กาบัดดี้ มารุ้จักประวัติกีฬาชนิดนี้ ที่ไทยคว้าเหรืยญเงินจากเอเซื่ยนเกมส์ที่จีน

กาบัดดี้ 

 

ประวัติ กีฬากาบัดดี้

    “ กีฬากาบัดดี้” ส่วนใหญ่จะเล่นกันในประเทศเขตร้อน ของทวีปเอเชีย รูปแบบหรือวิธีการเล่นของ

แต่ละประเภทจะแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย แต่สิ่งสำคัญคือ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย เล่นเป็นกลุ่มได้สนุกสนาน ตื่นเต้น และเหมาะที่จะเล่นกันได้ทุกประเทศ

     สหพันธ์กาบัดดี้สมัครเล่นแห่งเอเชีย ( A.A.K.F. ) ได้จัดตั้งขึ้นในเดือน พฤษภาคม ปี 1978 โดยประเทศอินเดีย เนปาล บังคลาเทศ ปากีสถาน และศรีลังกา เป็นประเทศร่วมก่อตั้ง ด้วยหวังว่าประเทศอื่นๆ ในเอเซียจะให้การสนับสนุนโดยเข้าร่วมในกิจกรรมกีฬาชาวเอเชียให้มั่นคงยิ่ง ขึ้น
  เมื่อย้อนยุคไปในยุคก่อนประวัติศาสตร์ กีฬานี้แต่ละประเทศจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น จะเรียก ฮาดูดู กัน ในบังคลาเทศ เรียก กาบัดดี้ ในอินเดียและปากีสถาน เรียก กูดู ในศรีลังกาเรียก โดโด ในเนปาล เรียก ชิดูกูดู ในมาเลเซียหรือที่ไทยเรียกว่า ตี่จับ
     ในครั้งแรก กีฬานี้คิดขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะการต่อสู้สำหรับบุคคล และกลุ่มหรือทีมเพื่อให้มีความคล่องแคล่วว่องไว มีความสัมพันธ์ในส่วนของกล้ามเนื้อ มีพลังปอด มีความเฉลียวฉลาดและไหวพริบ ทั้งขณะเป็นฝ่ายรุก และฝ่ายรับ

     การเล่นกีฬากาบัดดี้ จะสามารถช่วยเสริมสมรรถภาพได้ดีเมื่อเทียบกับกีฬาประเภทอื่นๆ ทั้งเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรงช่วยให้มีจิตใจแจ่มใสและมีบุคลิกภาพที่ดี นอกจากนี้ยังช่วยฝึกให้มีการตัดสินใจที่ดีอีกด้วย

     ปัจจุบันกีฬากาบัดดี้ เป็นที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย ในบังคลาเทศ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล ภูฐาน มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน ศรีลังกา สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร นอกจากประเทศที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอีกหลายประเทศที่จัดให้มีการแข่งขัน South Asian Games ตั้งแต่ปี 1985 ด้วย

     ในปี 1990 กีฬากาบัดดี้ ได้รับการบรรจุให้มีการแข่งขันในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ นับตั้งแต่ครั้งที่ 11 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน มีประเทศที่เข้าแข่งขัน คือ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน และเนปาล

     ในปี 1994 เป็นการแข่งขัน ครั้งที่ 2 ในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ณ เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ได้รับการสนับสนุนจากสหพันธ์กาบัดดี้สมัครเล่นแห่งเอเชีย (A.A.K.F.) จากสมาคมกาบัดดี้ ญี่ปุ่น (J.A.K.A.) และสหพันธ์โอลิมปิกแห่งเอเชีย (I.O.A.) ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้ชมจำนวนมาก

     ในปี 1998 กีฬากาบัดดี้ ได้มีการแข่งขันในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย อีกครั้งหนึ่ง โดยได้รับการสนับสนุนจากสหพันธ์กาบัดดี้แห่งเอเชีย (A.A.K.F.) และการกีฬาแห่งประเทศไทย

     นอกจากประเทศต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ประเทศในยุโรป รัสเซีย และประเทศอื่น ๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ก็กำลังมีการเคลื่อนไหว และให้ความสนใจในกีฬากาบัดดี้มากขึ้นด้วยเช่นกัน

 

 ระเบียบและกติกากีฬากาบัดดี้  สหพันธ์กาบัดดี้แห่งเอเชีย

ASIAN AMATEUR   KABADDI FEDERATION (AAKF) RULE & REGULATIONS

กีฬากาบัดดี้  การแล่น  การแข่งขันจะอยู่ภายใต้การควบคุม ตามกติกาของสหพันธ์กาบัดดี้แห่งเอเชีย

ข้อที่  1.   สนาม (Ground )
สนามกีฬากาบัดดี้  พื้นสนามจะต้องราบเรียบและนุ่ม / สนามพื้นสังเคราะห์สำเร็จรูป

ข้อที่  2.  ขนาดสนามแข่งขัน (Play-field Measurements)

2.1 รุ่นทั่วไปชาย และรุ่นเยาวชนชาย (Men and Junior Boys): 13.00 เมตร ? 10.00 เมตร      (รายละเอียดดังผังสนามกาบัดดี้ 1)
รุ่นทั่วไปชาย (Men)     น้ำหนักไม่เกิน   80 กิโลกรัม                            
รุ่นเยาวชนชาย (Junior Boys)  อายุไม่เกิน 20 ปี (นับถึงวันสุดท้ายของปี) และน้ำหนักไม่เกิน   65  กิโลกรัม

2.2 รุ่นทั่วไปหญิง และรุ่นเยาวชนหญิง (Women and Junior Girls): 12.00 เมตร ? 8.00 เมตร     (รายละเอียดดังผังสนามกาบัดดี้ 2)
รุ่นทั่วไปหญิง (Women)     น้ำหนักไม่เกิน   70 กิโลกรัม                            
รุ่นเยาวชนหญิง (Junior Girls) อายุไม่เกิน 20 ปี (นับถึงวันสุดท้ายของปี) และน้ำหนักไม่เกิน   60  กิโลกรัม

2.3 รุ่นยุวชนชาย และรุ่นยุวชนหญิง (Sub – Junior Boy and Girls): 11.00 เมตร ? 8.00 เมตร (รายละเอียดดังผังสนามกาบัดดี้ 3)
รุ่นยุวชนชาย (Sub–Junior Boys)   อายุไม่เกิน 16 ปี (นับถึงวันสุดท้ายของปี) และน้ำหนักไม่เกิน   50  กิโลกรัม
รุ่นยุวชนหญิง (Sub–Junior Girls)   อายุไม่เกิน 16 ปี (นับถึงวันสุดท้ายของปี) และน้ำหนักไม่เกิน   50  กิโลกรัม

หมายเหตุ : สหพันธ์กีฬานานาชาติ จะให้การรับรอง วัน เดือน ปีเกิด ของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน โดยยึดหลักฐาน จากเอกสารที่หน่วยงาน สถาบัน ออกให้พร้อมมีรูปถ่ายแนบ โดยมีผู้บริหารหน่วยงานที่ออกให้ลงนามรับรองเอกสาร เมื่อมีการสุ่มตรวจหลักฐาน ของผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องมีสูจิบัตรตัวจริงแสดง หากพบว่าไม่ถูกต้องทีมก็จะถูกตัดสิทธิ์การเข้าร่วมการแข่งขันเป็นเวลา 3 ปี นับจากปีที่เข้าร่วมการแข่งขันในกรณีจับได้หลังจากการมอบรางวัลแล้ว ทีมจะถูกเรียกเหรียญรางวัลและเกียรติบัตร คืนสหพันธ์กีฬานานาชาติ

ท่านเพิ่มเติมได้จาก http://www.kat.or.th/public/rule.html

Credit: คนมันด็อดคอม
#กีฬา #ประวัติ
THEPOco
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
7 ธ.ค. 53 เวลา 06:11 4,153 2 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...