พระเจ้า เนรมิต ทะเล อนุภาคที่ผุดๆดับๆ (กลูออน) ยืด ควาร์ก รวมไว้ด้วยกัน เป็น โปรตรอน หรือ นิวตรอน ตาม เลขควอนตัม ที่พระองค์ กำหนดไว้
โปรตรอน และ นิวตรอน รวมกัน เป็น นิวเคลียส ของ อะตอม
เมื่อ อะตอม 2 อะตอม ใช้ อิเล็กตรอน หนึ่งคู่หรือมากกว่าร่วมกัน หรือ ที่เขาเรียกว่า พันธะโควาเลนต์ จึงทำให้เกิดแรงดึงดูดที่รวมอะตอมเป็น โมเลกุล
ดังนั้น เมื่อ ไมโครโมเลกุล หลาย โมเลกุล รวมตัวกัน เป็น นิวคลีโอไทด์ (พอลิเมอร์)
นิวคลีโอไทด์ แต่ละตัวจะต่อกัน ด้วย พันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ เป็น กรดนิวคลีอิก
จำแนกได้เป็น DNA และ RNA
ลำดับดีเอ็นเอ โดยใช้อัการย่อ ดังนี้
A = adenine
C = cytosine
G = guanine
T = thymine
R = G A (purine)
Y = T C (pyrimidine)
K = G T (keto)
M = A C (amino)
S = G C (strong bonds)
W = A T (weak bonds)
B = G T C (all but A)
D = G A T (all but C)
H = A C T (all but G)
V = G C A (all but T)
N = A G C T (any)
รหัสพันธุกรรม (genetic code) เป็นชุดของการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมในดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ และถูกทรานสเลชันเป็นโปรตีน หรือลำดับกรดอะมิโน ในเซลล์ที่มีชีวิต รหัสแต่ละรหัสประกอบไปด้วยลำดับนิวคลีโอไทด์สามตัว ซึ่งกำหนดกรดอะมิโน 1 ตัว แม้จะมีรหัสพันธุกรรมที่เป็นสากล แต่ก็อาจจะมีความแตกต่างกันไปได้บ้าง เช่น รหัสพันธุกรรมในไมโทคอนเดรียของคน ต่างจากรหัสพันธุกรรมที่รู้จักกันทั่วไป
ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดอาจไม่จำเป็นต้องเก็บในรหัสพันธุกรรม ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดมีลำดับควบคุม (regulatory sequences) ส่วนที่รวมเข้าด้วยกัน ( intergenic segments) และโครงสร้างโครโมโซม ที่มีผลต่อฟีโนไทป์ แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรหัสที่กำหนดกรดอะมิโน
รหัสพันธุกรรมเริ่มต้น (start codon หรือ initiation codon) คือลำดับเบส ATG ในดีเอ็นเอและ AUG ใน RNA ที่กำหนดกรดอะมิโนเมไทโอนีน (Met) ในยูคาริโอตและเมไทโอนีนที่เปลี่ยนรูปไป (fMet) ในโปรคาริโอต
หลักการที่เรียกว่า หลักเกณฑ์กลางสำหรับชีววิทยาโมเลกุล (Central dogma of molecular biology) ซึ่งอธิบายกลไกของการทรานสเลชัน จากยีนไปเป็นโปรตีน ลำดับเบสที่เฉพาะของดีเอ็นเอทำหน้าที่เป็นแม่แบบเพื่อสังเคราะห์ mRNA ด้วยกระบวนการที่เรียกว่าทรานสคริบชัน ในนิวเคลียส mRNA นี้จะถูกส่งออกมายังไซโทพลาสซึม และทำหน้าที่เป็นแม่แบบในการสังเคราะห์โปรตีนที่เรียกทรานสเลชัน
นิวคลีโอไทด์สามเบสจะเป็นรหัสพันธุกรรมที่กำหนดกรดอะมิโนหนึ่งตัว ซึ่งจะนำเข้ามาโดย tRNA ลำดับเบสสามตัวแรกของบริเวณที่เป็นรหัส mRNA ที่จะถูกถ่ายถอดมาเป็นโปรตีนนี้จะเรียกว่ารหัสพันธุกรรมเริ่มต้น ส่วนใหญ่จะอยู่เป็นลำดับแรกที่ทางด้าน 5′ UTR โดยทั่วไปเป็น AUG (หรือ ATG ในดีเอ็นเอ; ซึ่งกำหนดกรดอะมิโนเมไทโอนีน มีสิ่งมีชีวิตชั้นสูงที่เป็นยูคาริโอตน้อยมากที่ไม่มีรหัสพันธุกรรมเริ่มต้น เป็น AUG
นอกจาก AUG แล้วในโปรคาริโอตบางชนิดจะใช้ รหัสพันธุกรรมเริ่มต้นที่ต่างไปเช่น GUG และ UUG ตัวอย่างเช่น E. coli ใช้ ATG (AUG) 83% GTG (GUG)14% TTG (UUG) 3% ที่เหลือเป็นรหัสอื่น แต่แม้ว่าจะใช้รหัสอื่น กรดอะมิโนตัวแรกก็ยังเป็นเมไทโอนีน ทั้งนี้เพราะมีการใช้ tRNA เฉพาะสำหรับการเริ่มต้น ตัวอย่างของยีนที่ไม่มี ATG เป็นรหัสพันธุกรรมเริ่มต้น เช่น lacI (GTG) และ lacA (TTG) ใน lac operon ของ E. coli
พันธุกรรม (อังกฤษ: genetics) หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นสู่รุ่น (Generation) เช่น รุ่นพ่อแม่ลงไปสู่รุ่นลูกหลาน มีการเริ่มต้นการศึกษาเรื่องพันธุกรรมโดย เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) เป็นผู้ที่ค้นพบและอธิบายหลักการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ในช่วงกลางของทศวรรษที่ 18
พันธุกรรมเป็นสิ่งที่ทำให้คนเรามีลักษณะต่างๆแตกต่างกันไปมากมาย โดยมีหน่วยควบคุมที่เรียกว่ายีน ซึ่งมีทั้งยีนที่ควบคุมลักษณะเด่น และยีนที่ควบคุมลักษณะด้อย แต่ส่วนหนึ่งที่ทำให้ลักษณะเราแตกต่างออกไปคือสภาพแวดล้อม เช่น ความอ้วน อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมมากกว่าพันธุกรรม
ติดตาม ภาค 2 ยีนส์ ไปสู่ โคโมโซม มาเป็น เซล…..