ธนบัตรแบบ 5 (พิมพ์ญี่ปุ่น)
เมื่อกองทัพญี่ปุ่นยาตราเข้าประเทศไทยในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 รัฐบาลไทยจำเป็นต้องหันหน้าไปขอร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่น จัดหาผู้พิมพ์ธนบัตรให้ รัฐบาลญี่ปุ่นมอบให้บริษัทมิตซุยบุซซันไกซา เป็นผู้ติดต่อกับโรงพิมพ์ธนบัตร ของกระทรวงคลังญี่ปุ่นอีกต่อหนึ่ง
ธนบัตรรุ่นนี้มี 7 ขนาด คือ 50 สตางค์ , 1 บาท , 5 บาท , 10 บาท , 20 บาท , 100 บาท และ 1000 บาท
ด้านหน้าราคา 50 สตางค์ ไม่มีรูปใดเลย ราคา 1 บาท รูปวัดภูมินทร์ จ. น่าน 5 บาท รูปวัดเบญจมบพิตร 10 บาท รูปกำแพงและวัดพระเชตุพน 20 บาท รูปพระที่นั่งบางปะอิน 100 บาท รูปพระปรางค์วัดอรุณฯ และ 1000 บาท รูปพระที่นั่งจักรี
ด้านหลังของทุกราคา รูปพระบรมหาราชวัง
ธนบัตรแบบ 6 (กรมแผ่นที่และกรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ)
ธนบัตรแบบ 6 ออกใช้ 2 ราคา เท่านั้น คือ 20 บาท เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2488 และ 100 บาท เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2488 เช่นกัน ลักษณ์เหมือนราคาเดียวกันกับแบบ 4 (พิมพ์กรมแผนที่) เกือบทั้งหมด เว้นแต่ลายน้ำตรงกลางใต้ข้อความ "รัถบาลไทย" บนราคา บาท เป็นสีชมพูสีเดียว และบนราคา 100 บาท เป็นสีม่วงอ่อนกับเขียว ส่วนธนบัตรที่พิมพ์จากกรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ ไม่มีคำว่า "กรมแผนที่" อยู่ตรงกลางกรอบด้านล่าง สำหรับชนิดราคา 100 บาท มีตราของธนาคารแห่งประเทศไทย สีแดงประทับบนด้านหลังให้คาบกับต้นขั้ว
รุ่น 2 ทั้ง 2 ราคา มีเส้นไหมสีแดงและน้ำเงินโปรยทั่วธนบัตร และลายน้ำเปลี่ยนเป็นเส้นริ้วพาด มีพานแว่นฟ้าประดิษฐ์รัฐธรรมนูญ อยู่ในวงกลมขาว
ธนบัตรแบบ 7 (รุ่นธนาคารแห่งประเทศไทย)
การขนส่งจากญี่ปุ่นขลุกขลัก และกรมแผ่นที่ทหารฯ กับกรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ ต่างทำงานจนสุดกำลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้จัดจ้าง โรงพิมพ์เอกชนพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเติม แม้จะได้ควบคุมอย่างเข้มงวด สีของธนบัตรก็ผิดไปจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เฉพาะอย่างยิ่ง ชนิดราคา 10 บาท ขนาดก็ต่างไปจากที่ประกาศไว้ บางทีถึง 1.5 มม. คงเป็นเพราะใช้หลายโรงพิมพ์
ธนบัตรชุดนี้มีพระบรมฉายาลักษณ์ รัชกาลที่ 8 พระพักตร์ตรงเช่นเดียวกับแบบ 5 (ญี่ปุ่น) ธนบัตรราคา 1 บาท และ 5 บาท คล้ายกับแบบ 4 (โทมัส) ราคา 10 บาท คล้ายราคา 10 บาทของแบบ 4 (กรมแผนที่) ราคา 50 บาท คล้ายแบบ 4 และแบบ 6 ตรงกลางขอบล่างทุกราคา มีข้อความว่า "ธนาคารแห่งประเทศไทย" ด้านหลังเหมือนแบบ 4 กับแบบ 6
ธนบัตรแบบ 8 (พิมพ์อเมริกา)
บริษัท โทมัส เดอลารู ประสบความเสียหายในสงคราม รัฐบาลไทยจำต้องหันไปหารัฐบาลสหรัฐฯช่วยจัดพิมพ์ให้ โรงพิมพ์ธนบัตรของกระทรวงการคลังสหรัฐฯได้ติดต่อจ้าง เดอทิวเอดร์เพรส อิงค์ แห่งบอสตัน เป็นผู้พิมพ์ให้ 5 ราคา คือ 1 บาท , 5 บาท , 10 บาท (ขนาด 6.6 คูณ 11.1 ซม.) ราคา 20 บาท , 100 บาท (ขนาด 6.6 คูณ 15.6 ซม.)
ด้านหน้าทางซ้ายมีพระบรมฉายาลักษณ์ ถัดไปคำว่า "รัฐบาลไทย" "ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" ตัวอักษรบอกราคา ลายมือรัฐมนตรี พื้นเป็นลายเฟือง ภาพพระปฐมเจดีย์ รูปครุฑอยู่มุมบนซ้าย ช้างสามเศียรอยู่มุมล่างขวา
ด้านหลัง รัธรรมนูญเหนือพานแว่นฟ้าในกรอบลายเถา มีคำกล่าวโทษการปลอมแปลงธนบัตร
ธนบัตรแบบ 9
ธนบัตรแบบ 9 นี้มี 6 รุ่น ซึ่งแต่ละรุ่นแตกต่างกันเล็กน้อย และใช้มาเป็นเวลายี่สิบปี ระยะหลังเมื่อขาดคราวก็ยังนำชนิด 10 บาท , 20 บาท มาใช้ต่อ ธนบัตรชนิด 50 สตางค์ ซึ่งพิมพ์ก่อนสงครามก็นำมาใช้ด้วย
เฉพาะชนิด 50 สตางค์ ไม่มีพระบรมฉายาลักษณ์ มีรูปครุฑอยู่ตรงกลางด้านบน ต่อลงมาคำว่า "รัฐบาลไทย" "ธนบัตรเป็นเงินชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" และห้าสิบสตางค์
ส่วนราคาอื่น 1 บาท , 5 บาท , 10 บาท , 20 บาท เหมือนกับแบบ 4 (โทมัส) เปลี่ยนแต่พระบรมฉายาลักษณ์และเพิ่มชื่อ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ลักษณะของชนิดราคา 100 บาท ก็เช่นเดียวกับราคาอื่นๆ เพียงแต่ว่าเลขหมายเป็นสีดำ จึงสงเคราะห์เข้ากับรุ่น 2 ของชนิดราคาอื่นๆ