กาแฟ แพงที่สุดในโลก ( Most expensive coffee )

 

กาแฟ แพงที่สุดในโลก ( Most expensive coffee )



Kopi Luwak โคปิ ลูแว็ค เป็นกาแฟโรบัสต้าชนิดหนึ่ง และเป็น กาแฟแพงที่สุดในโลก เนื่องจากขบวนการผลิตอันยุ่งยาก แปลกประหลาด มีออกสู่ต้องตลาดประมาณปีละ 500 ปอนด์ต่อปี ทำให้มันมีราคาประมาณกิโลกรัมละ 41,000 บาท และสามารถผลิตได้เพียงไม่กี่แห่งบนโลกนี้ จึงประเทศที่ผลิตได้ก็มีดังต่อไปนี้

ประเทศอินโดนีเซีย ทีึ่ เกาะสุมาตรา (Sumatra) , เกาะจาวา ( Java ) เกาะสุลาเวสี ( Sulawesi ) ประเทศฟิลิปปินส์ ( จะเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า Kape Alamid ) ประเทศทิมอร์ ( จะเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า kafé-laku ) ประเทศเวียดนาม ( จะเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า weasel coffee )

ขบวนการผลิต โคปิ ลูแว็ค ( Kopi Luwak )

ปลูกกาแฟในแห่งที่มีสัตว์ที่เรียกว่า ชะมดสายพันธ์ุเอเซีย (Asia Palm Civet) แต่ชาวพื้นเมืองจะเรียกชะมด ชนิดนี้ว่า "ลูแว็ค" เมื่อชะมดกินเม็ดกาแฟเข้าไป กรดและเอนไซม์ในกระเพาะอาหารของชะมดทำปฏิกิริยาทางเคมี คล้ายกับ การหมัก(Fermentation) กับเม็ดกาแฟสุกชะมดมากิน เม็ดกาแฟที่สุก รอชะมดถ่ายมูลออกมา แล้วตามเก็บ แต่สามารถรวบรวมได้ค่อนข้างง่ายเนื่อง จากชะมดมีนิสัยขับถ่ายในสถานที่เดิมๆ เสมอ นำมูลที่ได้มาเลือกเฉพาะเม็กกาแฟ นำเม็ดกาแฟที่ได้ไปตากให้แห้ง นำเม็ดกาแฟที่ตากแห้งดีแล้วมาคั่วจนแห้งสนิด เป็นอันจบขบวนการผลิต โคปิ ลูแว็ค

รูปชะมดสายพันธ์ุเอเซีย (Asia Palm Civet) และมูลของมันจะเห็นว่ามีแต่เม็ดกาแฟทั้งนั้น


ความพยายามเลียนแบบ โคปิ ลูแว็ค ( Kopi Luwak )

แมสสิโม มาร์โคเน นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา ใช้เวลาสืบเสาะอยู่นานกว่าจะพบว่า ในป่าแห่งหนึ่งของประเทศเอธิโอเปีย มีชะมดกัดกินกาแฟ แต่จากการทดสอบรสชาติก็ยังด้อยกว่าของอินโดนิเซีย เนื่องจากเป็นชะมดต่างพันธุ์กัน
แมสสิโม มาร์โคเนยังค้นพบว่า กระบวนการย่อยอาหารของชะมด ต้องผ่านแบคทีเรียและ เอนไซม์ในท้องของชะมด เป็นกรรมวิธีเดียวกับการหมักกาแฟแบบหนึ่งที่เรียกว่า "การหมักเปียก" และยังใช้แบคทีเรียชนิดเดียวกันด้วย คือ แบคทีเรียแล็กติกเอซิด มาร์โคเนมั่นใจว่าการหมักกาแฟเปียกน่าจะให้ผลใกล้ เคียงกับกาแฟที่ผ่านการย่อยในท้องของชะมดแต่ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลอง



กาแฟ โคปิ ลูแว็ค ( Kopi Luwak ) ยี่ห้อต่างๆ จะเห็นว่าทุกยี่ห้อเน้น ชะมดกันทุกยี่ห้อ


ทำไมกาแฟ โคปิ ลูแว็ค ( Kopi Luwak ) จึงอร่อย

ขบวนการย่อยอาหารของชะมด ทำให้โปรตีนในเมล็ดกาแฟแตกตัวเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก เวลานำเมล็ดกาแฟชนิดนี้ไปคั่วบดจะมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ ขบวนการย่อยอาหารของชะมดทำให้โปรตีนบางชนิดในเม็ดกาแฟ ถูกสกัดออกเมื่อนำไปคั่วแล้ว กาแฟจะมีรสชาติขมน้อยลงนิดหน่อย มันผลิตจากอึของชะมด
Credit: ttp://www.rabikacoffee.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=411688&Ntype=1
6 ม.ค. 54 เวลา 15:27 2,053 3 56
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...