ภูเขาไฟระเบิด

ชอบไม่ชอบก็ใช้คำที่สุภาพนะครับ

 

 

 

ภูเขาไฟทำไมจึงระเบิด‏?

เวลาที่เราได้ดูข่าวเกี่ยวกับภูเขาไฟระเบิด. จะเห็นว่าเป็นภาพที่น่ากลัวไม่ว่าจะเป็นควัน เศษเถ้าถ่านที่พวยพุ่ง และมีลาวาซึ่งเป็นหินที่ถูกหลอมเหลวจนร้อน เหนียว หนืด เดือดปุดๆ ไหลออกมา ภูเขาไฟมักจะเกิด
ขึ้นบริเวณแนวขอบรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก และสาเหตุที่ทำให้ภูเขาไฟเกิดการปะทุหรือระเบิดนั้น เนื่องจากบริเวณเปลือกโลกชนกัน และมีการสะสมความร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ในบริเวณนั้นที่ก่อให้เกิดความดันและความร้อนสูง จนทำให้มีการปะทุออกมา จัดเป็นภัยธรรมชาติที่น่ากลัว โชคดีที่บ้านเราอยู่ในภูมิประเทศที่ไม่มีภูเขาไฟอย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ที่เราจะได้ยินเรื่องของภูเขาไฟระเบิดที่เกิดปะทุระเบิดออกมาสร้างความเสียหายให้ไม่น้อย เช่น ทำให้สภาพอากาศของโลกเปลี่ยนแปลง หรือทำให้สัตว์บางชนิดล้มตายหรือสูญพันธุ์ แต่การระเบิดของภูเขาไฟก็มีประโยชน์เหมือนกัน เช่น พอภูเขาไฟระเบิดก็จะช่วยปรับระดับของเปลือกโลกให้สมดุล บางครั้งการระเบิดของภูเขาไฟ ก็ทำให้พบแหล่งแร่สำคัญๆ อย่างเพชร หรือบรรดาแร่ธาตุต่างไ เป็นต้น


 

 

 

          มนุษย์ถูกฝังอยู่ในหิน เมื่อภูเขาไฟระเบิดแล้วลาวาไหลมาทับตัวเมื่อเย็นลงจึงกลายเป็นหินแข็งรูป

  โครงสร้างมนุษย์

 

      2.เกิดเกาะใหม่ภายหลังที่เกิดการปะทุใต้ทะเล

     3.ดินที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิดจะอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุต่างๆ

     4.เป็นแหล่งเกิดน้ำพุร้อน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ฟ้าผ่าที่เกิดร่วมกับการระเบิดของภูเขาไฟเอยาฟแยตลาโยคูลล์ ที่ไอซ์แลนด์ 
เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553


 

ในกรณีทั่วไป ฟ้าผ่าเป็นการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าในอากาศจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง โดยเริ่มต้นจากการแยกตัวของประจุบวกและประจุลบ เรียกว่า การแยกประจุ (charge separation)  หากแต่ละบริเวณมีประจุสะสมอยู่ในปริมาณมาก ก็จะทำให้เกิดความต่างศักย์สูงมากจนทำให้อิเล็กตรอนเกิดการเคลื่อนที่ฝ่าอากาศซึ่งเป็นฉนวนออกไปได้

สำหรับฟ้าผ่าที่เกิดจากเมฆฝนฟ้าคะนองซึ่งเราคุ้นเคยกันนั้น อนุภาคต่างๆ ภายในเมฆ เช่น หยดน้ำ ผลึกน้ำแช็ง และฝุ่นละออง จะเกิดการเสียดสีกันจนเกิดประจุ อนุภาคที่เสียอิเล็กตรอนจะมีประจุบวก (เนื่องจากอิเล็กตรอนมีประจุลบ) ทั้งนี้บริเวณยอดเมฆจะเป็นที่สะสมของประจุบวก ส่วนบริเวณฐานเมฆจะเป็นที่สะสมประจุลบ


ดังนั้น ฟ้าผ่าจึงอาจเกิดขึ้นระหว่างยอดเมฆกับฐานเมฆ (เรียกว่า ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ) หรือระหว่างยอดเมฆของเมฆก้อนหนึ่ง (ประจุบวก) กับฐานเมฆของเมฆอีกก้อนใกล้ๆ กัน (เรียกว่า ฟ้าผ่าระหว่างก้อนเมฆ) ส่วนพื้นดิน (หรือพื้นน้ำ) จะถูกเมฆเหนี่ยวนำให้มีประจุ จึงทำให้เกิดฟ้าผ่าจากเมฆสู่พื้น (หรือจากพื้นสู่ฟ้า) ได้นั่นเอง


#เอารูปภูเขาไฟมาฝาก.
xxxxz
นักแสดงรับเชิญ
สมาชิก VIP
26 ธ.ค. 53 เวลา 13:40 11,707 14 144
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...