ธนบัตรไทยสมัยต่างๆ (3)

                                    ธนบัตรแบบ 3 (รุ่น 1)

                 ธนบัตรแบบ 2 ออกใช้ 2 รุ่น โดยรุ่นแรกประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2477 มี 4 ราคา คือ 1 บาท , 5 บาท , 10 บาท , 20 บาท มีข้อสังเกตสำคัญที่เป็นธนบัตรแบบแรก ที่มีพระบรมฉายาลีกษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7 ) 
                ธนบัตรชนิดราคา 1 บาท และ 10 บาท ซึ่งออกใช้ก่อน ตำแหน่ง "เสนาบดีกระทรวงพระคลัง" เปลี่ยนเป็น "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลัง" แต่บนราคาชนิดอื่นซึ่งออกหลังจากนั้น เปลี่ยนต่อไปอีกว่า "รัฐนมตรีว่าการกระทรวงการคลัง" 
                พิมพ์บนกระดาษลายน้ำเป็นรูปช้างสามเศียรอยู่ในวงกลม ลายเฟืองด้านหลัง

                                    ธนบัตรแบบ 3 (รุ่น 2)

                 ธนบัตรแบบ 2 รุ่น 2 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2479 มี 4 ราคา เหมือนรุ่นแรก ต่างกันเฉพาะพระบรมฉายาลักษณ์เปลี่ยนจาก รัชกาลที่ 7 เป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8
                  ธนบัตรชนิดราคา 1 บาท ขนาด 7.5 คูณ 13.5 ซม. พื้นสีน้ำเงินลายแสดและเหลือง ด้านหน้ามีรูปเรือสุพรรณหงส์ตรงกลาง ราคา 5 บาท ขนาด 8.5 คูณ 15.5 ซม. พื้นม่วงลายแสดและเหลือง รูปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ราคา 10 บาท ขนาด 9.5 คูณ 17.5 ซม. สีน้ำตาล รูปเรือจอดริมแม่น้ำ ราคา 20 บาท ขนาด 9.5 คูณ 17.5 ซม. สีเขียวใบไม้ลายเหลืองและแสด รูปเรือนไทยกลางน้ำ
                   ด้านหลังของทุกราคา มีรูปวัดและเจดีย์กลางน้ำ

                                       ธนบัตรแบบพิเศษ

                 ธนบัตรแบบพิเศษ ประกาศใช้ระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน 2485 ถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2486 มี 5 ชนิดด้วยกัน ล้วนอุบัติขึ้นเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มีราคา 1 บาท , 1000 บาท , 50 บาท , 50 สตางค์ และ ราคา 1 บาท แบบบุก
                 ในภาพเป็นธนบัตรแบบบุก ราคา 1 บาท
                 ธนบัตรนี้ทางการทหารอังกฤษจัดพิมพ์ไว้เตรียมใช้ เมื่อมาตีประเทศไทยจากญี่ปุ่น และพอสงครามสงบก็ยื่นให้ทางการไทย ทางการไทยขาดธนบัตรก็นำไปพิพม์ดัดแปลง ขนาดของธนบัตร 7.3 คูณ 11.4 ซม. สีน้ำเงิน
                 ด้านหน้า กรอบลายเฟือง มีเลขไทยและเลขอาหรับกำกับอยู่ มีอักษรอังกฤษ ONE BATH ตรงกลาง เหนือนั้นพิมพ์ทับ "รัฐบาลไทยและธนบัตรเป็นเงินชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย"   ด้านหลังมีเลขอาหรับตรงกลาง

                               ธนบัตรแบบ 4 (โทมัส เดอลารู)

                 ธนบัตรแบบ 4 ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2481 เรียกกันว่า แบบโทมัส เพราะพิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอลารู ให้ต่างกับแบบเดียวกันแต่พิพม์ที่กรมแผนที่ และออกใช้รุ่นหลัง รุ่น 1 นี้มี 5 ราคา ลวดลายด้านหน้า 1 บาท มีรูปพระสมุทรเจดีย์ 5 บาท รูปพระปฐมเจดีย์ 10 บาท รูปป้อมมหากาฬที่ปากน้ำ 20 บาท รูปพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย และพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท 100 บาท รูปพระปรางค์วัดอรุณฯ
                   รุ่น 2 เปลี่ยนเฉพาะคำว่า "รัฐบาลสยาม" เป็น "รัฐบาลไทย" ประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2482 ราคา 1 บาท , 5 บาท ,10 บาท และ 1000 บาท
                     รุ่น 3 ออกใช้เฉพาะราคา 1 บาท ผิดจากรุ่น 2 คือ อักษรหมวด และหมายเลขด้านซ้าย เปลี่ยนจากเลขไทย เป็นอักษรโรมันและเลขอาหรับ

                                ธนบัตรแบบ 4 (กรมแผนที่)

                 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลได้สั่งพิมพ์ธนบัตรจากญี่ปุ่น แต่เนื่องจากอุปสรรคในการลำเลียง และความต้องการสูงของกองทัพญี่ปุ่นในไทย รัฐบาลจำต้องดำเนินการพิมพ์ธนบัตรเองในประเทศไทย โดยใช้อุปกรณ์แล้วแต่จะหาได้
                  ธนบัตรเหล่านั้นมี 2 ขนาดเท่านั้น มี 4 ราคา คือ 1 บาท , 10 บาท , 20 บาท, และ 100 บาท โดยทุกแบบพิมพ์ใกล้เคียงแบบพิมพ์ของโทมัส เอดลารูที่สุดที่ทำได้
                      ลวดลายราคา 1 บาท , 10 บาท ,20 บาท คงเหมือนแบบ 4   ส่วน 100 บาทแปลกออกอีกที่มีรูปครุฑอยู่บนมุมซ้าย ตรงกลางมีรูปวัดอรุณฯ ตัวสะกดไทยใช้ตามที่รัฐบาลบังคับสมัยนั้น (อักขรวิบัติ)

10 ธ.ค. 53 เวลา 19:30 7,545 1 26
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...