ธนบัตรไทยสมัยต่างๆ (2)

                                        เงินกระดาษหลวง

                 เงินกระดาษหลวงดังกล่าว เป็นการทำอย่างวิจิตรบรรจง สีสรรค์งดงามกว่าธนบัตรที่ออกในปี พ.ศ. 2445 เงินกระดาษหลวงมีทั้งหมด 8 ราคา ทำขนาดต่างกัน คือ 1 บาท (9 คูณ 15.5 ซม.) 5 บาท (10 คูณ 16 ซม.)  10บาท (11 คูณ17.5 ซม.) 40 บาท (12 คูณ 18.5 ซม.) 80 บาท (13 คูณ 19.5 ซม.)   100 บาท (13.5 คูณ 20.5 ซม.) 400 บาท ( 14.5 คูณ 22.5 ซม.) และราคา 800 บาท (17 คูณ 24.5 ซม.)
           ทั้ง 8 ราคา มีตราอาร์มโยกย้ายไว้ที่ต่างๆ ไม่ซ้ำแบบ มีอักษรและตัวเลขบอกจำนวนเงินเป็นภาษาไทย อังกฤษ จีน มาลายู อาหรับ ลาว และ เขมร เมื่อยดขึ้นส่องดูจะเห็นลายน้ำบอกราคา 
             การสั่งเงินกระดาษหลวงจำนวนและราคาดังกล่าว ได้รับพระบรมราชานุญาติ 

 

                                           บัตรธนาคาร

                ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มี 3 ธนาคารต่างประเทศ ออกบัตรธนาคารใช้แทนเงินอยู่ในท้องตลาด คือ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์ และธนาคารแห่งอินโดจีน บัตรที่ออกเรียกว่า แบงค์โน้ต (Bank Note)  แต่คนไทยเรียกสั้นๆว่า แบงค์ เลยติดปากเรียกธนบัตรของรัฐบาลว่า แบงค์มาจนถึงทุกวันี้
                 ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ เป็นธนาคารแรกที่ออกบัตร เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2432 บัตรธนาคารต่างๆ ที่ธนาคารออกให้ เป็นการออกตั๋วสัญญาจะจ่ายเงินตราโลหะ แก่ผู้ที่นำบัตรนี้มาขึ้นเมื่อถวงถาม ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และบัตรธนาคารเหล่านี้ก็มิได้ใช้กันแพร่หลาย คงใช้เฉพาะในหมู่พ่อค้าชาวต่างชาติ และประชาชนชั้นสูงในพระนครเท่านั้น ชาวบ้านยังคงนิยมใช้เหรียญบาทกันอยู่

          บัตรธนาคารชาร์เตอร์ฯ

                 ธนาคารชาร์เตอร์ฯ ออกบัตรธนาคารในปี 2441 บัตรที่ออกมี 7 ราคา คือ 1 บาท 5บาท 10 บาท 20 บาท 40 บาท 80 บาท และ 400 บาท พิมพ์ในกรุงลอนดอน เมื่อสิ้นปี 2455 ซึ่งเป็นปีที่รัฐบาลออกธนบัตร บัตรธนาคารชาร์เตอร์ก็เริ่มลดลงตามลำดับ จนสิ้นเดือนธันวาคม 2452 บัตรธนาคารเหลือเพียง 10,121 บาท ธนาคารฮ่องกงเหลือ 24,482 บาท

บัตรธนาคารแหางอินโดจีน

                 ธนาคารแห่งอินโดจีน เริ่มออกบัตรธนาคาร เมื่อเดือนเมษายน 2442 มี 4 ราคา คือ 5 บาท 20 บาท 80 บาท และ 100 บาท เมื่อสิ้นปี 2445 บั้ตรธนาคารก็เริ่มลดลง จนเมื่อสิ้นเดือน ธันวาคม 2452 ก็เหลือเพียง 9,600 บาท 
               เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2445 รัฐบาลได้ขอร้องให้ธนาคารทั้ง 3 แห่ง ถอนคืนบัตรธนาคารของตนเสีย เพราะรัฐบาลต้องการออกธนบัตรของตนเอง

ธนบัตรแบบ 1 (หน้าเดียว)

                 ธนบัตรหน้าเดียว ประกาศใช้เมือ่วันที่ 7 กันยายน 2445 มี 5 ราคา คือ 5 บาท , 10 บาท , 20 บาท , 100 บาท   และ 1000 บาท ออกทั้งหมด 5 รุ่น แต่ละรุ่นแตกต่างกันในรายละเอียดเล็กน้อย มี 2 ขนาด คือ ชนิดราคา 5 บาท ขนาด 10.5   คูณ 16.5 ซม. ส่วนราคาอื่นๆขนาด 12.6 คูณ 20.5 ซม.
                มุมบนด้านขวามีราคาเลขไทย ด้านบนซ้าย และล่างขวามีเลขอารบิค มีตราแผ่นดิน (ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2461 ธนบัตรชนิดราคา 1 บาท เปลี่ยนจาก ตราแผ่นดินมาเป็นตราครุฑพ่าห์ ) ใต้ลงมามีข้อความ "รัฐบาลสยาม สัญญาจะจ่ายเงินให้แก่ผู่ที่นำธนบัตรนี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม" บรรทัดรองลงมา มีราคาเป็นตัวอักษรในกรอบ ไทยด้านขาว อังกฤษด้านซ้าย ลายมือชื่อเสนาบดีกระทรวงพระคลังด้านขวา ของเจ้าพนักงานด้านซ้าย

ธนบัตรแบบ 2 (รุ่นไถนา)

                ธนบัตรแบบ 2 ออกใช้ 2 รุ่น โดยรุ่นแรกออกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2468 รวม 6 ราคา คือ 1 บาท , 5 บาท , 10 บาท , 20 บาท ,100 บาท , 1000 บาท ,   มีรูปพิธีจรดพระนางคัลแรกนาขวัญอยู่ตรงกลางด้านหลัง จึงเรียกกันว่า แบบแรกนา ไถนา พิพม์บนกระดาษไม่มีลายน้ำ
                  ลวดลายทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เหมือนกันหมดทุกราคา ธนบัตรแบบ 2 รุ่น 2 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2471 ทั้ง 6 ราคา แตกต่างจากรุ่น 1 อย่างเดียวคือ ข้อความ "สัญญาว่าจะจ่ายเงินให้แก่ผู่นำพันธบัตรนี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม " เปลี่ยนเป็น "ธนบัตรเป็นเงินที่ชะรำหนี้ได้ตามกฎหมาย"

10 ธ.ค. 53 เวลา 19:13 4,690 2 28
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...