึงกรีน หรือ sustainable คำที่เรายืมฝรั่งมาใช้ คือทุกอย่างทิ้งร่องรอย
ความเสียหายต่อธรรมชาติไว้น้อยที่สุด เช่นผลิตไฟฟ้าเอง (โรงเรียนใช้ระบบ
น้ำวนในการผลิตไฟฟ้าที่สร้างเป็นแห่งที่สองในโลก) หรือเลือกใช้วัสดุธรรมชาติ
ที่หาได้จากท้องถิ่นที่ไม่ทำให้เกิดขยะจากวัสดุสังเคราะห์ โรงเรียนนี้ไม่มีผนัง
ตามปรัชญาการศึกษาที่ไม่ปิดกั้น ใช้การปรับอากาศโดยวิธีธรรมชาติ เป็นโรงเรียน
ที่สอนให้ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ผสมผสาน วัฒนธรรม
ท้องถิ่นในหลักสูตร โดยกำหนดให้เป็นโรงเรียนนานาชาติ

ที่ต้องมีนักเรียน จากท้องถิ่นมากกว่า 20% ไม่ใช่ฝรั่งล้วนๆ และดำเนินการสอนตามปรัชญาของ Rudolf Steiner ที่ให้ความสำคัญ ในความสมดุลระหว่างการเรียนรู้ทางวิชาการและการเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะและสังคม ปลูกฝังให้รู้จักแก้ปัญหาและ
มีความรับผิดชอบต่อธรรมชาติเรียกว่าเป็นการศึกษาแบบองค์รวม
holistic education สำหรับการอยู่รอดของ the whole world 

อันนี้สำคัญมาก เพราะโรงเรียนแทบทุกโรงเรียนในโลกนี้จะจับคณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ และภาษาไว้สูงสุดข้างบนเสมอ ส่วนวิชาทางด้านศิลปวัฒนธรรม
และสังคมอยู่ท้ายสุด ทั้งๆที่ในอารยะธรรมไดๆ ในโลกนี้ ทุกอย่างมันมีความ
สำคัญเท่ากัน ตอนนี้เรามีคนที่สมองเอียงข้างเต็มไปหมด ไว้ว่างๆจะเขียนเรื่องนี้
เพิ่มเติมสักหน่อย 

 

 

โรงเรียนแห่งนี้เป็นโมเดลของอนาคตที่สร้างโดย John Hardy นักออกแบบ
เครื่องเพชร ที่อาศัยอยู่ในบาหลี เขาเป็นโรคที่มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ ตอนเด็กๆ
ก็มีปัญหาเรื่องการไปโรงเรียนเขาจึงไม่ชอบการศึกษาที่จับเด็กๆไปไว้ในกล่อง
สี่เหลี่ยม เขาหนีไปบาหลีเมื่ออายุ 25 ปี แต่ก็แต่งงานและประสบความสำเร็จ
ในธุรกิจอัญมณี เขาเกิดความคิดที่จะสร้างโรงเรียนนี้ขึ้นมา

หลังจากได้ชมภาพยนตร์ The Inconvenient Truth เขาบอกว่ามันเป็นหนังที่
เปลี่ยนชีวิตของเขา เขาคิดว่าถ้าเขาไม่ทำอะไร แน่นอนที่ลูกๆของเขา จำไม่สามารถ
มีชีวิตอย่างทั่วไปอย่างที่เขามี เขาจึงขายกิจการแล้วหันมาสร้างโรงเรียนนี้ และเปิดมากว่าสามปีแล้ว 

 

 

John Hardy เคยมาพูดให้สมาคมสถาปนิกสยาม (ที่ผมคิดว่าเป็นสมาคมที่มี
บทบาทน้อยไปหน่อย) เมื่อปี 2009 ในเมืองไทยก็เริ่มมีโรงเรียนแนวนี้เหมือนกัน
แต่ของ John Hardy มันมีลักษณะเป็นโมเดลตัวอย่างมากกว่า มีผู้คนเริ่มมา
สร้างบ้านที่มีลักษณะอนุรักษ์ธรรมชาติรอบๆโรงเรียน

 สร้างร้านอาหาร จนมันกลายเป็นชุมชน green community เริ่มมีอาสาสมัคร
จากประเทศต่างๆที่นำมาซึ่งดนตรี ศิลปะ และวิทยาการทางการเกษตรเข้ามา
ร่วมด้วยผู้ปกครองบางคนถึงขนาดย้ายมาจากต่างประเทศเพื่อนให้ลูกหลาน
ได้เข้าเรียนที่นี่ (รวย) 

Hardy ปฏิเสธแบบแปลนที่สถาปนิกออกแบบมาให้ในตอนแรกที่ดูเป็นกล่องสี่เหลี่ยม 

เขาบอกว่าคนที่ออกแบบโรงเรียนทั่วๆไปก็เป็นคนเดียวกับคนที่ออกแบบคุกหรือโรงพยาบาลบ้า ถ้าเขาได้มาเรียนที่ green school ก็อาจจะไม่ออกแบบอย่างนั้น เขา
จึงออกความคิดเอง โดยการสร้างโรงเรียนจากไม้ไผ่ มีลักษณะเป็น double helix
และก่อสร้างด้วยวิธีโบราณ

ถ้าเลี้ยงลูกแบบเช้าไปโรงเรียน เย็นเรียนพิเศษ กลับบ้านดูทีวี เล่นเกมคอมพิวเตอร์ 

ว่างๆก็ไปเดินห้าง คงพอจะมองออกนะครับว่าโตมาก็คงมีโอกาสน้อยที่เขา
จะเป็นอย่างอื่น อาจจะรักธรรมชาติ ชอบไปเที่ยวชนบท แต่การดำเนินชีวิต
คงไม่สามารถสอดคล้อง หรือแตกต่างไปมากกว่าการเป็นนักบริโภคในเมืองทั่วๆ
ไปหรอกHardy กล่าวว่าคุณแค่จ่ายค่าไฟตอนสิ้นเดือน แต่คนที่จะต้องจ่ายค่า
ใช้จ่ายของมันจริงๆ คือลูกหลานเหลนของเราในอนาคต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Credit: nuningka
13 ม.ค. 54 เวลา 11:31 4,679 5 64
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...