อาณาจักรพืช เตรียมสอบ

อาณาจักรพืช

(Kingdom  Plantae)

 

ลักษณะสำคัญ

1.       เป็นพวก Eukaryotic  cell

2.       สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้

3.       ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้

4.       มีหลายเซลล์  เซลล์รวมกันเป็นเนื้อเยื่อ

5.       มีวงชีวิตแบบสลับ(Alternation  of  generation)

 

นักอนุกรมวิธานจัดจำแนกอาณาจักรพืช  ได้ดังนี้

1. กลุ่มพืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง

กลุ่มพืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง(nonvascular  plant) แบ่งออกเป็น 3 ไฟลัม โดยใช้โครงสร้างและรูปร่างเป็นเกณฑ์  คือ

1.1  Phylum Hepatophyta   ต้นแกมีโทไฟต์ มีทั้งที่เป็นต้น มีส่วนคล้ายใบและที่เป็นแผ่นบางๆภายในเซลล์จะมีหยดน้ำมันอยู่ด้วย ต้นสปอโรไฟต์เมื่อแก่จะแตกออก เพื่อปล่อยสปอร์กระจายพันธุ์ ตัวอย่างพืช เช่น ลิเวอร์เวิร์ท

ลิเวอร์เวิร์ท

1. 2. Phylum Anthocerophyta   ต้นแกมีโทไฟต์มีลักษณะเป็นแผ่น  มีรอยหยักที่ขอบ มักมีคลอโรพลาสต์เพียง 1 คลอโรพลาสต์ต่อเซลล์ และต้นสปอร์โรไฟต์จะมีลักษณะยาวเรียว มีเนื้อเยื่อเจริญอยู่ที่โคนต้น เช่น ฮอร์นเวิร์ต

ลิเวอร์เวิร์ท

1.3 .Phylum  Bryophyta   ต้นแกมีโทไฟต์มีลักษณะคล้ายใบที่เรียงเวียนรอบแกนกลาง ต้นสปอร์โรไฟต์มีอับสปอร์ ซึ่งมีโครงสร้างพิเศษช่วยในการกระจายสปอร์หรือมีช่องเปิดเพื่อกระจายสปอร์   เช่น  มอส

มอส

มอส

2. พืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงแต่ไม่มีเมล็ด    

ประกอบด้วยเฟินแท้ และกลุ่มใกล้เคียงเฟิน  พืชกลุ่มนี้มีราก   ลำต้นและใบที่แท้จริง  ภายในรากมีเนื้อเยื่อลำเลียงเหมือนที่พบในลำต้น  มีต้นแกมีโทไฟต์และต้นสปอร์โรไฟต์เจริญแยกกัน หรืออยู่รวมกันในช่วงสั้นๆ โดยต้นแกมีโทไฟต์จะมีวงชีวิตสั้นกว่าสปอร์โรไฟต์ 

ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ไฟลัมคือ

2.1. Phylum Lycophyta     เป็นพืชที่มีลำต้นและใบที่ทแจริง มีใบขนาดเล็ก มีเส้นใบ 1 เส้นที่ไม่แตกแขนง  ที่ปลายกิ่งจะมีกลุ่มของใบที่ทำหน้าที่สร้างอับสปอร์ พืชกลุ่มนี้ได้แก่ ไลโคโปเดียม เช่น สามร้อยยอด  หางสิงห์  ซีแลกจิเนลลา เช่น ตีนตุ๊กแก  และกระเทียมน้ำ 

สร้อยนางกรอง

หางสิงห์

ช้องนางคลี่

สามร้อยยอด

ตีนตุ๊กแก

กระเทียมน้ำ

2. 2. Phylum  Pterophyta  ตัวอย่างของพืชกลุ่มนี้ได้แก่  หวายทะนอย  หญ้าถอดปล้องและเฟิน

            - หวายทะนอย  (Psilotum  sp.)  ไม่มีราก  ไม่มีใบ (ถ้ามีจะมีขนาดเล็กมาก) มีการแตกกิ่งเป็นคู่

หวายทะนอย

- หญ้าถอดปล้อง(Equisetum  spp.) เป็นกลุ่มพืชที่มีลำต้น  มีข้อปล้องชัดเจน   มีทั้งลำต้นตั้งตรงบนดินและลำต้นใต้ดิน ลำต้นตั้งตรงบนดินมีสีเขียวเป็นสัน  ใบมีขนาดเล็ก มีเส้นใบเพียง 1 เส้น เรียงเป็นวงรอบข้อ อับสปอร์เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง เรียกว่า strobilus

หญ้าถอดปล้อง

- เฟิน(Fern)  มีราก  ลำต้น  ใบ ที่แท้จริง  โดยมีเส้นใบแตกแขนง  ใบอ่อนม้วนจากปลายสู่โคนใบ ใบอาจเป็นใบเดี่ยว  หรือใบประกอบ  มีสปอร์อยู่ใต้ใบเมื่อใบแก่    ตัวอย่างของเฟินได้แก่ เฟินใบมะขาม  เฟินก้านดำ  ข้าหลวงหลังลาย  ชายผ้าสีดา  ย่านลิเภา  แหนแดง  จอกหูหนู  ผักแว่น  ผักกูด  เป็นต้น

ชายผ้าสีดา

เฟินก้านดำ

ข้าหลวงหลังลาย

จอกหูหนู

ผักแว่น

ย่านลิเภา

แหนแดง

ผักกูด

ใบอ่อนของเฟิน

ใบอ่อนของเฟิน

สปอร์ใต้ใบของเฟิน

สปอร์ใต้ใบของเฟิน

3. พืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงที่มีเมล็ด

                มีระยะสปอร์โรไฟต์ที่เด่นชัด และยาวนาน แต่ระยะแกมีโทไฟต์จะมีขนาดเล็กลงมากเมื่อเทียบกับมอสและเฟิน  ปัจจุบันแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

3.1    Gymnosperm  (พืชเมล็ดเปลือย)  ลักษณะที่สำคัญคือ ออวุลและละอองเรณูติดบน

แผ่นกิ่งหรือแผ่นใบซึ่งจะอยู่รวมกันที่ปลายกิ่ง เรียกว่า cone  แยกเป็นโคนเพศผู้และโคนเพศเมีย  เป็นพืชที่ไม่มีอก  แต่มีเมล็ด  เมล็ดไม่มีผนังรังไข่ห่อหุ้ม  จึงเรียกว่า เมล็ดเปลือย แบ่งออกเป็น 4 Phylum คือ

                - Phylum  Cycadophyta เป็นพืชที่มีการกระจายพันธุ์ในบริเวณที่แห้งแล้งได้ดี   มีลำต้นค่อนข้างเตี้ย  ใบมีขนาดใหญ่เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว  มีการสร้างโคนเพศผู้และโคนเพศเมียแยกต้นกัน  เช่น ปรง  ปรงป่า  ปรงเขา  เป็นต้น 

ปรง

โคนของปรง

-          Phylum Ginkophyta  ปัจจุบันเหลือเพียงสปีชีส์เดียว คือ แป๊ะก๊วย มีลักษณะใกล้เคียง

กับพืชที่สูญพันธุ์ไปแล้ว พบตามธรรมชาติในประเทศจีน เกาหลีและญี่ปุ่น ลำต้นมีขนาดใหญ่ ใบเดี่ยวคล้ายพัด ต้นเพศเมียสร้างออวุลที่ปลายกิ่งพิเศษ เมล็ดมีอาหารสะสมนิยมนำมารับประทาน

ต้นแป๊ะก๊วย

ใบแป๊ะก๊วย

- Phylum  Coniferophyta   เป็นพืชที่มีความหลากหลายมากที่สุดในพืชกลุ่มเมล็ดเปลือยทั้งในด้านลักษณะของต้นและโครงสร้างของอวัยวะสืบพันธุ์ โคนเพศผู้และเพศเมียอาจเกิดบนต้นเดียวกันหรือแยกต้นกัน เช่น สนสองใบ  สนสามใบ  สนสามพันปี  พญาไม้  เป็นต้น

สนสามใบ

โคนของสน

โคนของสน

 

 

- Phylum  Gnetophyta  เป็นพืชที่มีลักษณะแตกต่างจากพืชเมล็ดเปลือยกลุ่มอื่น คือพบเวสเซลในท่อลำเลียงน้ำ และมีลักษณะคล้ายพืชดอกมาก คือ มีกลีบดอก มีใบเลี้ยง 2 ใบ แต่แมล็ดยังไม่มีเปลือกหุ้ม ปัจจุบันพบประมาณ 3 สกุล แต่ที่พบในประเทศไทย คือ มะเมื่อย  มักพบตามป่าชื้นเขตร้อน

มะเมื่อย

3.2 angiosperm ( พืชดอก )   เป็นกลุ่มพืชที่มีความหลากหลายมากที่สุดในอาณาจักรพืช พืชกลุ่มนี้มีดอกซึ่งเป็นกิ่งที่เปลี่ยนแปลงมาเป็นโครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์ มีออวุลเจริญอยู่ในรังไข่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกสรตัวเมีย  (มีดอก  มีเมล็ด   เมล็ดมีผนังรังไข่ห่อหุ้ม)

แบ่งเป็น พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon) และพืชใบเลี้ยงคู่ (Dicotyledon)

ไผ่

กุหลาบ

Credit: http://xtreme.diaryis.com/2008/03/22?view=200801
6 ธ.ค. 53 เวลา 00:02 20,470 7 74
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...