เลือกสถานที่ เงียบสงบน่าจะดี สถานที่ที่เหมาะกับการบ่มเพาะมิตรภาพส่วนใหญ่ จะเป็นที่ที่ไม่ดึงอื้ออึง เช่น ตลาดสด และไม่ควรนัดพบครั้งแรกที่บ้าน เนื่องจากถ้าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นประเภท 17 มงกุฎ หรือเป็นคนประเภท “เกาะหนึบ” แล้ว อาจจะเสี่ยงอันตรายมากไป หรือไม่ก็เลิกลากันได้ยาก เพราะอีกฝ่ายจะตามตื๊อได้ง่าย ของฝากเล็กๆ น้อยๆ เช่น ดอกไม้ ช็อกโกแล็ต ฯลฯ อาจช่วยสานต่อมิตรภาพได้ โดยเลือกให้เหมาะกับอีกฝ่ายหนึ่ง
ดูดีไว้ก่อน คนที่ “ดูดี” หรือภาพรวมของร่างกาย-เสื้อผ้า-เครื่องประดับดูเหมาะสม และดูสะอาดน่าจะได้เปรียบกว่าคนที่ “ดูไม่ดี” เสมอ เรื่องที่สำคัญ คือ ตัดภาพลบออกไป เช่น หัวกระเซิงอาจไปตัดผมก่อน หัวเหม็นอาจไปสระผมก่อน เต่าแรงอาจใช้ยาทาทุกวันล่วงหน้า 7 วัน ฯลฯ อย่าลืมนอนให้พอล่วงหน้าไว้หลายๆ วัน เพราะถ้าง่วงไปหาวไป หรือไปถึงก็หลับเลยตั้งแต่แรกพบอาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่า คนๆ นี้น่าจะไม่ค่อยมีสมรรถภาพ
มีน้ำใจ ความเป็นคน “มีน้ำใจ” หรือเป็นคน “น่ารัก” มักจะมีชัยไปกว่าครึ่ง เช่น ไปออกค่ายด้วยกันก็ช่วยทำกับข้าว ล้างจาน-ล้างชาม-ล้างแก้ว แบกของ (แรกดีไว้ก่อนได้เปรียบเสมอ) ฯลฯ ที่สำคัญ คือ “ไม่รับปาก” โดยไม่ทำ… อะไรที่ไม่แน่ใจก็อย่าเพิ่งรับปาก เพราะคำพูดของเราเป็น “เครดิต” ทางใจกับคนอื่น
ทิ้งเรื่องหนักๆ ไว้ ไม่ว่าชีวิตจะ “โหด-เศร้า-เหงา-เซง” สักเพียงใดก็ต้องรู้จัก “วางมันลง” ก่อนไปสานต่อมิตรภาพใหม่เสมอ เพราะการไปถึงก็บ่นๆๆๆ มักจะทำลายมิตรภาพตั้งแต่แรกพบ ตรงกันข้าม… ถ้าจะสานต่อมิตรภาพครั้งแรก ให้พก “ความสุข” ไป หรือไม่ก็ “เริ่มจากฐานศูนย์ (0)” หรือลืมเรื่องเก่า-พักเรื่องเก่าไว้ชั่้วคราว แล้วไปเริ่มต้นกันใหม่ และอย่าลืม… ทำตัวให้ว่าง เช่น เคลียร์ธุระใ้ห้ว่างจริงๆ สัก 1/2 วัน ฯลฯ… ไม่จำเป็นอย่าไปรับงานอื่นเพียบ ซึ่งจะทำให้เครียดโดยไม่จำเป็น
อย่าเสแสร้ง การเสแสร้งเป็น “อะไรที่ไม่ใช่เรา” มักจะทำให้มิตรภาพไม่ยั่งยืน… ทางที่ดี คือ เป็นอย่างที่เราเป็น พร้อมรับฟัง พร้อมที่จะแก้ไขข้อบกพร่อง พร้อมที่จะเริ่มต้นใหม่ พร้อมที่จะพยายามใหม่เสมอ