บ็อบ มาเลย์ ราชาเร็กเก้

?บ็อบ มาร์เลย์? หรือชื่อจริงว่า "โรเบิร์ต เนสต้า มาร์เลย์" เป็นนักดนตรีเพื่อชีวิตเพื่อการต่อสู้ของประชาชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลคนหนึ่งของโลกเกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1945 ในเกิด ในชุมชนคนผิวดำ ในเมืองเชนต์เเอน ์ ของประเทศจาไมกา ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่อยู่ระหว่างหลักไมล์ที่แปดกับเก้าระหว่างทางมุ่งสู่อัลวาเรียกตามภาษาคนท้องถิ่นว่า หลักเก้า ณ ประเทศ จาไมก้าเป็นบุตรของ นางซีเดลล่า กับ ร้อยเอก นอร์วัล มาร์เลย์ เติบโตท่ามกลางชุมชนทาสเเละครอบครัวที่เเตกเเยกพ่อเป็นคนผิวขาวชาวอังกฤษที่ทำงานอยู่่กับราชนาวีอังกฤษ แต่ไม่ได้รับการเหลียวแลจากผู้เป็นพ่อพ่อจึงเป็นเพียงแค่คนรู้จักที่มาเยี่ยมเยียนในบางโอกาสเท่านั้น เขาจึงเติบโตมากับแม่ ปี 1957 มารดาพาอพยบสู่เมืองหลวง คือกรุงคิงสตัน อาศัยอยู่ในสลัม "เทรนช์ทาวน์" ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของคนจน มีวิถีตามความเชื่อดั่งเดิมของคนดำ คือ เชื่อว่าตนเป็นลูกหลานของกษัตริย์ โซโลมอน เเละเป็นชนชาวยิวพลัดถิ่นรอวันกลับสู่เเผ่นดินของตน ถิ่นนี้เป็นเเหล่งกำเนิดวัฒนธรรมและลัทธิ รัสตาฟาเรียนิสม์ ชีวิตวัยเด็กบ๊อบมีนิสัยเห็นเเก่ตัว เเต่ไม่มีนิสัยลักขโมยเเบบเด็กสลัมทั่วไปเขารักเพื่อนเเละทำเเทบทุกอย่างเพื่อเพื่อน อายุ 17 ปีก็เริ่มทุ่มเทให้กับการร้องเพลง เเละฝึกฝนอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากการร้องในโรงภาพยนต์ เเละไช้เวลาหลังจากเลิกเรียนหัดร้องเพลงกับเพื่อนๆเเทนการทำการบ้าน จนได้มีโอกาสเรียนรู้ด้านดนตรี จาก โจฮิกก์ส ศาสตราจารย์ข้างถนนที่มีความสามารถทางดนตรี อย่างเยี่ยมยอด เริ่มก่อตั้งวงดนตรีกับ บันนี เเละ ปีเตอร์ เเมคอินทอช เล่นเพลงป๊อปอเมริกาเพื่อหาเงินเลี้ยงชีพในระหว่างฝึกฝนด้านดนตรี เเละมีเเผ่นเสียงของตนเองออกจำหน่ายในปี 1962 ปี 1963 ก่อตั้งวง เดอะ เวลลิงรูดบอยส์ กับเพื่อน 6 คนวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1966 เเต่งงานครั้งเเรกกับ ริต้า เเอนเดอร์สัน ปี 1960 จังหวะเพลงสกาเริ่มช้าลงเปลี่ยนเป็น ร็อคสเตดีจนผสมผสานระหว่างอเมริกากับจาไมก้ากลายมาเป็น ดนตรีที่เรียกว่า"เร็กเก้"เเต่ยังไม่เป็นที่นิยมเพราะกระเเสเพลงร็อคยังร้อนเเรงอยู่ เวลาผ่านไปบทเพลงเร็กเก้เริ่มเป็นที่นิยมเพลงเร็กเก้ เพลงเเรกที่บันทึกเสียงออกสู่ตลาดในปี 1968 เป็นผลงานของทูตส์ ฮิบเบิร์ต เเห่งวง เดอะ เมย์ตัลส์ จังหวะเร็กเก้เป็นจังหวะที่เน้นความสำคัญของกลองเเละเบส การให้จังหวะของกลองเเละเครื่องเป่า จังหวะการเคาะที่เเตกต่างจากจังหวะร็อคคืออยู่ที่จังหวะ 1-3 ไนขณะที่ร็อคอยู่ที่ 2-3 เนื้อหาของบทเพลงสะท้อนถึงลัทธิรัสตาฟาเรียน เเละ วิพากษ์วิจารณ์สังคมตามมุมมองของชาว รัสตา ปี 1966 ประเทศจาไมก้าตกอยู่ในภาวะร้อนระอุบทเพลงเนื้อหาเริ่มร้อนเเรงขึ้น อันเป็นผลมา จากการปราบจราจลระหว่างผิวในปี 1965 ติดตามด้วยกระเเสต่อต้านคนดำ เเละการไล่รื้อสลัมทำหมู่บ้านจัดสรร ในเดือนกรกฎาคม 1966 เเละการประทะของกลุมชนที่เข้าข้างฝ่ายรัฐบาลเเละฝ่ายค้า อันได้เเก่พรรค อนุรักษ์นิยมเเจเเอลพี เเละพรรค สังคมนิยมพีเอ็นพีฝ่ายค้าน วันที่ 17 เมษายน 1980 บ๊อบได้รับเชิญไห้ร่วมเล่นดนตรีในพิธีเฉลิมฉลองเอกราช ของประเทศ ซิมบับเว ที่เคยป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งเเต่ปี 1965 ซิมบับเว เป็นประเทศเอกราชลำดับที่ 50 ของทวีปอัฟริกา เป็นนักร้องนักแต่งเพลงชาวจาไมกาคนแรกที่ผลักดันเอาดนตรีพื้นเมืองจาไมกา หรือ ?เร็กเก? ออกสู่ตลาดโลก และกลายเป็น ?ราชาเพลงเร็กเก? ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บันทึกเสียงครั้งแรกในเพลง Judge Not เมื่อเขาอายุ 16 ปี โด่งดังทั่วอังกฤษและสหรัฐอเมริกาครั้งแรกในปี 1973 ในอัลบั้ม Catch a Fire ได้ออกโทรทัศน์ BBC

สิ่งพิเศษที่มีอยู่ในตัวเขาก็คือวิธีการประพันธ์เนื้อเพลงที่สะท้อนมุมมองทางการเมือ ง ชีวิต และสังคมที่เฉียบแหลม คมคาย และหยั่งรากลึกสู่จิตวิญญาณ สถานการณ์พื้นฐานในทศวรรษที่ 1960-1970 นั้น ความขัดแย้งเรื่องสีผิวยังมีอยู่สูง คนผิวสีจึงเป็นเพียงพลเมืองชั้น 2 ท่ามกลางระบบความคิดแบบเหยียดผิวของพวกแองโกล-แซกซอน (Anglo-Saxon)นั้น เขาใช้ดนตรีเป็นสื่อในการเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ผ่านกีตาร์ตัวหนึ่ง กับฮาโมนิการ์คู่ใจ ร้องเพลงเพื่อสะท้อนปัญหาอย่างทรงพลัง ดนตรีเร็กเก้ที่บ็อบนำมาขับกล่อมนั้น ถูกขบวนการคนผิวดำและต่อต้านลัทธิเหยียดผิวบางกลุ่มนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงออกถึงประเด็นทางสังคม เช่น กลุ่มรัสตาฟารี (Rasta Farians) และต่อมาเร็กเก้ก็เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่คนผิวขาวในตอนปลายทศวรรษ 1960 บ็อบ มาร์เลย์ทำให้ดนตรีเร็กเกเฟื่องฟูมากที่สุดในทศวรรษที่ 1970 เขาตั้งวงชื่อ "บ็อบ มาร์เลย์ แอนด์ เดอะ เวลเลอร์ส" (Bob Marley and the Wailers) ขึ้นในปี 1964 นับเป็นศิลปินเพลงเร็กเกคณะแรกที่โด่งดังไปทั่วโลก ในปี 1975 ได้ไปเปิดการแสดงที่ลอสแอนเจลิส ผู้คนคลั่งไคล้มาก เพลงฮิตเพลงแรกในอังกฤษคือ No Woman No Cry ในปี 1975 และ Jamming ในปี 1977 และ One Love ในปี 1984

บ็อบ มาเลย์แต่งงานกับริต้าในปี 1975 ประธานาธิบดีไมเคิล แมนเลย์แห่งจาไมกาสนับสนุนให้เขาจัดคอนเสิร์ตฟรี ในวันที่ 5 ธันวาคม 1975 นั้นเอง แต่ปรากฎว่าก่อนหน้า 2 วัน มีกลุ่มมือปืนมาดักยิงตัวเขา ริต้า และผู้จัดการวงดนตรี แต่โชคดีที่ไม่มีใครเสียชีวิต เขายังคงเดินหน้าแสดงคอนเสิร์ตต่อไปทั้ง ๆ ที่ใช้ผ้าคล้องแขนกับคอเพราะบาดเจ็บ ปี 1976 บ็อบ มาเลย์ต้องงดรายการคอนเสิร์ตทัวร์ทั่วยุโรป เนื่องจากตรวจพบเป็นมะเร็งที่เท้าขวา อันเนื่องมาบาดแผลระหว่างการเล่นฟุตบอลในอดีตแล้วละเลยไม่รักษา บ็อบ มาเลย์กลับมาแสดงคอนเสิร์ต One Love ที่จาไมก้าอีกครั้งเมื่อวันที่ 22 เมษายน 1978 และได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการให้ประธานาธิบดี และผู้นำฝ่ายค้านขึ้นไปจับมือกันบนเวที และจับมือกัน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาได้รับรางวัล The United Nations' Peace Medal ในเดือนมิถุนายน 1978 นั่นเอง ปี 1980 เป็นผู้นำในการเฉลิมฉลองการประกาศอิสรภาพของซิมบับเวย์ เดือนกันยายน 1980 บ็อบ มาเลย์ล้มลงขณะที่กำลังจ้อกกิ้งใน Central Park สวนสาธารณะกลางมหานครนิวยอร์คที่พำนักอยู่ ตรวจพบว่ามะเร็งลุกลามไปยังปอดและสมอง บ็อบ มาเลย์ยังคงบินไปแสดงคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายในชีวิตที่ Stanley Theatre นครพิตสเบิร์ก เมื่อวันที่ 23 กันยายน 1980 ขณะพักรักษาตัวอยู่ที่นิวยอร์ค คณะแพทย์ก็ลงความเห็นว่าหมดหวัง บ็อบ มาเลย์อยากจะกลับจาไมก้าบ้านเกิด แต่ไปไม่ไหว จึงแวะพักที่นครไมอามี และจากโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 1981 ด้วยวัยเพียง 36 ปีเท่านั้นศพถูกนำกลับมาฝังไว้ที่บ้านเกิดในจาไมก้า ศพของบ๊อบ มาร์เลย์ ถูกนำไปฝังบ้านเกิดที่หลักเก้า ศพนอนภายในโลงสีบรอนซ์สวมเจ็คเก็ตผ้าเดนิม นิ้วมือขวาวางบนคัมภีร์ไบเบิลเปิดกางไว้ที่ บท psalm 23 ส่วนมือซ้าย วางทาบบนกีตาร์ กิ๊บสัน - เลสพอล สีเเดงเพลิงกีตาร์คู่ใจของเขา...อำลาเจ้านกสันติภาพ

22 ธ.ค. 53 เวลา 08:09 7,047 15 162
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...