ศิลปะศรัทธา ถวายพระมหากษัตริย์ไทย

พระพุทธรูปปางประทานเอหิภิกขุ
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ขนาดหน้าตักกว้าง 8 ซ.ม. สูงเฉพาะองค์พระ 11.20 ซ.ม. สูงจากฐานถึงพระรัศมี 22.50 ซ.ม.

พระราชประวัติ  
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
พ.ศ. 1893-1912
ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นับตั้งแต่ พ.ศ. 1893 และทรงรวบรวมชาวไทยทั่วทิศานุทิศให้เป็นปึกแผ่น ตลอดจนขยายราชอาณาจักรให้แผ่ไพศาล ในขณะเดียวกันก็ทรงนำแบบแผนในการปกครองมาใช้ เพื่อเป็นหลักเกฎฑ์ที่แน่ชัด ในการบริหารราชการแผ่นดิน 

 

พระพุทธรูปปางชี้อัครสาวก
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย สมเด็จพระบรมไตรยโลกนาถ 
ขนาดหน้าตักกว้าง 22.65 ซ.ม. สูงเฉพาะองค์พระ 10.90 ซ.ม. สูงจากฐานถึงพระรัศมี 22.65 ซ.ม.

พระราชประวัติ   
สมเด็จพระบรมไตรยโลกนาถ
พ.ศ. 1991-2031
ทรงวางระบบระเบียบบริการราชการแผ่นดิน อย่างมีแบบมีแผนยิ่งขึ้น โดยนำหลัก จตุสดมภ์ (เวียง วัง คลัง นา) มาใช้ ทรงส่งเสริมวรรณคดีไทยจนเป็นที่เฟื่องฟู ดังที่ได้พระราชนิพนธ์มหาชาติคำหลวงขึ้น แม้กระทั่งหนังสือ ลิลิตพระลอ อันถือเป็นวรรณคดีของชาติ ก็สันนิฐานว่า อาจทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเอง หรือมีผู้แต่งขึ้นในรัชกาลนี้

พระพุทธรูปปางห้ามมาร
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ขนาดหน้าตักกว้าง 8 ซ.ม. สูงเฉพาะองค์พระ 11.35 ซ.ม. สูงจากฐานถึงพระรัศมี 23 ซ.ม.


พระราชประวัติ   
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
พ.ศ. 2034-2072
ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทำสัญญาพระราชไมตรีกับโปรตุเกส นับเป็นครั้งแรกที่ไทยได้เจริญสัมพันธไมตรีกับชาติตะวันตก (พ.ศ. 2061) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถในการรบ แต่เมื่อว่างเว้นจากการศึกสงคราม ก็ได้จักระบบการปกครอง เพื่อความสงบร่มเย็นของบ้านเมือง พระองค์ได้โปรดให้สร้างตำราพิชัยสงคราม กับได้วางหลักเกณฑ์ ให้ชายไทยอายุ 188-60 ปี ต้องมีหน้าที่รับราชการทหาร


พระพุทธรูปปางโอฬาริกนิมิต
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย พระมหาจักรพรรดิราชาธิราช (สมเด็ขพระมหาจักรพรรดิ) ขนาดหน้าตักกว้าง 8.25 ซ.ม. สูงเฉพาะองค์พระ 11.20 ซ.ม. สูงจากฐานถึงพระรัศมี 22.50 ซ.ม.

พระราชประวัติ  
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
พ.ศ. 2091-2111
ทรงปกป้องบ้านเมืองอย่างเต็มกำลัง และต้านทานข้าศึกจากการรุกรานประเทศ ทรงฝ่าฟันวิกฤตการณ์บ้านเมืองมาอย่างยากลำบาก โดยทรงเสียสละต่อสู้กับศัตรูหลายครั้ง หลายหนเพื่อปกป้องอธิปไตย พระองค์ทรงสูญเสียพระอัครมเหสีคือ สมเด็จพระสุริโยทัย ขึ้นสวรรคตในคราวที่พระองค์ออกไปรับศึกกับพระเจ้าแปร


พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช   สูงเฉพาะองค์พระ 21.05 ซ.ม. สูงจากฐานถึงพระรัศมี 32.80 ซ.ม.

พระราชประวัติ  
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พ.ศ. 2133-2148
ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณยิ่งแก่ปวงชนชาวไทย โดยทรงทำยุทธหัตถีมีชัยแก่พระมหาอุปราชได้ พระองค์ได้ทรงกอบกู้เอกราชให้ไทยเป็นไท ภายหลังจากที่เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในครั้งแรก นอกจากนี้ ยังทรงแผ่พระบรมเดชานุภาพเหนือหังเมืองน้อยใหญ่ โดยรอบอาณาเขต ซึ่งนับเป็นการวางรากฐานที่มั่นคง สำหรับภาระกิจในการทำนุบำรุงบ้านเมืองในรัชสมัยต่อมา


พระพุทธรูปปางถวายเนตร
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย สมเด็จพระเอกาทศรถ สูงเฉพาะองค์พระ 21 ซ.ม. สูงจากฐานถึงพระรัศมี 33 ซ.ม.

พระราชประวัติ  
สมเด็จพระเอกาทศรถ
พ.ศ. 2148-2153
ทรงกรำศึกสงครามกอบกู้เอกราชของชาติไทย เคียงคู่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบรมเชษฐาธิราชมาโดยตลอด ในคราวเสด็จพระราชดำเนินในสงครามยุทธหัตถี ก็ทรงชนช้างชนะเหนือนายทัพนายกองข้าศึก ซึ่งถือได้ว่าทรงเป็นพระอนุชาคู่บารมีแห่ง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชโดยแท้ ในรัชสมัยของพระองค์ทรงทำนุบำรุงบ้านเมือง ให้เจริญมั่งคั่งทางการค้าเป็นอย่างยิ่ง


พระพุทธรูปปางประทับเรือขนาน
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม สูงเฉพาะองค์พระ 18 ซ.ม. สูงจากฐานถึงพระรัศมี 26.50 ซ.ม.

พระราชประวัติ  
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
พ.ศ. 2153-2171  ในแผ่นดินของพระองค์ ได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองในหลายๆด้าน ทรงประกาศใช้พรธรรมนูญศาล โปรดเกล้าฯให้สร้างพระไตรปิฎกธรรม จบบริบูรณ์เป็นครั้งแรก และได้มีการติดต่อค้าขายกับญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ในสมัยของพระองค์ได้พบรอยพระพุทธบาทโดยพรานบุญ บนไหล่เขาที่เมืองสระบุรี และเสด็จฯ ไปทรงถวายสักการะ พระองค์ทรงโปรดฯให้สร้างมณฑปครอบ พระพุทธบาทที่ได้รับการบูรณะเรื่อยมาดังปรากฎอยู่ทุกวันนี้

พระพุทธรูปปางลอยถาด
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย สมเด็จพระรามาธิเบศปราสาททอง (สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง)   สูงเฉพาะองค์พระ 13 ซ.ม. สูงจากฐานถึงพระรัศมี 24.30 ซ.ม.

พระราชประวัติ  
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
พ.ศ. 2172-2199
ในแผ่นดินของพระเจ้าปราสาททอง บ้านเมืองมีแต่ความสงบร่มเย็น พระองค์ทรงเสื่อมใสในพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ทรงโปรดให้สร้างวัดไชยวัฒนาราม วัดชุมพลพิศายาราม บูรณะปฎิสังขรณ์วัดต่างๆ กับทั้งได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังบางประอิน ขึ้นเป็นที่ประทับร้อนเป็นครั้งแรก

พระพุทธรูปปางจงกรมแก้ว
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สูงเฉพาะองค์พระ 20.60 ซ.ม. สูงจากฐานถึงพระรัศมี 32.50 ซ.ม.

พระราชประวัติ  
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พ.ศ. 2199-2231
ทรงพระปรีชาสามารถด้านสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ตลอดจนการเจรจาทางการค้า โดยได้ส่งคณะทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และยังทรงเป็นขัติยกวี ทรงนำวรรณกรรมสู่ความรุ่งเรืองถึงที่สุด ดังปรากฎกวีสำคัญมากมายในรัชสมัยนี้ อาทิ พระโหราธิบดี ผู้แต่งหนังสือจินดามณี และปฎิภาณกวีด้านโคลง 4   นามศรีปราชญ์

พระพุทธรูปปางทุกกรกิริยา
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (ตากสินมหาราช) ขนาดหน้าตักกว้าง 8 ซ.ม. สูงเฉพาะองค์พระ 11.80 ซ.ม. สูงจากฐานถึงพระรัศมี 23 ซ.ม.

พระราชประวัติ  
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (ตากสินมหาราช) 
พ.ศ. 2310-2325
ทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนสู่ชาติไทยอย่างภาคภูมิ หลังจากเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่ 2 กับทั้งทรงรวบรวมบรรดาชุมนุมต่างๆ ที่ตั้งตนเป็นอิสระ ให้กลับมาเป็นปึกแผ่น โดยได้สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ด้านการศาสนา ทรงโปรดเกล้าฯ อัญเชิญพระแก้วมรกต จากเมืองเวียงจันทน์ มาประดิษฐานไว้ที่วิหารข้างพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม เมื่อ พ.ศ. 2322

 

พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย สมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ (สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)   สูงเฉพาะองค์พระ 8 ซ.ม. สูงจากฐานถึงพระรัศมี 11.80 ซ.ม.

พระราชประวัติ  
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พ.ศ. 2325-2352
ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ทรงพระปรีชาสามารถในหลายด้าน ในด้านการบริหารบ้านเมืองทรงแบ่งการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง   การปกครองส่วนภูมิภาค การบริหารส่วนท้องถิ่น ในการศาสนาโปรดให้รวบรวม และสังคายนาพระไตรปิฎก สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม รวมถึงการบูรณะและปฎิสังขรณ์วัดต่างๆ


พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ทรงอุทิศพระราชกุศลถวาย พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชฐมเหศวรสุนทรฯ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) สูงเฉพาะองค์พระ 8 ซ.ม. สูงจากฐานถึงพระรัศมี 11.20 ซ.ม.

พระราชประวัติ  
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พ.ศ. 2352-2367
ในแผ่นดินของพระองค์บ้านเมืองมีแต่ความสงบร่มเย็น ในด้านการปรับปรุงบริหารราชการแผ่นดิน ได้จัดตั้งผู้กำกับการกรม ซึ่งช่วยปฎิบัติราชการในกระทรวงต่างๆ ด้านการศาสนา ทรงแต่งตั้งสมณทูตไปลังกา จัดสร้างและบูรณะปฎิสังขรณ์วัดหลายแห่ง ทรงส่งเสริมงานด้านวรรณคดี ทรงพระนิพนธ์ บทละครเรื่องอิเหนา และรามเกียรติ์
และปรากฎนามกวีท่านหนึ่งในรัชสมัยนี้ คือ สุนทรภู่ ซึ่งแต่งเรื่องพระอภัยมณี บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฯลฯ


 

 

                                                                                                                               
Credit: http://supphakitpotaset.clipmass.com
11 ธ.ค. 53 เวลา 13:39 4,606 48
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...