อาวุธที่ประจำอยู่ในกองทัพไทย

JAS-39 Gripen C กริพเพน 39 ซี
Filed under: อาวุธ — ป้ายกำกับ:JAS-39 Gripen C กริพเพน 39 ซี — Mr.Vop @ 23:57

เครื่อง บินขับไล่-โจมตีอเนกประสงค์แบบ JAS-39 Gripen ออกแบบและผลิตโดยบริษัทอากาศยานเก่าแก่ของสวีเดน คือบริษัทซาบ-SAAB เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบเก่า J35Darken และ AJS37Viggen ของกองทัพอากาศสวีเดน JAS-39 Gripen เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2530 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 50 ปีของบริษัทซาบ และขึ้นบินทดสอบครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2531 ก่อนเข้าประจำการในกองทัพอากาศสวีเดนในปี 2540 ปัจจุบันมี 6 ชาติที่สวีเดนขายกริพเพนให้ประจำการ นอกจากสวีเดนคือ อังกฤษ ฮังการี เช็ก แอฟริกาใต้ และไทย ส่วนประเทศที่กำลังจัดซื้อประกอบด้วย กองทัพอากาศ บราซิล อินเดีย บัลแกเรีย โครเอเชีย กรีซ โรมาเนีย และสโลวะเกีย


สำหรับ ประเทศไทย โครงการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพน 39 ซี/ดี ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ยุคที่ 4.5 (4.5 Generation Fighter) จำนวน 12 ลำ เกิดขึ้นสมัย พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) เพื่อนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่เอฟ 5 บี/อี ที่ประจำการอยู่ฝูง 701 กองบิน 7 โดยเข้ามาประจำการตั้งแต่ปี 2519 กองทัพอากาศไทยเจรจากับกองทัพอากาศสวีเดน เมื่อปี 2548-2549 วงเงิน 34,400 ล้านบาท แบ่งการจัดซื้อเป็น 2 ระยะ คือระยะที่หนึ่ง จำนวน 6 ลำ วงเงิน 19,000 ล้านบาท จะได้รับเครื่องในปี 2554 เดือนมกราคม 3 ลำ เดือนมีนาคม 3 ลำ ส่วนโครงการระยะที่ 2 จำนวน 6 ลำ มติครม.อนุมัติในวันดังกล่าวข้างต้น


เครื่อง บินกริพ เพนถูกออกแบบมาให้มีขนาดเครื่องเล็ก น้ำหนักเบา แต่มีประสิทธิภาพบินได้คล่องแคล่ว รบได้ หลากหลายรูปแบบ ใช้ระบบอาวุธได้หลากหลายรูปแบบทั้งระบบอาวุธที่ผลิตจากสหรัฐและสหภาพยุโรป พิสัยการยิงไกล ระบบการทำลายสูง ไม่ว่าจะเป็นการรบด้วยระบบอากาศสู่อากาศ อากาศสู่พื้นดิน และอากาศสู่ทะเล จำนวน 6 ลำ จะเข้ามาประจำการในเดือนมกราคม-มีนาคม 2554 ใช้งบประมาณจัดเตรียมพื้นที่กว่า 700 ล้านบาท โดยใช้ที่กองบิน 7 สุราษฎร์ธานี มี น.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บังคับการกองบิน 7 เป็นผู้บังคับบัญชาคนแรกของเครื่องบินกริพเพน และน.ท.จักรกฤษณ์ ธรรมวิชัย เป็นผู้นำฝูงเครื่องบินกริพเพน 39 ซี/ดี

ข้อมูลจาก http://www.khaosod.co.th

ตุลาคม 6, 2010
ประเภทและลักษณะวัตถุระเบิด-วิธีปฏิบัติเมื่อพบ
Filed under: อาวุธ — ป้ายกำกับ:วัตถุระเบิด — Mr.Vop @ 12:14
วัตถุระเบิด

วัตถุระเบิดหมายถึงวัตถุทางเคมี ที่มีความสามารถในการลุกไหม้และปลดปล่อยแก๊สปริมาณมากออกมาโดยฉับพลัน การจำแนกวัตถุระเบิดตามลักษณะได้ 4 ชนิด คือ

ชนิดของแข็ง เช่น TNT. และ Ted triton ชนิดของเหลว เช่น ไนโตรกรีเซอรีน และ เคมีจำพวกไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ชนิดผง ได้แก่ ไดนาไมท์, PETN. และ แอมโมเนียมไนเตรท ชนิดวัสดุผสม ได้แก่ Composition C-2, C-3 และ C-4 และดินระเบิด Tatting

วัตถุระเบิด สามารถจำแนกตามอำนาจทำลายได้ 5 ประเภท ดังนี้

ประเภทแตกหัก ได้แก่ TNT. Dynamite และ Ted triton ดินระเบิดชนิดนี้เมื่อระเบิด ไม่มีกลิ่น และไม่มีเขม่าควัน อำนาจระเบิดจะมีแรงกดดันสูง สามารถทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในรัศมีทำลายให้แตกป่นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ยกเว้น Dynamite วัสดุที่ถูกทำลายด้วยดินระเบิดชนิดนี้จะแตกหักเป็นชิ้นใหญ่ ๆ ประเภทตัด ได้แก่ Composition C-2, C-3 และ C-4 ลักษณะเป็นผงผสมกับเรซิ่นเหลวจึงมีลักษณะนิ่ม อ่อนตัว สามารถบิและปั้นได้ เมื่อเกิดระเบิดไม่มีกลิ่นและเขม่าควัน อำนาจระเบิดมีความร้อนสูง สามารถละลายตัดโลหะได้ในพริบตา แต่จะมีอำนาจทำลายเป็นบริเวณไม่กว้างมากนัก จึงนิยมนำไปใช้ในสถานที่คับแคบ เป็นดินระเบิดที่สามารถนำไปใช้งานใต้น้ำได้ดี ประเภทเจาะ ได้แก่ ดินระเบิดโพรง และ แอมโมเนียมไนเตรท ดินระเบิดชนิดนี้เมื่อระเบิด จะมีกลิ่นรุนแรง และมีเขม่าควันสีดำจับบริเวณที่เกิดระเบิด โดยเฉพาะระเบิดแอมโมเนียมไนเตรทนั้น วัสดุหลักมาจากปุ๋ยเคมีผสมกับแอมโมเนียม หรือน้ำมันดีเซล ในสถานที่เกิดระเบิด จึงมีกลิ่นฉุนเฉียวของแอมโมเนีย หรือกลิ่นของน้ำมันดีเซลอยู่ด้วย อำนาจแรงระเบิดส่วนใหญ่ของดินระเบิดชนิดเจาะสามารถบังคับทิศทางได้ด้วย บรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้ม และแรงระเบิดส่วนใหญ่หากวางไว้โดยไม่กำหนดทิศทาง จะเจาะลงพื้นเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงทำให้เกิดหลุมระเบิด ณ บริเวณจุดที่ระเบิดขึ้นเสมอ และสังเกตจากสถานที่ถูกวางระเบิด วัสดุที่ถูกทำลายจะแตกหักเป็นชิ้นใหญ่ ๆ ดังนั้นจึงนิยมนำไปใช้ในกิจการโรงโม่หิน เนื่องจากระเบิดแล้วจะได้หินก้อนใหญ่มาเข้าเครื่องบด หากใช้ TNT หินก็จะถูกระเบิดแตกป่นเป็นฝุ่นเสียส่วนใหญ่ ส่วนดินระเบิดโพรง หรือ เชจชาร์ฟ เป็นดินระเบิดประเภทเจาะที่ให้ความร้อนสูงมากสามารถละลายโลหะ หรือคอนกรีตหนา ๆ ให้ทะลุเป็นช่องได้ในพริบตา จึงนิยมใช้เป็นดินระเบิดนำในหัวรบของจรวดต่อสู้รถถัง และใช้ในงานขุดเจาะบ่อหรืออุโมงค์เป็นส่วนใหญ่ ประเภทนำ ได้แก่ PETN. หรือ ฝักแคระเบิด ลักษณะเป็นสายเส้นยาวเหมือนสายไฟกลม ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดง เหลือง หรือเขียวมะกอกคล้ายสายชนวนดินดำ ต่างกันที่วัตถุระgบิดที่บรรจุจะเป็นผงสีขาวผสมเรซิ่นเหลว สามารถนำไปใช้งานใต้น้ำได้ โดยปกติ PETN. จะถูกนำไปใช้ต่อพ่วงกับดินระเบิดชนิดอื่น เพื่อให้สามารถวางระเบิดพร้อมกันได้หลาย ๆ จุดโดยการใช้เครื่องจุดระเบิด และเชื้อประทุเพียงชุดเดียว นอกจากนี้ยังนิยมใช้ในการตัดต้นไม้ หรือตัดเหล็กโดยการพันรอบแล้วจุดระเบิด บังกะโลตอร์ปิโด เป็นดินระเบิด Composition C-4 บรรจุในท่ออะลูมิเนียมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 นิ้ว ยาวท่อนละ 1 เมตร มีข้อต่อสามารถนำมาต่อกันเป็นท่อนยาวได้ตามต้องการ บังกะโล ตอร์ปิโด นิยมใช้วางและจุดระเบิดเพื่อเปิดทางที่เป็นละเมาะหนาทึบ แรงระเบิดของบังกะโลตอร์ปิโด สามารถทำลายทุ่นระเบิดที่ฝังไว้ใต้ผิวดินได้ทุกชนิด นิยมใช้เจาะช่องทาง และทำลายทุ่นระเบิดที่ฝังอยู่ใต้ผิวดิน

ลักษณะทั่วไปของวัตถุระเบิด

ดินระเบิด TNT และ Ted triton เป็นของแข็งและแห้ง สีเหลืองเจือขาวเล็กน้อยเหมือนก้อนกำมะถัน ดินระเบิด TNT จะห่อหุ้มด้วยกระดาษแข็งสีเขียวมะกอกคาดเหลือง หัว-ท้ายปิดด้วยแผ่นเหล็ก ด้านหนึ่งมีรูสำหรับใส่เชื้อประทุ มีตัวอักษร TNT และ HI-Explosive ปรากฏอยู่อย่างชัดเจน ขนาดบรรจุ 1/4 ปอนด์, 1 ปอนด์ และ 8 ปอนด์ ดินระเบิด Ted triton จะเป็นแท่งเปลือยไม่ปรากฏอักษรและสัญลักษณ์ใด ๆ ขนาดแท่งละ 1 ปอนด์ ร้อยต่อกันด้วยชนวนฝักแคระเบิดจำนวน 8 แท่ง สามารถตัดแยกออกไปใช้งานเป็นแท่งเดี่ยว หรือจะใช้บางส่วน หรือทั้งหมดก็ได้ ดินระเบิด Composition C-2, C-3 และ C-4 ลักษณะเป็นผงผสมกับเรซิ่นเหลว ในรุ่น C-2, C-3 มีสีเหลือง เมื่อจับต้องจะเหนียวติดมือ ส่วนรุ่น C-4 เป็นผงสีขาวสะอาด จับต้องได้ไม่ติดมือ ดินระเบิดโพรง ลักษณะเป็นแท่งใหญ่ ด้านหนึ่งเป็นกรวยปลายป้าน มีรูใส่เชื้อประทุ ห่อหุ้มด้วยไฟเบอร์ทาสีดำ แอมโมเนียมไนเตรท แบบมาตรฐานจะถูกบรรจุในถังสีเขียวมะกอก สูงประมาณ 1 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว สำหรับแบบแสวงเครื่อง นิยมบรรจุใส่กระป๋องโลหะ อย่างเช่นกระป๋องนมผง เนื่องจากดินระเบิดชนิดนี้มีลักษณะเหมือนวุ้น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า พาวเวอร์เจล และไม่นิยมห่อหุ้มด้วยกระดาษเพราะจะทำให้ดินระเบิดคลายความชื้น และเสื่อมสภาพได้อย่างรวดเร็ว ดินระเบิด Dynamite มีส่วนผสมจากไนโตรกรีเซอรีนกับเรซิ่นผง จึงมีลักษณะเป็นเกร็ดสีน้ำตาลเข้มคล้ายน้ำตาลทรายแดง ปกติห่อด้วยกระดาษไขสีน้ำตาลเป็นแท่ง ๆ ละ 1 ปอนด์

เครื่องจุดระเบิด เครื่องจุดระเบิดมีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด คือ

ชนิดกด ชนิดเลิกกด ชนิดดึง ชนิดเลิกดึง ชนิดถ่วงเวลา ชนิดแสวงเครื่อง

เชื้อประทุ เชื้อประทุมาตรฐาน ลักษณะเป็นหลอดอะลูมิเนียมผิวเรียบ ขนาดเท่ากับหลอดยาหอม 5 เจดีย์ ความยาวเท่ากับบุหรี่ก้นกรอง แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

ชนิดธรรมดา ใช้ประกอบกับสายชนวนดินดำ จุดด้วยไฟ ชนิดไฟฟ้า ใช้ต่อกับสายไฟยาว จุดด้วยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ หรือ แมกนีโต

วัตถุระเบิดชนิดแสวงเครื่อง หมายถึงการประกอบวัตถุระเบิดเพื่อใช้งานจากวัสดุที่หาได้ใกล้ตัว วัตถุระเบิดแสวงเครื่องจึงไม่มีรูปแบบที่แน่นอน อีกทั้งไม่มีตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ใด ๆ แสดงให้เห็นว่าเป็นวัตถุระเบิดอีกด้วย วัสดุที่ใช้บรรจุและห่อหุ้มวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้กัน มีดังนี้

ประเภทกระป๋อง ได้แก่ กระป๋องนมผง กระป๋องน้ำอัดลม กระป๋องใบชา ฯลฯ ที่มีขนาดใหญ่พอจะใส่วัตถุระเบิด พร้อมทั้งเครื่องจุดและสะเก็ดระเบิดได้ ประเภทหีบห่อ เช่น กระเป๋าถือ กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าหนีบ กล่องพัสดุ ประเภทวัสดุก่อสร้าง เช่นท่อประปา ท่อเอสล่อน ประเภทห่อหุ้ม เช่นใส่ในถุงพลาสติกแล้วพันด้วยเทปกาวให้แน่น ประเภทวัสดุท้องถิ่น เช่น กระบอกไม้ไผ่ กระติบข้าวเหนียว หม้อหุงข้าว ถังใส่น้ำ ฯลฯ

เครื่องจุดระเบิดชนิดแสวงเครื่อง ไม่มีลักษณะตายตัว แต่พอแบ่งออกได้ดังนี้

ชนิดสะดุด มักทำด้วยลวดและกับดักหนู หรือไม้หนีบผ้า ชนิดดึง มักทำด้วยเชือกกับไม้หนีบผ้า หรือไม้หนีบทำเอง กับลิ่มกันไฟ ชนิดตั้งเวลา ด้วยนาฬิกาควอซ หรือนาฬิกาปลุก ชนิดไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์บังคับระยะไกล มักทำด้วยโทรศัพท์มือถือ เพจเจอร์ หรือ รีโมทคอนโทรล

การปฏิบัติเมื่อพบวัตถุต้องสงสัยว่าจะเป็นวัตถุระเบิด ข้อปฏิบัติสำหรับบุคคลทั่วไป และเจ้าหน้าที่ ๆ มิใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด

กันคนออกจากสถานที่ ๆ พบวัตถุต้องสงสัย ให้อยู่ห่างจากจุดที่พบวัตถุต้องสงสัยอย่างน้อยที่สุด 100 เมตรโดยรัศมี อย่าแตะต้อง เคลื่อนย้าย หรือยกวัตถุต้องสงสัยโดยพลการ เพราะคนร้ายอาจติดตั้งชนวนกันเคลื่อนไว้ที่วัตถุระเบิดด้วย หากรีบยก หรือเคลื่อนย้ายโดยขาดความรู้ความชำนาญ ระเบิดจะทำงานทันที หรือคนร้ายที่แฝงตัวอยู่ในบริเวณใกล้เคียง อาจกดเครื่องจุดระเบิดระยะไกลให้ระเบิดทำงานทันทีที่เห็นคน หรือเจ้าหน้าที่เข้าไปใกล้เพื่อเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดนั้น (กรณีนี้เคยมีตัวอย่างที่ภาคใต้ โดยคนร้ายซ่อนวัตถุระเบิดไว้ในรถ จยย. เมื่อเจ้าหน้าที่เข้าไปใกล้ จยย.คันดังกล่าวเพื่อตรวจสอบ คนร้ายได้จุดระเบิดทันที ทำให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 2 นาย และบาดเจ็บอีกหลายนาย) แจ้งเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานเก็บกู้วัตถุระเบิดเพื่อดำเนินการทันที

เพิ่มเติม ดินระเบิดทุกชนิด หากไม่ได้ประกอบไว้กับเชื้อประทุ จะไม่มีอันตรายใด ๆ สามารถนำมาเตะเล่นแทนตะกร้อก้อได้ หรือจะนำไปจุดไฟ ก้อจะได้เปลวไฟสว่างสีขาวนวล สามารถนำไปหุงต้มแทนฟืนได้เป็นอย่างดี…

กันยายน 22, 2010
เรือหลวงปัตตานี
Filed under: อาวุธ — ป้ายกำกับ:เรือหลวงปัตตานี — Mr.Vop @ 16:03
เรือหลวงปัตตานี

หมายเลขเรือ 511

ผู้สร้าง China State Shipbuilding Corperation ( CSSC ประเทศจีน )

ขนาด ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,440 ตัน

อาวุธยุโธปกรณ์
• ปืนใหญ่เรือ OTO Melara Super Rapid ขนาด 76 มม./62 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 1 แท่น
• ปืนใหญ่กล Oerlikon GAM-C01 ขนาด 20 มม./90 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว 2 แท่น
• ปืนกล ขนาด 12.7 มม. แท่นเดี่ยว 2 แท่น
• มีระบบรองรับการติดตั้งแท่นยิง Mk.141 สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น Harpoon 2 แท่น แท่นละ 4 ท่อยิง
• ลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. Super Lynx 300 1 เครื่อง

สายตาอิเล็กทรอนิคส์
• เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ Selex RAN-30X/I
• เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Rhienmetall TMX/EO
• เรดาร์เดินเรือ Raytheon NSC-25
• ระบบอำนวยการรบ Atlas COSYS

ภารกิจหลัก ( ในประเทศไทย )
ลาดตระเวนตรวจการณ์ และปฏิบัติการรบผิวน้ำ เพื่อป้องกันการแทรกซึม และการละเมิดอธิปไตยทางทะเล

ภารกิจรอง ( ในประเทศไทย )
คุ้มครองเรือประมง ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย และทะเลอันดามัน การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ตลอดจนการรักษากฎหมายในทะเลตามอำนาจ หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

หน้าที่ ( ในประเทศไทย )
• ลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลทั้งในยามปกติและยามสงคราม
• คุ้มครองการลำเลียงขนส่งทางทะเลในยามสงคราม
• ป้องกันการแทรกซึมทางทะเลในยามสงคราม
• คุ้มครองเรือประมงและการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆในทะเล
• ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล
• ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายในทะเลตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

ขีดความสามารถ
• ลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลด้วยความเร็วมัธยัสถ์ครอบคลุมพื้นที่เขตเศรฐกิจ จำเพาะในอ่าวไทยได้ภายใน ๒ วัน และสามารถปฏิบัติการได้อย่างต่อเนื่องอยู่ในพื้นที่ได้อย่างน้อย ๒๐ วัน
• มีความเร็วเพียงพอในการปฏิบัติการร่วมกับเรือฟริเกต และคอร์เวต ในการคุ้มครองการขนส่งทางทะเลในยามสงคราม
ปฏิบัติการได้จนถึง SEA STATE 5
• สามารถตรวจการณ์ และหมายรู้พิสูจน์ฝ่าย รวมทั้งการพิสูจน์ทราบเป้าได้ดี
• มีระบบอาวุธที่สามารถป้องกันตนเองจากเรือผิวน้ำในระยะไม่ต่ำกว่า ๕ ไมล์ และจากอากาศยานในระยะใกล้ และสามารถติดตั้งระบบปล่อยนำวิถี พื้น-สู่-พื้น และ/หรือ ระบบปราบเรือดำน้ำได้ในอนาคต
• มีดาดฟ้า ฮ. และโรงเก็บ ฮ. ที่สามารถรับ ฮ. ที่มีขนาดประมาณ ๗ ตันได้

กันยายน 21, 2010
เรือหลวงสิมิลัน
Filed under: อาวุธ — ป้ายกำกับ:เรือหลวงสิมิลัน — Mr.Vop @ 16:47
เรือหลวงสิมิลัน


เรือหลวงสิมิลัน (H.T.M.S.SIMILAN) เป็นเรือประเภท เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ ที่สุดของกองทัพเรือไทยที่มีอยุ่ในขณะนี้ เรือหลวงสิมิลัน ได้รับการต่อเรือจาก อู่ต่อเรือ หูตง (Hudong) นครเซี้ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน วางกระดูกงู เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2538 ปล่อยเรือลงน้ำ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2538 ขึ้นระวางประจำการเมื่อ 12 สิงหาคม พ.ศ.2539 ตัวเรือและส่วนประกอบของเรือสร้างด้วยเหล็ก ระวางขับน้ำเต็มที่ 22,000 ตัน ความยาวของตัวเรือตลอดลำ 171.45 เมตร ความยาวทของงตัวเเรือที่แนวน้ำ 160 เมตร ความกว้างของตัวเรือ 24.60 เมตร กินน้ำลึกปกติที่หัวเรือ 6 เมตร : ท้ายเรือ 6 เมตร กินน้ำลึกเต็มที่หัวเรือ 9 เมตร : ท้ายเรือ 9 เมตร ความเร็วสูงสุด มากกว่า 19 นอต ความเร็วมัธยัสถ์ 15 นอต

ระวางบรรทุก 12,000 ตัน ประกอบด้วยน้ำมันดีเชล 8,000 ตัน น้ำมัน JP-5 2,500 ตัน น้ำมันหล่อลื่น 70 ตัน สรรพาวุธ 450 ตัน น้ำจืด 1,100 ตัน เสบียงแห้ง 100 ตัน และเสบียงสด 100 ตัน ระบบส่งกำลังเพิ่มเติมในทะเล (replenishment-at-sea หรือ RAS system) บริเวณกราบขวา 1 ระบบ ระบบเติมเชื้อเพลิงในทะเล (fuelling-at-sea หรือ FAS system) บริเวณกราบซ้าย 1 ระบบ อัตราการส่งน้ำมันเชื้อเพลิง 450 ลบ.ม/ชม. น้ำจืด 50 ลบ.ม/ชม. สรรพาวุธหรือเสบียง 2 ตัน/ชม. สามารถรองรับการติดตั้งระบบ RAS หรือ FAS เพิ่มเติมได้อีกกราบละ 1 ระบบ ดาดฟ้าและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ สำหรับ ฮ. S-70B หรือ MH-60S 1 เครื่อง สำหรับการส่งกำลังเพิ่มเติมในแนวดิ่ง (VERTREP)


เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี
Filed under: อาวุธ — ป้ายกำกับ:เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี, Rocket-propelled grenade, RPG — Mr.Vop @ 10:30


เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี (อังกฤษ: Rocket-propelled grenade หรือ RPG) เป็นอาวุธต่อสู้รถถังขนาดเล็ก ชนิดประทับบ่ายิง ปากลำกล้องกว้าง 40 มม. ใช้ลูกจรวดขนาด 82 มม. (RPG-2) และขนาด 85 มม. (RPG-7) ตามลำดับ เป็นอาวุธเสริมเพื่อใช้ทำลายรถถังหรือยานยนตร์ต่างๆ ที่มั่นกำบัง รวมทั้งสังหารบุคคลเป็นกลุ่มก้อน

คำว่า RPG มาจากคำในภาษารัสเซียว่า ??? โดยย่อมาจาก “?????? ??????????????? ??????????” ซึ่งถอดเสียงอ่านได้ว่า Ruchnoy Protivotankoviy Granatomyot (อังกฤษ: hand-held anti-tank grenade launcher)

เครื่องยิงจรวด RPG-7 พร้อมลูกจรวด เครื่องยิงจรวด RPG-7 ชนิด เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง สัญชาติ สหภาพโซเวียต สมัย พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) – ปัจจุบัน การใช้งาน อาวุธประจำหมู่ เป้าหมาย พาหนะ , บุคคล , สิ่งก่อสร้าง เริ่มใช้ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ช่วงผลิต พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) – ปัจจุบัน ช่วงการใช้งาน พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) – ปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติการ - สงคราม สงครามเกาหลี, สงครามเวียดนาม, สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามอิรัก ขนาดลำกล้อง 40 มิลลิเมตร (1.57 นิ้ว) ความยาวลำกล้อง 650 มิลลิเมตร (RPG-2)
950 มิลลิเมตร (RPG-7) กระสุน ลูกจรวดแบบหัวรบดินโพรง
ขนาด 82 มิลลิเมตร (RPG-2)
ขนาด 85 มิลลิเมตร (RPG-7) แมกกาซีน {{{feed}}} การทำงาน {{{action}}} อัตราการยิง 3-4 นัด/นาที ความเร็วปากลำกล้อง {{{velocity}}} ระยะหวังผล 150 เมตร (RPG-2)
500 เมตร (RPG-7) น้ำหนัก 4.67 กิโลกรัม (RPG-2)
7 กิโลกรัม (RPG-7) ความยาว 650 มิลลิเมตร (RPG-2)
950 มิลลิเมตร (RPG-7

รูปถ่ายเครื่องยิงจรวด RPG-2 พร้อมลูกกระสุน

เมษายน 25, 2010
ปืน M79
Filed under: อาวุธ — ป้ายกำกับ:79, ระเบิด, M79 — Mr.Vop @ 11:32

M79 เป็นปืนยิงลูกระเบิด มีน้ำหนักเบา ให้อำนาจการยิงสูง มีความแม่นยำสูง มีระยะยิง ไกลสุด 350 เมตร ยิงได้ช้า คือทำการยิงได้ราว 6 นัดต่อนาที

M79 เป็นชื่อเรียกตัวปืนเท่านั้น ไม่ใช่ชื่อกระสุน

มีการผลิตกระสุนหรือระเบิดขนาด 40 มม. หลายชนิดให้เลือกใช้กับ M79  ซึ่งลักษณะการใช้งานจะต่างกันออกไป ทั้งระเบิดสังหารบุคคล แก้สน้ำตาปราบจราจล หรือกระสุนควันชี้เป้าสำหรับการโจมตีทางอากาศหรือเป้าปืนใหญ่ ชนิดกระสุนจะมีชื่อขึ้นต้นด้วย M เช่น

M406 เป็นกระสุนที่บรรจุดินระเบิด  ชนวนของกระสุนจะเปิดทำงานเมื่อพ้น ปากกระบอกปืนไปแล้วราว 15 – 30 เมตร (ดังนั้นหมายความว่าถ้ามายิง ใกล้ ๆ สมมุติสัก 5 เมตรนี่มันจะไม่ระเบิดนะครับ) เมื่อมันกระทบเป้าหมาย มันจะระเบิดออกและส่งสะเก็ดจำนวนราว 300 ชิ้นกระเด็นออกไปด้วยความเร็วเหนือเสียงซึ่งจะมีระยะสังหารในรัศมี 5 เมตร

M576 มีลักษณะแบบเดียวกับกระสุน M406 แต่จะมีพิสัยสั้นกว่า M406 เพื่อใช้งานในระยะใกล้

M676 เป็นกระสุนควัน เพื่อชี้เป้า ให้ควันสีเหลือง

M680 เป็นกระสุนควัน ให้ควันสีขาว

M682 เป็นกระสุนควัน ให้ควันสีแดง

M585 เป็นกระสุนพลุส่องสว่างซึ่งจะเผาไหม้นาน 7 วินาที (สีขาว)

M663 เป็นกระสุนพลุส่องสว่างซึ่งจะเผาไหม้นาน 7 วินาที  (สีเขียว)

M664  เป็นกระสุนพลุส่องสว่างซึ่งจะเผาไหม้นาน 7 วินาที (สีแดง)

M585A1 เป็นกระสุนพลุส่องสว่างติดร่มชูชีพ ซึ่งจะเผาไหม้นาน 40  วินาที (สีขาว)

M661 เป็นกระสุนพลุส่องสว่างติดร่มชูชีพ ซึ่งจะเผาไหม้นาน 40  วินาที (สีเขียว)

M662 เป็นกระสุนพลุส่องสว่างติดร่มชูชีพ ซึ่งจะเผาไหม้นาน 40  วินาที (สีแดง)

M651 กระสุนแก๊สน้ำตา จะมีแก๊สน้ำตาบรรจุอยู่ 53 กรัม สามารถเผาไหม้ได้ 25 วินาที ครอบคลุมพื้นที่ถึง 120 ตารางเมตร (ราว ๆ พื้นที่ขนาด 10.95×10.95 เมตร) และมีระยะยิงราว 200 เมตรสำหรับเป้าหมายที่เป็นจุด หรือ 400 เมตรสำหรับเป้าหมายเป็นพื้นที่

M1029 บรรจุกระสุนยางขนาด .48 นิ้ว ทั้งหมด 48 นัด การยิงจะใช้ในการปราบจลาจลโดยมีระยะยิงตั้งต้นตั้งแต่ 10 เมตรไปจนถึง 30 เมตรซึ่งกระสุนจะหมดพลังงานและตกลงสู่พื้น

ข้อมูลจาก http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=5078

ระเบิด C-4
Filed under: อาวุธ — ป้ายกำกับ:ระเบิด, C-4, C4 — Mr.Vop @ 11:02

C-4 เป็น 1 ในระเบิดพสลาติก (Plastic Explosive หรือ Plastique) ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือเป็นวัสดุนิ่มคล้ายดินน้ำมันสามารถปั้นเป็นรูปต่างๆได้ ด้วยมือ ที่รู้จักกันดีอีกอย่างคือ  Semtex

ระเบิดพลาสติกต่างๆนั้น เหมาะสำหรับการระเบิดทำลายเนื่องจากสามารถปั้นในเข้ากับโครงสร้างที่ต้องการ ทำลายได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีการระเบิดที่รุนแรงและหนักแน่นด้วย ความเร็วสูงมาก อย่างไรก็ดี ไม่เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรม เนื่องจากมีราคาแพงกว่าวัสดุระเบิดอื่นๆมาก

ระเบิดพลาสติกชนิดแรกคือ Gelignite คิดค้นขึ้นโดย Alfred Noble (ผู้ตั้งรางวัล Noble) ในค.ศ.1875 ต่อมาได้รับการพัฒนาในสงครามโลกครั้งที่สองเป็น Noble 808 และถูกใช้กว้างขวางในการจารกรรมทำลายกองทัพนาซี ซึ่งได้พัฒนาสาร RDX ขึ้นมา

คำว่า RDX ย่อมาจาก Research Development Explosive หรือ Royal Demolition Explosive) ชื่อทางการว่า Cyclotrimethylene-Trinitramine  คือวัสดุระเบิดที่ผสมอยู่ใน C-4 โดยผสมกับสิ่งที่เรียกว่า Binder และ Plasticizer เพื่อทำให้ไม่ระเบิดง่ายๆเมื่อถูกความร้อนหรือกระแทก อีกทั้งอ่อนนิ่มจนทำให้สามารถปั้นได้ ในการผลิต C-4 สาร RDX ในรูปผงจะละลายกับน้ำแล้วเติมสาร Binder จนละลายเข้าด้วยกันด้วยน้ำยาผสมการกระตุ้น เมื่อเอามากลั่นปละทำให่น้ำระเหยไปจะได้วัสดุที่มีรูปร่างคล้ายดินน้ำมัน

C-4 จะระเบิดได้เมื่อมีพลังงานเข้าไปกระตุ้น (kick off) ให้เกิดกระบวนการทางเคมี ถ้าเกิดเอาไม้ขีดไฟไปเผา C-4 มันก็จะเผาไหม้อย่างช้าๆเหมือนไฟติดดินน้ำมัน หรือแม้แต่เอาปืนไปยัง C-4 ก็ไม่ระเบิด มันจะระเบิดต่อเมื่อมีตัวจุด (detonator) ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้า

เมื่อ C-4 ระเบิดนั้น จะเกิดการเผาไหม้อย่างรุนแรง ปล่อยก๊าซหลายอย่างออกในทุกทิศทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไนโตรเจน เป็นระเบิดชนิดที่วิ่งหนีไม่ทันแบบพระเอกในภาพยนตร์

C-4 ในปริมาณต่ำกว่า 1 ปอนด์สามารถฆ่าคนหลายคนได้สบายๆ รถบรรทุกทั้งคันพังทลายได้ด้วย C-4 หนักครึ่งกิโลกรัม เหล็กคานขนาด 8×8 นิ้วหักได้ด้วยแรงระเบิดของ C-4 หนัก 3.6-4.5 กิโลกรัม C-4 มีแรงระเบิดที่เร็วถึง 8,040 เมตร/วินาที หรือ 28900 กิโลเมตร/ชั่วโมง

C-4 ยังมีคู่แฝดชาวอังกฤษชื่อ PE-4 ซี่งลักษณะของการระเบิดคล้ายคลึงกันมากนอกจากนั้นยังมีพี่น้องชาวอิตาเลียน คลานตามกันมาอีกคนชื่อ T-4 ซึ่งมีผลทะลุทะลวงที่คล้ายคลึงกัน

C-4 เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกเพราะนิยมในหมู่เจ้าหน้าที่ CIA หรือผู้ก่อการร้าย เนื่องจากความเสถียรและความปลอดภัยในการพกพา แอบซ่อน (ตราบที่อยุ่ห่างตัวจุดระเบิดด้วยไฟฟ้าซี่งปกติใช้เสียบเข้าไปในก้อนดิน น้ำมันอันตรายนี้

 

ขอบคุณ วีรกร ตรีเศศ

ระบิด TNT
Filed under: อาวุธ — ป้ายกำกับ:ระเบิด, TNT — Mr.Vop @ 10:43

TNT มีชื่อทางการว่า Trinitrotoluene เป็นวัสดุแข็งสีเหลือง ความรุนแรงของ TNT ถือว่าเป็นตัวอ้างอิงความรุนแรงของวัสดุอื่นๆเช่น C-4 รุนแรงกว่า TNT ประมาณ 1.34 เท่าตัว

TNT เป็นวัสดุระเบิดมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปมากที่สุดทั้งในด้านการทหารและ อุตสาหกรรมความนิยมมาจากมีความเสี่ยงในการระเบิดน้อย ไม่ว่าจากการกระแทกหรือเสียดสี TNT หลอมละลาย ณ อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส (176 องศาฟาเรนไฮด์) ซึ่งต่ำกว่าอุณหภูมิที่มันจะระเบิดด้วยตัวเองมาก TNT ไม่ดูดซับน้ำและไม่ละลายน้ำ ดังนั้นจึงใช้ในสิ่งแวดล้อมที่เปียกชื้นได้ดี นอกจากนี้ยังเสถียรเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุระเบิดชนิดอื่นๆ

TNT คิดค้นโดย Joseph Wilbrand นักเคมีชาวเยอรมันปี ค.ศ.1863 โดยในตอนแรกเป็นวัสดุย้อมสีเหลือง ผมู้คนไม่รู้ว่ามันเป็นวัสดุระเบิดอยู่หลายปีเนื่องจากมันระเบิดได้ยาก

กองทัพเยอรมันนำ TNT มาใช้เป็นวัสดุระเบิดโดยเติมลงในกระสุนปืนใหญ่ในค.ศ.1902 ในขณะที่กองทัพอังกฤษรู้จักแต่เพียงวัสดุระเบิด Lyddite ในปีค.ศ.1907 กองทัพอังกฤษลอกเลียนแบบเยอรมัน และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา TNT ก็ถูกใช้อย่างกว้างขวางในกองทัพสหรัฐและบริษัทก่อสร้างทั่วโลก (ระเบิดดิน หิน ทำลายตึก ระเบิดสิ่งกีดขวาง)

Credit: http://mrvop.wordpress.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%98/
9 ธ.ค. 53 เวลา 22:42 20,409 13 132
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...